Skip to main content

ทำอย่างไรเพื่อป้องกันการติดเชื้อคลอสตริเดียม (Clostridium) ในวัว

แบคทีเรีย clostridial มีอยู่มากมายหลายชนิด แต่เชื้อคลอสตริเดียม เพอร์ฟริงเจน (Clostridium perfringens) เป็นหนึ่งในเชื้อที่ผู้ผลิตวัวควรระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะเป็นสาเหตุที่สำคัญต่อปัญหาสุขภาพลําไส้ของสัตว์

หนึ่งในเป้าหมายหลักของผู้ทำปศุสัตว์คือการดูแลให้สัตว์ในฟาร์มมีสุขภาพดี แต่อย่างไรก็ตามการเจ็บป่วยมักจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ และสาเหตุของโรคที่ติดต่อได้ง่ายแต่ร้ายแรงบางโรคมักมาจากเชื้อคลอสตริเดียม

คลอสตริเดียม (Clostridium) คืออะไรและคุณจะรู้ได้อย่างไรว่ามันกำลังสร้างปัญหาให้กับสัตว์ของคุณอยู่?

Clostridia เป็นแบคทีเรียแกรมบวก ชนิดสร้างสปอร์, ไม่ใช้ออกซิเจน มักพบในดินและมูลสัตว์หรือในอาหารสัตว์ที่มีการปนเปื้อน.

"มันอยู่รอบตัวเรา ทุกที่ทุกเวลา" ดร.ลุค มิลเลอร์, สัตวแพทย์ที่ปรึกษาด้านโคนมของออลเทคกล่าว "เพราะมันเป็นแบคทีเรียชนิดสร้างสปอร์ clostridia สามารถปนเปื้อนอยู่ในดินได้ตลอดฤดูหนาว มันสามารถมีชีวิตอยู่ในทะเลทราย อยู่ในสภาวะ heat stress และ cold stress สภาวะอากาศต่างๆ มีผลกระทบน้อยมากต่อ clostridia"

แต่ Clostridia แตกต่างจากแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคอื่น ๆ เพราะมันไม่ติดต่อหรือส่งผ่านจากสัตว์ไปยังสัตว์

"มีสองวิธีที่จะติดเชื้อ Clostridium" ลุคกล่าว "คุณสามารถรับเชื้อผ่านการบริโภคอาหารที่ปนเปื้อนหรือผ่านทางบาดแผลที่เปิดอยู่

เป็นไปได้ว่าสัตว์ที่รับเชื้อ clostridia เข้าไปอาจไม่ได้รับผลกระทบเนื่องจากสปอร์สามารถแฝงอยู่อย่างสงบในลําไส้ของสัตว์ ทั้งนี้ Clostridia จะก่อให้เกิดโรคได้เมื่อ อาหาร ที่อยู่อาศัยหรือร่างกายของสัตว์มีความเปลี่ยนแปลง ยกตัวอย่างเช่น ถ้าสัตว์กินแป้งหรือคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป หรือมีอาการบาดเจ็บเนื้อเยื่อ ไม่ว่าจะเป็นภายใน (เช่น ฝีตับ) หรือภายนอก (เช่น มีแผลถูกบาด หรือแผลที่ยาวและลึก) ปัญหาเหล่านี้ทำให้เนื้อเยื่อมีออกซิเจนลดลงหรือเกิดการขาดออกซิเจนภายในเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นสภาวะที่เหมาะสมต่อการแพร่กระจายของแบคทีเรียนี้

 

เจาะลึกเกี่ยวกับเชื้อ คลอสตริเดียม เพอร์ฟริงเจน (Clostridium perfringens)

แบคทีเรียในกลุ่มคลอสตริเดียมมีอยู่มากมายหลายชนิด แต่เชื้อคลอสตริเดียม เพอร์ฟริงเจน (C. perfringens) เป็นหนึ่งในเชื้อที่ผู้ผลิตวัวควรระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะเป็นสาเหตุที่สำคัญต่อปัญหาสุขภาพลําไส้ของสัตว์โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์ที่มีอายุน้อย ซึ่งหมายรวมถึงลูกวัวที่อายุน้อยกว่า 2 เดือน เพราะกระเพาะรูเมนและจุลินทรีย์ในลำไส้ของลูกสัตว์เหล่านี้ยังไม่ได้ถูกพัฒนาให้ทำงานได้อย่างสมบูรณ์

เชื้อ C. perfringens อาศัยอยู่ในแป้งและน้ำตาล ซึ่งอธิบายว่าทําไมมันจึงแพร่กระจายเมื่อวัวกินคาร์โบไฮเดรตมากขึ้น นอกจากนี้มันยังสามารถแพร่กระจายเมื่อสัตว์มีภาวะเครียดหรือมีภาวะที่ส่งผลกระทบต่อลำไส้ เช่น ท้องเสีย เมื่อระดับของสารพิษที่เชื้อ C. perfringens ปล่อยออกมาสูงขึ้นจนเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งหนึ่งในสารพิษนั้นคืออัลฟาท็อกซินที่เป็นมีความเป็นพิษสูง สัตว์จะมีภาวะอักเสบ, ช็อก, หัวใจหยุดเต้นและเสียชีวิตได้

 

อาการของโรคจากการติดเชื้อคลอสตริเดียม ในวัวมีอะไรบ้าง?

เชื้อคลอสตริเดียม สามารถก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับลําไส้ในวัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อได้รับเชื้อ C. perfringens ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคและอาการต่อไปนี้ได้:

  • โรคลำไส้อักเสบหรือเอ็นเทอร์โรท๊อกซีเมีย (หรือที่เรียกว่าลําไส้สีม่วง เกิดขึ้นเมื่อสารพิษจากแบคทีเรียในลําไส้เข้าสู่กระแสเลือด)
  • ท้องร่วง/ ท้องเสีย
  • ปวดท้อง
  • ท้องบวม
  • ความอยากอาหารลดลง/ การเคลื่อนไหวของลําไส้ลดลง
  • ภาวะท้องอืด
  • ลําไส้รั่ว
  • มีฟองอากาศในมูล
  • ภาวะเลือดออกในลำไส้ (HBS)
  • ป่วยกระเสาะกระแสะ
  • ตาบอด
  • เสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน

 

เราจะสามารถป้องกันการติดเชื้อคลอสตริเดียมได้อย่างไร?

อาจเป็นเรื่องยากที่จะรักษาโรคลําไส้ในวัว ซึ่งรวมถึงโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ C. perfringens แต่ไม่ใช่ว่าเราจะป้องกันไม่ได้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการที่จะปกป้องสัตว์ของคุณจากเชื้อคลอสตริเดียมได้ดังต่อไปนี้

1.ทำงานร่วมกับสัตวแพทย์เพื่อวางแผนการให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรค

ปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับการสร้างโปรแกรมการฉีดวัคซีนที่เหมาะสมสําหรับฟาร์มของคุณ วัคซีนสามารถช่วยป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียคลอสตริเดียมที่พบบ่อยในวัวได้ เช่นโรคลำไส้อักเสบในวัว, โรคแบล็คเลก, โรคเรดวอเทอร์ และบาดทะยัก

"วัคซีนสําหรับป้องกันเชื้อ Clostridium มีอยู่หลายชนิดและหลายแบรนด์" มิลเลอร์กล่าว "โปรดปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อเลือกแผนการฉีดวัคซีนที่เหมาะสมกับการจัดการฟาร์มของคุณและสภาวะปัญหาการเกิดโรคในภูมิภาคของคุณ"

มิลเลอร์ยังแนะนําว่าหากมีการติดเชื้อเกิดขึ้นในฟาร์ม ควรมีการจัดการและเฝ้าระวังวัวตัวอื่นไม่ให้มีการรับเชื้อคลอสตริเดียมเพิ่มเติมอีก แม้ว่าเชื้อจะไม่สามารถส่งผ่านจากสัตว์ถึงสัตว์ได้ แต่ต้องคำนึงอยู่เสมอว่าสัตว์ทั้งหมดกําลังกินอาหารที่ปนเปื้อนเดียวกันหรือกําลังเดินบนดินที่ปนเปื้อนอยู่

2.ช่วยส่งเสริมให้จุลินทรีย์ในลําไส้เจริญเติบโตโดยการให้โปรไบโอติก

สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH) ของสหรัฐอเมริกา ระบุว่าโปรไบโอติกเป็นจุลินทรีย์มีชีวิตที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพลำไส้ ในการช่วยย่อยอาหาร, ทําลายเซลล์ที่ก่อให้เกิดโรค และผลิตวิตามิน จุลินทรีย์ที่มีอยู่ในโปรไบโอติกอาจคล้ายหรือเป็นจุลินทรีย์ชนิดเดียวกันกับที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติในร่างกายของมนุษย์และสัตว์ ดังนั้นโปรไบโอติกจะช่วย "เติมเต็มชีวนิเวศในลําไส้" อธิบายตามคำของมิลเลอร์คือ การทําให้ลำไส้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและเพิ่มความสามารถในการต่อสู้กับการเข้ายึดพื้นที่โดยแบคทีเรียที่เป็นอันตรายเช่น C. perfringens

"จะมีอาณานิคมแบคทีเรียดีในลำไส้ทุกวันด้วยโปรไบโอติก และเหล่าแบคทีเรียดีเหล่านี้ก็จำเป็นต้องกินอาหาร" มิลเลอร์กล่าว เมื่อพวกมันกินแป้งมากขึ้น เชื้อคอสตริเดียมก็จะไม่มีอาหารกิน นอกจากนี้แล้วพวกแบคทีเรียดีจะพยายามรักษาค่า pH ที่พวกมันชอบแต่เชื้อคลอสตริเดียมไม่ชอบ

3.เสริมผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้ลําไส้มีสุขภาพดีเช่น Select BAC™

ขณะที่วิธีการที่กล่าวมาก่อนหน้านี้อาจช่วยป้องกันโรคติดเชื้อคลอสตริเดียมในวัวได้ แต่ปัญหาบางอย่างที่เกิดจากเชื้อ C. perfringens อาจไม่สามารถแก้ไขหรือป้องกันด้วยวัคซีนและโปรไบโอติก Select BAC™ เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่จากออลเทคที่จะช่วยป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นจากเชื้อคลอสตริเดียม ผลิตภัณฑ์ประกอบด้วยสารเสริมอาหารต่างๆ ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพลําไส้ซึ่งรวมถึง เอนไซม์และโปรไบโอติก ที่มีบทบาทสําคัญในการรักษาสุขภาพของลําไส้ของสัตว์

"เราใส่ทุกสิ่งที่วิทยาศาสตร์คิดว่าดีสําหรับสุขภาพลําไส้ใน Select BAC” มิลเลอร์กล่าว "ให้เราช่วยดูแลสุขภาพลําไส้ของสัตว์ในฟาร์มคุณ"

แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะหลีกเลี่ยงเชื้อคลอสตริเดียมและผลกระทบของมันต่อสุขภาพของวัว แต่โชคดีที่เรามีการรักษาและวิธีการป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อ Clostridium perfringens หลายวิธีด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น การฉีดวัคซีนและการเสริมอาหารด้วยโปรไบโอติกและเอนไซม์ หวังว่าด้วยเทคนิคเหล่านี้ ผู้ผลิตจะรู้สึกสบายใจเกี่ยวกับสุขภาพของสัตว์ในฟาร์มของพวกเขามากขึ้น

 

 

อ้างอิง

“Clostridial disease.” MSD Animal Health, http://www.msd-animal-health.ie/diseases/cattle/clostridial-disease/information.aspx.

“Clostridium perfringens infections in baby calves.” Drovers, 26 March 2013, www.drovers.com/article/clostridium-perfringens-infections-baby-calves.

Thomas, Heather Smith. “Calving Tips: How to Prevent Acute Gut Infection in Beef Calves.” Beef Magazine, 22 March 2013, www.beefmagazine.com/calving/calving-tips-how-prevent-acute-gut-infection-beef-calves.

Thomas, Heather Smith. “Clostridial Infections in Calves.” Angus Journal, 26 April 2017, www.angus.org/Media/News/FullArticle.aspx?asTitle=Clostridial-Infections-in-Calves&aiId=786.

Loading...