Skip to main content

ทำอย่างไรเพื่อลดต้นทุนการผลิตสุกร

November 27, 2020

การลดต้นทุนการผลิตมีความสำคัญไม่ว่าธุรกิจจะอยู่ในช่วงเวลาที่ท้าทายหรือเฟื่องฟูเนื่องจากผู้ผลิตสุกรทุกรายย่อมต้องมองหาวิธีรักษาผลกำไรและสร้างความมั่นใจในอนาคตของฟาร์มในต่อไปข้างหน้า

เผชิญหน้ากับความจริง: การเลี้ยงหมูให้ได้กำไร ไม่ใช่เรื่องง่ายการบริหารธุรกิจในต้นทุนที่ต่ำที่สุดในขณะที่ยังคงรักษาคุณภาพที่สามรถแข่งขันในตลาดก็ถือเป็นความท้าทายในตัวเองอยู่แล้ว และยังมีเรื่องของต้นทุนอาหารที่ผันผวน กฎระเบียบใหม่ ๆ และสภาวะตลาดที่ไม่อาจคาดเดาได้ที่อาจสร้างความกังวลใจเพิ่มขึ้นอีก นอกจากนี้ การหยุดชะงักของห่วงโซ่การผลิตยังทำให้ผู้ผลิตต้องลดความสูญเสียให้น้อยที่สุดโดยหลายคนหวังเพียงจะประคองธุรกิจให้อยู่ในจุดคุ้มทุนเพื่อให้ฟาร์มของพวกเขายังสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้เท่านั้น

ไม่ว่ากิจการจะอยู่ในช่วงเวลาที่ท้าทายหรือเฟื่องฟูการลดต้นทุนการผลิตก็มีความสำคัญ เนื่องจากผู้ผลิตสุกรทุกรายย่อมต้องมองหาวิธีรักษาผลกำไรและสร้างความมั่นใจในอนาคตของฟาร์มในต่อไปข้างหน้า

 

สามกลยุทธ์ในการลดต้นทุนการผลิตสุกร

ต้นทุนอาหารสัตว์คือต้นทุนที่มากที่สุดสำหรับผู้ผลิตซึ่งมักคิดเป็น 70%ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ผลิตสุกรจะต้องปรับเปลี่ยน แผนการให้อาหารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้อาหารให้ได้สูงสุด ต่อไปนี้เป็นสามวิธีในการลดต้นทุนการผลิตโดยไม่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของสัตว์

1. ลดต้นทุนอาหารสุกร

ความกดดันในการลดต้นทุนอาหารสัตว์และความพยายามอย่างต่อเนื่องในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีอยู่ เป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่อุตสาหกรรมปศุสัตว์ต้องเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ประมาณ 25% ของสารอาหารที่มีอยู่ในวัตถุดิบอาหารสัตว์ สัตว์จะไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากมีสารต้านโภชนาการในอาหารสัตว์เหล่านั้น ในขณะที่ผู้ผลิตทั่วโลกกำลังพยายามลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้อาหารสัตว์ให้สูงสุดโดยพิจารณาปัจจัยทางโภชนาการและเศรษฐกิจ(ซึ่งมักจะแตกต่างกันไป) ในขณะที่ยังรักษาสวัสดิภาพสัตว์และใช้แนวทางที่ยั่งยืนเพื่อตอบสนองต่อความต้องการ

ผู้ผลิตสุกรจะหาวีธีเพิ่มความสามารถในการย่อยได้ของสัตว์เพื่อจัดการความเสี่ยงในระยะสั้นในกรณีที่ราคาสุกรในตลาดลดลง การเพิ่มความสามารถในการย่อยอาหารได้ของสุกรจะช่วย:

  •          ทำให้มีสารอาหารให้สุกรดูดซึมได้มากขึ้น
  •          เพิ่มประสิทธิภาพของสัตว์ ช่วย ลดระยะเวลาในการเลี้ยงจนถึงจับขาย
  •          ลดต้นทุนอาหารสัตว์

เทคโนโลยีเอนไซม์ในอาหารสัตว์ เช่น  Allzyme® SSF (ออลไซม์ เอสเอสเอฟ) ถูกนำมาใช้ได้หลากหลายแบบ ตั้งแต่การผลิตซอสถั่วเหลืองไปจนถึงการย่อยด้วยเอนไซม์ในอาหารสัตว์ สารประกอบเชิงซ้อนของเอนไซม์อันเป็นเอกลักษณ์ของ Allzyme® SSF จะช่วยประหยัดต้นทุนโดยการเพิ่มศักยภาพของอาหารให้สูงสุดในทุกช่วงของการเจริญเติบโตของสัตว์   Allzyme SSF ผลิตด้วยวิธีการหมักในสภาวะของแข็งทำให้สารละลายเอนไซม์หลายชนิดที่อยู่ใน ออลไซม์ เอสเอสเอฟ ทำงานส่งเสริมกันกับอาหารสำเร็จรูป ทำให้สุกรได้รับสารอาหารซึ่งประกอบด้วย กรดอะมิโน พลังงาน แคลเซียม และฟอสฟอรัสได้อย่างเต็มที่ ขณะเดียวกันยังช่วยเพิ่มตัวเลือกวัตถุดิบที่สามารนำมาใช้ได้ในอาหารสัตว์ได้มากขึ้นด้วย (รูปที่ 1)

รูปที่ 1: กระบวนการหมักในสถานะของแข็ง 

ผลที่ได้ก็คือแมทริกซ์ที่ประกอบด้วยเอนไซม์เชิงซ้อน แมทริกซ์นี้ช่วยให้นักโภชนามีความยืดหยุ่นในการกำหนดสูตรอาหารสัตว์มากขึ้น ซึ่งหมายถึงสารอาหารสำหรับสุกรที่มากขึ้น และนั่นทำให้ผู้ผลิตประหยัดต้นทุนได้ในท้ายที่สุด   รูปที่ 2 แสดงให้เห็นถึงตัวอย่างการใช้เทคโนโลยี ออลไซม์ เอสเอสเอฟ ของ Alltech ในอาหารสุกรเพื่อปรับปรุงการย่อยได้และลดต้นทุนอาหารสัตว์ต่อตัน ตัวอย่างนี้เป็นตัวแทนของอาหารสัตว์ที่พบได้ทั่วไปในพื้นที่แถบตะวันออก ของสหรัฐอเมริกา

รูปที่ 2: การลดต้นทุนอาหารสัตว์ด้วยออลไซม์ เอสเอสเอฟ

 

 

2. การปรับปรุงประสิทธิภาพของสุกร เริ่มจากแม่พันธุ์

พันธุศาสตร์มีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงประสิทธิภาพของแม่พันธุ์สุกรในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  ด้วยการเพิ่มจำนวนสุกรที่ผลิตได้ต่อแม่สุกรต่อปี เมื่อขนาดครอกเพิ่มขึ้น น้ำหนักแรกคลอดของลูกสุกรจะลดลง และความไม่สม่ำเสมอของครอกจะมีเพิ่มขึ้น น้ำหนักแรกคลอดน้อยเป็นปัจจัยหลักสำหรับการตายก่อนหย่านมของลูกสุกร (รูปที่ 3) และหากสุกรมีน้ำหนักหย่านมน้อย มักจะส่งผลให้สุกรเจริญเติบโตช้าและทำให้ซากมีไขมันสูง

รูปที่ 3: ผลของน้ำหนักแรกคลอดของลูกสุกรต่ออัตราการตายก่อนหย่านม

 

(Feldpausch, และคณะ, 2562)

การเพิ่มน้ำหนักแรกคลอดสามารถช่วย:

  •          ลดความไม่สม่ำเสมอของลูกสุกร
  •          ช่วยลดจำนวนสุกรที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ
  •          ลดอัตราการตายก่อนหย่านม
  •          ปรับปรุงน้ำหนักลูกสุกรหย่านม

 

ทุกสิ่งที่คุณต้องการให้ลูกสุกรได้รับจะมาจากแม่สุกรจนกระทั่งหย่านม ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องแน่ใจว่าโปรแกรมโภชนาการของแม่สุกรได้รับการดำเนินการอย่างครบถ้วนตามแผนที่วางไว้ และสามารถส่งต่อแร่ธาตุที่สำคัญไปยังลูกสุกรได้ ดังเช่นแร่ธาตุใน Bioplex®  (ไบโอเพล็กซ์) และ  Sel-Plex® (เซล-เพล็กซ์)

เทคโนโลยีที่พบในตลาดในปัจจุบันที่ถูกนำมาใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการสืบพันธุ์ของแม่สุกรนั้นมีความแตกต่างจากในอดีตโปรแกรมการจัดการแร่ธาตุของออลเทคทำให้:

  •          เพิ่มจำนวนลูกสุกรมีชีวิตแรกคลอด
  •          เพิ่มน้ำหนักแรกคลอดของลูกสุกรที่มีขนาดเล็กในครอก โดยการเปลี่ยนแหล่งแร่ธาตุที่ให้แม่สุกรจากแร่ธาตุอนินทรีย์เป็นแร่ธาตุอินทรีย์ (คาลอว์ และคณะ, 2552)
  •          ลดความไม่สม่ำเสมอภายในครอกของสุกรช่วงหย่านมและก่อนส่งโรงเชือด (มา และคณะ, 2563)

รูปที่ 4: น้ำหนักครอกแรกคลอดระหว่างแม่สุกรที่ถูกเลี้ยงด้วยแร่ธาตุอนินทรีย์และแร่ธาตุอินทรีย์

(เบอร์ตีชินี และคณะ, 2555)

การลดความไม่สม่ำเสมอของขนาดสุกรในช่วงหย่านมช่วยให้ผู้ผลิตสุกรสามารถกำหนดตลาดในการจำหน่ายสุกรของตนได้ชัดเจนมากขึ้นและลดความไม่สม่ำเสมอของขนาดสุกรเมื่อส่งโรงเชือด ซึ่งจะช่วยลดการสูญเสียในกระบวนการคัดแยกที่โรงงานแปรรูป และช่วยเพิ่มรายได้ต่อสุกรให้มากขึ้น (Cheng, Claudy, Que and Schinckel, 2019)

นอกจากนี้ แร่ธาตุของไบโอเพล็กซ์ยังมีการพิสูจน์ให้เห็นว่าไม่ไปลดประสิทธิภาพของวิตามินและเอนไซม์ลง การลดประสิทธิภาพของเอนไซม์หรือการทำงานของวิตามินสามารถนำไปสู่ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นหรือผลลัพธ์ขงผลผลิตที่ไม่เป็นที่น่าพอใจ การวิจัยแสดงให้เห็นว่ามีเอนไซม์หลายชนิดที่ถูกลดประสิทธิภาพลงอย่างมากเมื่อใช้กับแร่ธาตุอนินทรีย์ ในขณะที่มีกระทบน้อยกว่าเมื่อสัมผัสกับแร่ธาตุอินทรีย์ของไบโอเพล็กซ์ (แซนทอส, คอนนอลลี และเมอร์ฟี, 2557)

 

3. การปรับปรุงการบริโภคน้ำของสุกร (การดื่มน้ำ/การกินน้ำ)

น้ำที่สุกรของคุณ บริโภคนั้น ส่งผลต่อประสิทธิภาพและความสามารถในการให้ผลผลิตของพวกมัน และเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตของคุณหรือไม่? การบริโภคน้ำของสุกรมีความสำคัญพอ ๆ กับการบริโภคอาหาร เนื่องจากสุกรที่ดื่มน้ำไม่เพียงพอก็จะกินอาหารไม่เพียงพอด้วย สุกรมักจะดื่มน้ำประมาณ 10% ของน้ำหนักตัวต่อวัน หรือประมาณสองเท่าของปริมาณอาหารที่พวกมันกิน

การรักษาค่าพีเอชให้อยู่ในระดับต่ำเป็นเวลานานจะช่วยลดสภาวะที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่เป็นอันตรายให้น้อยลง การเติมสารเสริมความเป็นกรดลงในน้ำดื่ม เช่น Acid-Pak 4-Way® (แอซิด-แพค 4-เวย์) จากออลเทค เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการปรับให้น้ำดื่มมีสภาวะเป็นกรด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสุกรมีอัตราการกินได้น้อยหรือไม่เสถียร เนื่องจากสารเสริมความเป็นกรดจะช่วย:

  •         ลดค่า pH ของน้ำ และรักษาให้ค่าอยู่ในช่วงที่ เหมาะสมมากขึ้น (pH < 5)
  •         เพิ่มให้น้ำมีรสชาติหวานขึ้น ช่วยให้ลูกสุกรมีแนวโน้มที่จะดื่มน้ำได้ง่ายขึ้น
  •         เพิ่มอัตราการบริโภคน้ำ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการย่อยอาหารของสุกร
  •         ทำให้การทำงานของเอนไซม์ที่ดีขึ้น

           โดยทั่วไปแล้ว Acid-Pak 4-Way จะถูกใช้หลังช่วงหย่านมหรือในช่วงที่สุกรมีความเครียด

 

ต้นทุนการผลิตสุกร

แม้ว่ามีตัวแปรที่อาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตอยู่มากมาย แต่การทำความเข้าใจปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพอาหารสัตว์และการใช้แผนการประกันคุณภาพจะช่วยทำให้มั่นใจได้ว่าโภชนาการที่ดีที่สุดจะถูกส่งไปยังสุกรของคุณ และจะช่วยให้ผู้ผลิตสุกรประหยัดเงินได้มากขึ้นในระยะยาว คุณสามารถใช้โปรแกรมคำนวณกำไรของเราได้ที่ Alltech.com/every-cent-matters เพื่อดูว่าคุณสามารถประหยัดได้มากเท่าไหร่ด้วยเทคโนโลยีทางโภชนาการของออลเทค

 

อ้างอิง:

Bertechini, A. G., Fassani, E. J., Brito, J. Á. G. D., & Barrios, P. R. (2012). Effects of dietary mineral Bioplex in pregnant and lactating sow diets on piglet performance and physiological characteristics. Revista Brasileira De Zootecnia, 41(3), 624–629. doi: 10.1590/s1516-35982012000300022

Cheng, J., Claudy, J., Que, Y., & Schinckel, A. P. (2019). PSII-21 Evaluation of the impact of the magnitude of errors in the sorting of pigs and market price for market on the optimal market weight. Journal of Animal Science, 97(Supplement_2), 231–232. doi: 10.1093/jas/skz122.407

Feldpausch, J. A., Jourquin, J., Bergstrom, J. R., Bargen, J. L., Bokenkroger, C. D., Davis, D. L., … Ritter, M. J. (2019). Birth weight threshold for identifying piglets at risk for preweaning mortality. Translational Animal Science, 3(2), 633–640. doi: 10.1093/tas/txz076

Johnson, R. J., & Campbell, R. G. (1991). Rhone-Poulenc Animal Nutrition and Bunge Meat Industries, Australia. In: Manipulating Pig Production III. Proceedings of the Third Biennial Conference of the Australasian Pig Science Association (pp. 138–138).

Kalaw, P.R., Yatco, J.T., Yatco, G.B., et al., The incidence of small piglets at birth and at weaning can be reduced by Bioplex Sow Pak (poster).  Alltech’s 25th Symposium. 

Ma, L., He, J., Lu, X., Qiu, J., Hou, C., Liu, B., … Yu, D. (2020). Effects of low-dose organic trace minerals on performance, mineral status, and fecal mineral excretion of sows. Asian-Australasian Journal of Animal Sciences, 33(1), 132–138. doi: 10.5713/ajas.18.0861

Santos, T., Connolly, C., & Murphy, R. (2014). Trace Element Inhibition of Phytase Activity. Biological Trace Element Research, 163(1-2), 255–265. doi: 10.1007/s12011-014-0161-y

Loading...