Skip to main content

สารพิษจากเชื้อราในสัตว์น้ำ: วิธีจัดการกับภัยเงียบที่ซ่อนเร้น

November 17, 2020

อาหารของสัตว์บกที่เพาะเลี้ยงในฟาร์มมีความเสี่ยงต่อภัยจากสวนผสมที่ปนเปื้อนสารพิษจากเชื้อรา (Mycotoxin) อยู่เสมอ ซึ่งเป็นผลมาจากการผสมธัญพืชในระดับสูง ปัญหานี้เริ่มลุกลามมาสู่อาหารสัตว์น้ำในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมานี้ เนื่องจากระดับธัญพืชที่สูงขึ้นนี้กลายเป็นเรื่องที่พบได้ทั่วไป สารพิษจากเชื้อราในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและอาหารปลาเป็นปัญหาในอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้แต่กลับถูกมองข้ามไป

สารพิษจากเชื้อราคืออะไร

สารพิษจากเชื้อราคือองค์ประกอบทางเคมีที่ผลิตขึ้นโดย “ราสาย (Filamentous fungi)” ซึ่งอาศัยอยู่ในดิน จุลินทรีย์ชั้นต่ำเหล่านี้เป็นสารก่อโรคพืชที่รู้จักกันดีในผลผลิตธัญพืชทั้งหลาย ส่วนเมตาบอไลท์ทุติยภูมิของจุลินทรีย์เหล่านี้ซึ่งก็คือ สารพิษจากเชื้อรา ถือเป็นสิ่งปนเปื้อนอาหารสัตว์ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงในฟาร์ม โดยเชื้อราอาจปนเปื้อนมาในธัญพืชตั้งแต่ขั้นตอนแรกๆ ในไร่หรืออาจเกิดขึ้นในภายหลัง ไม่ว่าจะระหว่างการขนส่งหรือการจัดเก็บสินค้าก็ตาม การเจริญเติบโตรวมถึงการสร้างสารพิษจากเชื้อราจะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศเป็นหลัก แสดงว่าเชื้อราและพิษต่างชนิดกันจะเบ่งบานในบริเวณที่มีภูมิประเทศแตกต่างกัน

ตัวอย่างเช่น ราสกุลฟิวซาเรียม (Fusarium) จะโตได้ดีในเขตอบอุ่น จึงทำให้พบพิษเห็ดราดีออกซีนิวาลีนอล (Deoxynivalenol) ที่เกิดขึ้นจากราชนิดนี้ได้เป็นจำนวนมาก เช่นเดียวกัน ในเขตร้อนชื้น ราสกุลแอสเปอร์จิลลัส (Aspergillus) จึงมักถูกโยงเข้ากับการปล่อยสารอะฟลาท็อกซิน น่าเสียดายที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสภาพอากาศที่รุนแรงดังที่เราประสบอยู่ในปัจจุบันอาจมีส่วนในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างชุมชนเชื้อราและปริมาณเชื้อราที่ผลิตสารพิษดังนั้น ในปีต่อๆ ไปที่กำลังจะมาถึง จึงมีการคาดการณ์กันว่าไร่นาและผลผลิตเกษตรกรรมของเราจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากสารพิษจากเชื้อราเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้และไม่สามารถคาดเดาได้อย่างแน่นอน 

ภัยซ่อนเร้นของเกษตรกร

อุตสาหกรรมอาหารสัตว์น้ำได้มีความพยายามที่จะพัฒนาอาหารปลาที่ยั่งยืนด้วยการลดส่วนผสมที่ได้จากทะเลซึ่งใช้กันเป็นประจำ และทดแทนด้วยส่วนผสมใหม่ที่ได้จากพืชผลและผลพลอยได้ ด้วยเหตุนี้ การใช้ส่วนผสมจากพืชในอาหารปลา ซึ่งมีข้อจำกัดทางด้านโภชนาการบางประการ ทำให้อาจเกิดการสัมผัสกับสารพิษจากเชื้อราด้วย เท่าที่เราทราบกันในปัจจุบัน ข้าวโพดและผลพลอยได้คือพืชที่มีการปนเปื้อนสารพิษจากเชื้อราสูงสุด ตามมาด้วยผลิตภัณฑ์จากข้าวสาลีและถั่วเหลือง หากเราพิจารณาถึงเป้าหมายระยะยาวของอุตสาหกรรมในการลดการพึ่งพาส่วนผสมจากทะเลในห่วงโซ่คุณค่า คาดว่าน่าจะมีการใช้วัตถุดิบจากพืชในอาหารเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสูงกว่านี้มาก ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ด้วยอัตราการใช้ส่วนผสมจากพืชที่สูงขึ้น พร้อมทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้พบสารพิษจากเชื้อราในอาหารปลาได้มากขึ้น และทำให้อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกำจัดสิ่งปนเปื้อนออกไปจากอาหารปลาได้ยากยิ่งขึ้นไปอีก

ผลกระทบจากสารพิษจากเชื้อราที่มีต่อสุขภาพและสมรรถภาพของปลา

จากความรู้ที่มีในฐานข้อมูลห้องปฏิบัติการ Alltech 37+ ของเรา มีการตรวจพบสารพิษจากเชื้อราหลากหลายชนิดจากตัวอย่างอาหารปลา ในกรณีส่วนใหญ่คือจะพบสารพิษมากกว่าหนึ่งชนิดอย่างต่อเนื่องในอาหารสัตว์ที่ให้ในหนึ่งครั้ง แต่ไม่สามารถคาดเดาระดับและรูปแบบการผสมผสานได้ ทั้งนี้มีข้อบ่งชี้หลายประการที่แสดงให้เห็นว่าการผสมผสานในบางรูปแบบอาจส่งผลร่วมกันต่อตัวสัตว์ อย่างไรก็ตาม การปฏิสัมพันธ์กันในหมู่สารพิษจากเชื้อราที่เกิดขึ้นร่วมกันในอาหารสัตว์นั้นยังไม่มีการระบุอย่างแน่ชัด เนื่องจากงานวิจัยส่วนใหญ่จะเน้นศึกษาสารพิษจากเชื้อราแต่ละชนิดแยกกันไป ไม่ได้ทำการศึกษาความเป็นพิษเมื่ออยู่รวมกัน

ความท้าทายอีกอย่างหนึ่งในการแก้ปัญหาผลกระทบจากสารพิษจากเชื้อราในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ก็คือความซับซ้อนในอุตสาหกรรมนั่นเอง การเพาะเลี้ยงปลามีความหลากหลายสูง โดยอาจใช้ปลาต่างสายพันธุ์ที่มีประวัติชีวิตและสรีรวิทยาแตกต่างกัน จึงเป็นผลให้มีความอ่อนไหวต่อสารพิษแตกต่างกันไป ผลกระทบจากสารพิษจากเชื้อราขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่:

  • ประเภทและปริมาณสารพิษจากเชื้อราในอาหารสัตว์
  • ระดับการให้อาหาร
  • ระยะเวลาในการสัมผัส
  • สายพันธุ์ปลา
  • เพศ
  • อายุ
  • สุขภาพ
  • สถานะทางโภชนาการของสายพันธุ์ที่ได้รับเชื้อ

ผลกระทบทางชีววิทยาจากสารพิษจากเชื้อราทั่วไปส่วนใหญ่ (อะฟลาท็อกซิน บี 1, โอคราท็อกซิน เอ (Ochratoxin A), ฟูโมนิซิน บี 1 (Fumonisin B1), ดีออกซีนิวาลีนอล, สารพิษทีทู (T-2 toxin) และซีราลีโนน (Zearalenone)) มีรายละเอียดอ้างอิงจากการศึกษาในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตามที่ระบุไว้ด้านล่างนี้

 

จากแนวโน้มการพัฒนาของสารพิษจากเชื้อราในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ นักวิทยาศาสตร์จึงได้ทำการทดลองวิจัยโดยมีเป้าหมายในการประเมินผลกระทบจากสารพิษจากเชื้อราที่มีต่อปลาสายพันธุ์ต่างๆ รายงานผลการวิจัยเบื้องต้นจะเน้นที่การทดลองด้านการเจริญเติบโต แสดงให้เห็นว่าหนทางของเรายังอีกยาวไกล ไม่ว่าจะเป็นสารพิษประเภทใด แต่สมรรถภาพการเจริญเติบโตที่ลดลงและอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อที่สูง มักจะมีความเกี่ยวข้องกับการกินอาหารสัตว์ที่ปนเปื้อน

การเจริญเติบโตอาจเป็นสิ่งที่ได้รับผลกระทบโดยตรง เนื่อจากสัตว์จะกินอาหารที่มีการปนเปื้อนน้อยลง หรือในทางอ้อม อาจเกิดจากความเสียหายของโมเลกุลอันเกิดจากการที่สารพิษทำปฏิกิริยาในระดับเซลล์ ไม่ว่าในกรณีใดๆ ผลลัพธ์สุดท้ายก็เหมือนกัน คือ ปลามีสมรรถภาพการเจริญเติบโตลดลงและเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลาเกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ น่าเสียดายที่การปนเปื้อนพิษเห็ดรานั้นเป็นเหมือนศัตรู “เงียบ” สำหรับเกษตรกร เพราะกรณีส่วนใหญ่ไม่ปรากฏอาการให้เห็นเป็นลักษณะร่วมกัน การกินอาหารสัตว์ที่มีสารพิษจากเชื้อราในระดับต่ำเป็นเวลานานหรือได้รับพิษระดับสูงอย่างเฉียบพลันอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้สัตว์เสียชีวิตอย่างไม่สามารถอธิบายได้ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่พบได้พบในฟาร์มเพาะเลี้ยงปลาเป็นครั้งคราว

 

 วิธีแก้ปัญหา

ความยั่งยืนคือประเด็นที่เราให้ความสำคัญที่สุด และเรารู้สึกถึงความรับผิดชอบที่จะสร้างและรักษาอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำด้วยการดูแลสวัสดิภาพของปลาในฟาร์มเพาะเลี้ยง ช่วยเหลือเกษตรกรให้มีกำไรสูงสุด และสร้างผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนซึ่งจำเป็นต่อวิถีชีวิตที่สุขภาพดีและมีสมดุลของผู้บริโภค

หากเราต้องการบริหารจัดการความเสี่ยงจากสารพิษจากเชื้อราในระดับอุตสาหกรรม เราจำเป็นต้องค้นหาวิธีแก้ปัญหาที่สามารถใช้ได้กับทุกจุดสำคัญในห่วงโซ่ นับตั้งแต่ไร่ไปจนถึงโรงเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเราขอแนะนำให้เริ่มจากในไร่ด้วยการใช้แนวปฏิบัติด้านเกษตรกรรมที่ดี เช่นการปลูกพืชทนทานหลากหลายชนิด การปลูกพืชหมุนเวียน การไถพรวนดิน และการควบคุมโรคพืชด้วยสารเคมีและชีวภาพ

ในช่วงก่อนเก็บเกี่ยวจะไม่สามารถป้องกันการปนเปื้อนพิษจากเชื้อราได้อย่างเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ไม่สามารถคาดเดาสภาพอากาศได้ ผู้จัดหาวัตถุดิบจึงควรใช้วิธีต่างๆ ในการวิเคราะห์ตรวจหาสารพิษจากเชื้อราในผลิตภัณฑ์ธัญพืชอย่างรวดเร็วก่อนรับหรือตีกลับพืชผลรอบดังกล่าว น่าเสียดายที่ชุดทดสอบด่วนเช่นนี้สามารถตรวจจับสารพิษได้เพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น อีกทั้งข้อจำกัดด้านระเบียบในแต่ละประเทศยังแตกต่างกันไปอีกด้วย ดังนั้น ความรับผิดชอบในการบริหารจัดการสารพิษจากเชื้อราในอาหารสัตว์น้ำจึงถูกส่งต่อไปยังผู้ผลิตอาหารสัตว์น้ำโดยอัตโนมัติ

ในขั้นสุดท้ายนี้ โดยทั่วไปในการกำหนดสูตรอาหารสัตว์ก็จะมีการใส่สารยับยั้งเชื้อรา เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อราเติบโตระหว่างการเก็บรักษาในอาหารสัตว์ที่ผลิตสำเร็จ สารพิษจากเชื้อราที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนเก็บเกี่ยวยังคงมีอยู่ในอาหารสัตว์และคงสภาวะเกือบเสถียรในอุณหภูมิสูงระหว่างขั้นตอนการอัดเม็ด ด้วยเหตุนี้ ผู้ผลิตอาหารสัตว์จึงควรพิจารณากำหนดกลยุทธ์ในการทำลายพิษในอาหารสัตว์ เพื่อลดผลกระทบเชิงลบจากพิษเห็ดราที่มีต่อตัวปลาหลังได้รับสารพิษให้น้อยที่สุด 

สำหรับผลิตภัณฑ์ทำลายพิษที่มีจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ทั้งหลาย ดูเหมือนว่าเอนไซม์ในผลิตภัณฑ์จะมีความสามารถในการเปลี่ยนสารพิษให้อยู่ในรูปที่มีพิษน้อยลง อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์นี้จะมีประสิทธิภาพได้ก็ต่อเมื่ออาหารสัตว์น้ำมีสารพิษจากเชื้อราเพียงชนิดเดียว แต่ในความเป็นจริงแล้ว ดังที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ คือมีแนวโน้มว่าในอาหารสัตว์จะมีสารพิษจากเชื้อราอยู่หลายชนิดเสียมากกว่า และการให้เอนไซม์สำหรับจัดการสารพิษแต่ละชนิดที่อาจพบในอาหารก็ไม่ใช่เรื่องที่ควรกระทำแต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการหันไปให้ความสำคัญกับวิธีแก้ปัญหาที่ใช้ได้จริงและครอบคลุมมากกว่า เช่น สารจับพิษจากเชื้อรา เป็นต้น โดยทั่วไปแล้ว สารดูดซับอินทรีย์จะจับตัวกับพิษเห็ดราได้ครอบคลุมกว้างกว่าประเภทอนินทรีย์

สรุปคือ หากจะบริหารจัดการพิษจากเชื้อราให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องมองภาพรวมของปัญหาทั้งหมดตั้งแต่ฟาร์มไปจนถึงโรงเลี้ยงสัตว์ และตั้งแต่การประเมินความเสี่ยงไปจนถึงการบริหารจัดการอาหารสัตว์ อาการที่สัตว์แสดงออกมาอาจมีมากมายและหลากหลาย แต่ผลลัพธ์ในทุกกรณีจะทำให้สมรรถภาพสัตว์ลดลงและสูญเสียผลกำไรทั้งสิ้น ทีมบริหารจัดการสารพิษจากเชื้อราของ Alltech จึงได้จัดเตรียมวิธีแก้ปัญหาที่หลากหลายไว้ช่วยคุณลดความเสี่ยงที่อาจต้องเผชิญตั้งแต่ไร่หรือจัดเก็บ ติดต่อทีมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อขอคำปรึกษาวิธีลดความเสี่ยงจากสารพิษจากเชื้อราในอาหารสัตว์ได้แล้ววันนี้ โดยส่งอีเมลมาที่ aquasolutions@alltech.com หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ออลเทค ประเทศไทย

Loading...