Skip to main content

5 ปัจจัยสำคัญสู่อนาคตของโภชนาการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในโลกเรามีวิวัฒนาการต่อเนื่องมายาวนาน นับตั้งแต่มนุษย์เริ่มรู้จักการเพาะเลี้ยงปลาเป็นครั้งแรก ตลอดหลายปีที่ผ่านมา การปรับปรุงระบบการจัดการและอาหารสัตว์น้ำทำให้เราสามารถผลิตอาหารได้สูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม ด้วยความต้องการบริโภคปลาและจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น อุตสาหกรรมนี้จึงมีแนวโน้มที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต มาดูกันว่าปัจจุบันนี้มีแนวโน้มการพัฒนาด้านใดบ้างที่จะมีบทบาทในอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำรุ่นต่อไป

 

การใช้ระบบเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำระบบหมุนเวียน (RAS) ที่เพิ่มขึ้น

ระบบเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำระบบหมุนเวียน (Recirculating aquaculture systems: RAS) ไม่ใช่เรื่องใหม่ การทำฟาร์มด้วยวิธีนี้มีมานับตั้งแต่ปี 1980 และใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงแซลมอนแอตแลนติกมาหลายปี อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชนิดอื่นๆ ต้องใช้เวลาเกือบ 20 ปี จึงจะปรากฏการใช้วิธีนี้อย่างเต็มรูปแบบ

สาเหตุหลักที่ทำให้ RAS เป็นวิธีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแห่งอนาคต คือ

  • ความยั่งยืน
  • ประสิทธิภาพ

การจะดำเนินการระบบ RAS ให้สำเร็จได้นั้น ต้องอาศัยการปรับอาหารสัตว์ให้เหมาะสมเพื่อเสริมรสชาติ ลดมลพิษทางน้ำ และดูแลควบคุมให้ทั้งระบบและปลามีประสิทธิภาพดีที่สุด เนื่องจากการเพาะเลี้ยงด้วยระบบ RAS อยู่บนบกเป็นส่วนใหญ่ การใช้ทรัพยากรในบ่อ/ทะเลจึงลดลง นอกจากนี้ นวัตกรรมการรีไซเคิลน้ำที่ทันสมัยของฟาร์ม ยังสามารถป้องกันการขาดแคลนทรัพยากรได้อีกด้วย

แนวโน้มการพัฒนาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การพัฒนาระบบ RAS สำหรับกุ้ง ซึ่งจะช่วยยกระดับการเลี้ยงกุ้งโดยใช้วิธีควบคุมสภาพแวดล้อมให้มากขึ้นและบรรเทาปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในระยะยาว นอกจากนี้ ยังมีการเปลี่ยนแปลงในแง่การออกกฎหมายและการเคลื่อนไหวจากผู้ประกอบการที่เลี้ยงในกระชังด้วยเหตุผลด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การรักษาคุณภาพของน้ำจืดและการปกป้องประชากรปลาในธรรมชาติ พืชน้ำ และสัตว์น้ำอื่นๆ ซึ้งทั้งหมดนี้ล้วนสะท้อนถึงอนาคตที่สดใสสำหรับ RAS ทั้งสิ้น

 

การเลิกใช้ปลาป่นและน้ำมันปลาเป็นส่วนผสมในอาหารสัตว์น้ำ

วัตถุประสงค์หลักของอาหารสัตว์คือการให้พลังงานและสารอาหารเพื่อสร้างเสริมพัฒนาการของสัตว์ แต่ปลาเป็นสัตว์ที่ไม่ได้มีความต้องการแหล่งพลังงานและสารอาหารใดเป็นพิเศษ สัดส่วนเปอร์เซ็นต์ของปลาป่นในอาหารสัตว์น้ำลดลงอย่างมากนับตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา และแนวโน้มการเลิกใช้วัตถุดิบจากปลาป่นและน้ำมันปลาสำหรับการเพาะเลี้ยงปลาสายพันธุ์ต่างๆ ก็อยู่อีกไม่ไกล โดยมีโปรตีนจากพืชและวัตถุดิบอื่นๆ มาทดแทน อย่างไรก็ตาม วัตถุดิบเหล่านี้ยังมีข้อจำกัดเนื่องจากย่อยยาก สูตรของอาหารสัตว์ที่ดีจำเป็นต้องย่อยง่ายและแต่ละส่วนผสมต้องช่วยเพิ่มคุณค่าและสารอาหารเพื่อสร้างเสริมประสิทธิภาพ การผสมเอนไซม์เข้าไปในอาหารสัตว์น้ำสามารถช่วยให้ปลาและกุ้งย่อยอาหารได้ดีขึ้น ซึ่งเท่ากับเป็นการสร้างเสริมระบบย่อยอาหารที่ดีต่อสุขภาพและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านต้นทุนให้กับผู้ประกอบการ

 

การเลือกอาหารสัตว์ที่เหมาะสมกับฟาร์มทำให้:

·         ใช้ปริมาณอาหารสัตว์น้อยลง

·         การผลิตดีขึ้น

·         ผลลัพธ์ที่ออกมาดีขึ้น

·         ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมลดลง

 

การเพิ่มปริมาณวัตถุดิบจากพืชมีความเสี่ยงแอบแฝงอยู่ การปนเปื้อนของสารพิษจากเชื้อราคือศัตรูตัวฉกาจของผู้ผลิตเนื่องจากตรวจพบได้ยาก การบริโภคอาหารที่มีระดับการปนเปื้อนต่ำ/เฉียบพลัน หรือระดับสูงเป็นเวลานานอาจเป็นสาเหตุของการเติบโตที่ต่ำและการตายโดยไม่ทราบสาเหตุภายในฟาร์มเพาะเลี้ยงปลา ผู้ผลิตจึงจำเป็นต้องรับมือกับภัยคุกคามดังกล่าวด้วยการใช้ระบบจัดการที่ถูกต้องในจุดการผลิตที่เกี่ยวข้องทั้งหมด อาหารเสริมสามารถช่วยบรรเทาผลกระทบของสารพิษจากเชื้อราในทางเดินอาหาร และป้องกันไม่ให้ร่างกายดูดซึมสารพิษได้

 

ระบบโลจิสติกส์ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมีอัตราเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด จึงเป็นโอกาสดีในการพัฒนาปรับปรุงแนวทางปฏิบัติด้านความยั่งยืนและพึ่งพาการนำเข้าให้น้อยลง ทีมงานผู้เชี่ยวชาญของ Alltech Coppens ให้ความสำคัญกับการจัดหาวัตถุดิบที่มีคุณภาพจากภายในท้องถิ่น และปรับสูตรให้เหมาะสมกับสภาวะเพื่อมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับปลา

 

 

การกำหนดสูตรอาหารที่คำนึงถึงพลังงานสุทธิ (net energy)

ผู้ประกอบการจำเป็นต้องใช้กระบวนการผลิตอาหารสัตว์ที่มีประสิทธิภาพและคุ้มต้นทุน โดยการที่จะผลิตอาหารที่ให้ระดับพลังงานที่เหมาะสมแก่ปลาได้นั้น ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวชี้วัดความสามารถในการย่อยของวัตถุดิบแต่ละชนิดเป็นสำคัญ

 

พลังงานรวม (gross energy) คือพลังงานทั้งหมดในอาหารที่สัตว์ เมื่อสัตว์ย่อยอาหาร มันจะใช้พลังงานที่เรียกว่า พลังงานย่อยได้ (digestible energy) พลังงานบางส่วนที่นอกเหนือจากนั้นจะหายไปในกระบวนการเผาผลาญ และพลังงานที่เหลืออยู่จะกลายเป็นพลังงานสุทธิ (net energy)

 

ปลาจะใช้พลังงานสุทธิในการสร้างการเติบโตและดำรงชีวิต ส่วนสารอาหารรองจะทำหน้าที่เป็นกุญแจสำคัญในการเพิ่มการเติบโตให้สูงที่สุด อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพของสารอาหารแต่ละชนิดอาจแตกต่างกันไป ผลการวิจัยล่าสุดโดย Alltech Coppens Aqua Center ระบุว่าระดับการสูญเสียพลังงานจากการเผาผลาญอาจสูงถึง 30–40% หากใช้สูตรอาหารที่ไม่ถูกต้องซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตของปลา ดังนั้น กระบวนการเปรียบเทียบพลังงานสุทธิของอาหารสัตว์ประเภทต่างๆ ตลอดจนการพิจารณาไปถึงเรื่องของรสชาติและความยั่งยืน จะช่วยให้ผู้ผลิตสามารถเลือกอาหารสัตว์ที่สร้างประสิทธิภาพดีที่สุดได้

 

ลำไส้ที่แข็งแรงคือกุญแจสู่ความสำเร็จ

การดูแลเพาะเลี้ยงปลาให้มีสุขภาพดีคือหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โรคและ/หรืออัตราการเติบโตที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญจะนำมาซึ่งต้นทุนของผู้ผลิตที่เพิ่มขึ้น และภาวะสุขภาพที่ย่ำแย่อาจเป็นสาเหตุก่อให้เกิดความสูญเสียครั้งใหญ่ได้

 

ที่ Alltech เราเชื่อว่าลำไส้ที่แข็งแรงคือกุญแจสู่ความสำเร็จ ลำไส้ที่แข็งแรงจะสามารถย่อยและดูดซึมสารอาหารได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ จุลินทรีย์ในลำไส้ (intestinal microflora) สัณฐานวิทยาของลำไส้ (gut morphology) ระบบภูมิคุ้มกัน และการดูดซึมสารอาหาร ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ล้วนแล้วแต่มีผลต่อสุขภาพและประสิทธิภาพของปลาและกุ้งทั้งสิ้น สัตว์ที่อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมแบบเพาะเลี้ยงต้องการสารอาหารที่จำเป็นตามหลักโภชนาการขั้นพื้นฐาน ผิวหนัง ลำไส้ และเหงือกเป็นอวัยวะหลักที่ปลาใช้ทำปฏิกิริยากับปัจจัยแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลต่อสุขภาพ ดังนั้น อวัยวะเหล่านี้จึงจำเป็นต้องได้รับการปกป้องอย่างดีทั้งภายในและภายนอก

 

ยิ่งสัตว์แข็งแรงมากเท่าไร ก็ยิ่งเผชิญความเสี่ยงในวงจรการผลิตน้อยลง และนำไปสู่ผลสำเร็จในระดับสูงสุด

 

ปัจจัยก่อความเครียดที่ควรระมัดระวัง ได้แก่

• ความเข้มงวดในการผลิต

• อายุ

• คุณภาพของอาหารสัตว์

• อุณหภูมิ

• ความเค็ม

• ค่า pH

ปัจจัยเหล่านี้อาจทำให้เกิดความไม่สมดุลในลำไส้ ซึ่งนำไปสู่ระดับความอ่อนแอต่อโรคที่สูงขึ้น ผลกระทบที่ตามมาต่ออัตราการเติบโตและภูมิคุ้มกันของสัตว์อาจส่งผลเสียต่อรายได้ เพราะฉะนั้น การปกป้องดูแลสุขภาพของสัตว์ก็จะนำมาซึ่งผลดีต่อเกษตรกรด้วย 

 

ความยั่งยืน

 

การที่จะสร้างและส่งต่อความมั่นคงด้านอาหารให้กับคนรุ่นหลังได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยการจัดการสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันอย่างรอบคอบ โดยใช้วิธีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน FAO ประกาศว่าภายในปี 2030 60% ของปลาสำหรับบริโภคจะมาจากการเพาะเลี้ยง ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในทุกด้านของการผลิต เมื่อเราทราบถึงความต้องการที่แท้จริงของปลา พร้อมกำหนดปริมาณสารอาหารรองที่จำเป็น และวิเคราะห์ส่วนประกอบที่อยู่ในมูลของปลาได้ เราจะเข้าใจวิธีการปรับปรุงคุณภาพน้ำได้ดีขึ้น

 

คุณภาพน้ำที่ต่ำทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความสูญเสียทางเศรษฐกิจ เราสามารถหลีกเลี่ยงผลเสียดังกล่าวได้ด้วยการเลือกสารเสริมอาหารอย่างรอบคอบและสมดุล ซึ่งช่วยส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเพาะเลี้ยงและสภาพแวดล้อมที่ดีในอนาคต สภาพแวดล้อมของระบบ RAS และการเปลี่ยนมาใช้สารอาหารอื่นๆ ทดแทนส่วนผสมจากทะเลตามที่ระบุไว้ข้างต้น ได้สร้างผลกระทบเชิงบวกให้เกิดขึ้นจริงแล้ว และประโยชน์ที่เกิดขึ้นนี้จะช่วยให้คนรุ่นหลังมีแหล่งโปรตีนทางทะเลที่ยั่งยืนในอนาคต

Loading...