Skip to main content

3 วิธีช่วยเพิ่มผลผลิตน้ำนม พร้อมไปกับการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์

ในอุตสาหกรรมโคนม การใช้วิธีแก้ปัญหาแบบ “ยิงปืนนัดเดียว ได้นกสองตัว” ให้สำเร็จนั้น ต้องอาศัยนวัตกรรมและข้อมูลที่นำไปใช้ได้จริง อย่างเช่นในกรณีการหาวิธีช่วยลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์หรือก๊าซเรือนกระจกในการเลี้ยงโคนม  ในขณะที่ยังคงสามารถรักษาผลผลิตน้ำนมให้สูงอยู่ได้

 

เป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องเข้าใจว่าธุรกิจการผลิตน้ำนมนั้นกำลังอยู่บนเส้นทางที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ ข้อมูลเชิงลึก จาก IFCN แสดงให้เห็นว่าการผลิตน้ำนมจะเพิ่มขึ้นถึง 35% ระหว่างปีค.ศ. 2017 และ 2030 ถือว่าเป็นระดับความเติบโตที่สดใสสำหรับอุตสาหกรรม แต่ก็ยังมีความท้าทายและคำถามมากมายเกี่ยวกับความสามารถในการผลิตที่เพิ่มขึ้นด้วยทรัพยากรที่น้อยลง ในขณะที่ต้องใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน และท้ายที่สุด เราจะต้องทำทุกสิ่งที่กล่าวมาให้สำเร็จ โดยที่เราต้องมีความโปร่งใสต่อผู้บริโภคเกี่ยวกับการแสดงให้เห็นว่าน้ำนมที่พวกเขาบริโภคนั้นถูกผลิตมาอย่างไรมากขึ้นด้วย

คำถามสำคัญคือ: เราจะสามารถลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ในขณะที่ผลผลิตน้ำนมและผลกำไรของเราเพิ่มขึ้นได้หรือไม่?

ก๊าซเรือนกระจกเป็นหัวข้อที่อยู่ในกระแสของผู้บริโภคมานานหลายปี และในขณะนี้ก็กำลังเป็นพูดถึงมากขึ้นในหมู่ผู้เลี้ยงโคนมทั่วโลก เนื่องจากมีกฏข้อบังคับและการริเริ่มแผนงานต่างๆ จากหลายภาคส่วนปรากฏออกมา การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้สำเร็จนั้น เราต้องมองไปที่วิธีในการเพิ่มประสิทภาพการผลิตให้ได้สูงสุด นั่นรวมถึงการแก้ปัญหาด้านโภชนาการ ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญต่อไปจากนี้

ผู้ประกอบการโคนมสามารถนำวิธีการด้านโภชนาการ มาใช้เป็นเครื่องมือในการลดการปล่อยก๊าซมีเทนจากโคนมได้ แต่เทคโนโลยีที่จะให้ประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมนั้นต้องไม่ลดสมรรถภาพของสัตว์ เพราะนั่นหมายถึงการที่เราจะต้องเพิ่มปริมาณสัตว์ขึ้นเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการอาหารที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะพิจารณาเรื่องวิธีการ ผู้ประกอบการโคนมจะต้องวัดค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในฟาร์มของตัวเองเสียก่อน

 

เครื่องมือที่หนึ่ง: Alltech E-CO2 (ออลเทค อี-ซีโอทู)

เพื่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้สำเร็จนั้น เราต้องรู้ก่อนว่าก๊าซเรือนกระจกนั้นถูกปล่อยมาจากที่ใด ผู้ให้บริการวิเคราะห์ เช่น Alltech E-CO2 (ออลเทค อี-ซีโอทู) สามารถระบุบริเวณที่มีการปล่อยก๊าซฯ และแสดงปริมาณของก๊าซฯ ที่ปล่อยออกมา ด้วยกระบวนการประเมินด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการรับรอง ในช่วงเวลามากกว่า 10 ปีที่ผ่านมา และการประเมินมากกว่า 10,000 ครั้ง Alltech E-CO2    ได้พบว่าแหล่งของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในฟาร์มโคนม หลักๆ มีสองจุด ได้แก่ การปล่อยก๊าซฯ จากระบบหมักย่อยอาหารของสัตว์ (เช่น มีเทนจากกระเพาะรูเมน) และการใช้อาหารสัตว์ ทั้งสองแหล่งนี้มีปริมาณก๊าซฯ ที่ปล่อยออกมารวมกัน สูงกว่า 60% ของการปล่อยก๊าซฯ ทั้งหมดในการผลิตโคนม ซึ่งทั้งสองจุดนี้มีความเกี่ยวข้องกับสุขภาพของกระเพาะรูเมนและความสามารถของสัตว์ในการนำอาหารไปใช้

การที่จะลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในฟาร์มให้ประสบความสำเร็จนั้น เราต้องมองถึงความสมดุลของการปล่อยก๊าซฯ ของทั้งฟาร์ม ไม่ใช่มองที่การปล่อยก๊าซประเภทใดประเภทหนึ่ง ที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งเท่านั้น วิธีหนึ่งที่จะทำเช่นนั้นได้คือการเฝ้าสังเกตการณ์ตลอดทั้งวัฎจักร สิ่งสำคัญคือการมองเห็นโอกาสในการลดของเสียและเพิ่มประสิทธิภาพของฟาร์มให้สูงขึ้น ซึ่งนั่นหมายถึงกำไรที่เพิ่มขึ้นสำหรับผู้ประกอบการนั่นเอง

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Alltech E-CO2 ได้ที่นี่

 

เครื่องมือที่สอง: OPTIGEN® (ออพติเจน)

Optigen คือส่วนผสมอาหารสัตว์ที่มีข้อมูลจากการทดลองมากมาย ที่แสดงให้เห็นว่าช่วยส่งเสริมการผลิตน้ำนมอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน Optigen เป็นแหล่งไนโตรเจนที่ไม่ใช่โปรตีนชนิดเข้มข้น ที่จะปล่อยไนโตรเจนเข้าสู่กระเพาะรูเมนของโคอย่างช้าๆ ทำให้แอมโมเนียถูกปลดปล่อยออกมาได้ยาวนาน ซึ่งจะทำงานประสานไปกับการย่อยคาร์โบไฮเดรตหมักในกระเพาะรูเมน และนี่จะทำเกิดการสังเคราะห์โปรตีนจากจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมนอย่างมีประสิทธิภาพ

 

เพื่อรวบรวมหลักฐานที่ชัดเจนที่แสดงว่ากลยุทธ์ด้านอาหารสัตว์สามารถถูกใช้เป็นหนึ่งในเครื่องมือเพื่อลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ได้อย่างไร องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้พัฒนาข้อแนะนำมาตรฐานของผลลัพธ์ในการใช้สารเสริมอาหารสัตว์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมขึ้นมา ซึ่งมีการแนะนำให้ดูข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์อภิมาน (meta-analyses) และการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (life cycle analyses)  ร่วมกัน การวิเคราะห์อภิมานนั้นจะช่วยให้สามารถได้ข้อสรุปด้วยการวิเคราะห์เชิงสถิติแบบวงกว้าง ที่อ้างอิงจากการรวบรวมข้อมูลในการศึกษามากมายในช่วงเวลาหลายปี ส่วนการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์นั้นจะช่วยให้เราประเมินปริมาณของก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยออกมาตลอดห่วงโซ่อุปทาน หรือ ในรอบการผลิตของผลิตภัณฑ์นั้นๆ การผสมผสานข้อมูลจากทั้งสองวิธีนี้จะแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีอาหารสัตว์สามารถมีส่วนในการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และ/หรือใช้รับรองผลลัพธ์ด้านความยั่งยืนได้อย่างไร

ภาพอินโฟกราฟฟิกนี้เป็นตัวอย่างของการวิเคราะห์อภิมานของผลิตภัณฑ์ Optigen ช้อมูลที่ได้มาจากการวิเคราะห์อภิมานนี้ชี้ให้เห็นว่า จากการวิจัยที่มีมายาวนานกว่าสองทศวรรษ การใช้ Optigen มีความสัมพันธ์กับการลดลงของการใช้แหล่งโปรตีนจากพืชในอาหารสัตว์ โดยเฉลี่ย 23% โดยเฉพาะกากถั่วเหลือง ที่สามารถลดปริมาณลงได้ถึงประมาณ 21% รวมถึงแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพการใช้อาหารที่เพิ่มขึ้นประมาณ 3% นอกจากนั้นแล้วอาหารสัตว์ที่มีการใช้ออพติเจนในสูตรและลดปริมาณแหล่งโปรตีนจากพืชลง ก็แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพการนำไนโตรเจนไปใช้ที่ดีขึ้นถึง 4% และนั่นทำให้คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของอาหารที่สัตว์ใช้ในการผลิตน้ำนมลดลงได้ถึง 14%

 อ่านข้อมูลจากการวิเคราะห์อภิมานฉบับเต็มได้ที่นี่

 

เครื่องมือที่ 3: Yea-Sacc®  (ยี-แซค)

มีบางผลิตภัณฑ์ในท้องตลาดเช่น ผลิตภัณฑ์ประเภทยีสต์ ที่อาจช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตให้ดีขึ้น ในขณะที่ช่วยลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ไปพร้อมกัน Yea-Sacc คือผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากยีสต์สายพันธุ์ Saccharomyces cerevisiae ซึ่งมีคุณสมบัติในการปรับการทำงานในกระเพาะรูเมน โดยการเข้าไปส่งเสริมการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ใช้กรดแลคติก ช่วยทำให้ค่า pH ในกระเพาะรูเมนมีความเสถียร ในขณะเดียวกัน ก็ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยอาหารของโคและการนำไปโภชนะไปใช้ ซึ่งจะทำให้โคสามารถดูดซึมสารอาหารได้มากขึ้นเพื่อการผลิตน้ำนมที่มากขึ้นนั่นเอง  

จากการวิเคราะห์อภิมาน ที่รวมงานศึกษาวิจัย 31 ชิ้น ได้แสดงให้เห็นว่าการให้ Yea-Sacc แก่โคนมสามารถช่วยเพิ่มผลผลิตน้ำนมได้โดยเฉลี่ย 1 กก./ตัว/วัน อีกทั้งยังช่วยลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ได้ราว 3% และลดความเข้มข้นของการปล่อยไนโตรเจนลงได้ประมาณ 5.4% ตัวเลขดังกล่าวนี้เป็นตัวอย่างให้เห็นแล้วว่าการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้ดีขึ้น ไปพร้อมกับการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์และความเข้มข้นของการปล่อยไนโตรเจนเป็นเรื่องที่เป็นไปได้

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประโยชน์ของการใช้ Yea-Sacc® ได้ที่นี่

 

ในตอนต้นของบทความนี้ เราได้ถามคำถามว่า: เราจะสามารถลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ในขณะที่ผลผลิตน้ำนมและผลกำไรของเราเพิ่มขึ้นได้หรือไม่? ด้วยเครื่องมือทั้ง 3 ที่ได้กล่าวถึงในบทความนี้ เราจึงตอบได้ว่า: ใช่ เราสามารถลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของการผลิตน้ำนมและเพิ่มผลตอบแทนทางเศรษฐกิจไปพร้อมกันได้ จากข้อมูลการวิเคราะห์อภิมานหลายชิ้น ก็ค่อนข้างชัดเจนแล้วว่า คุณสามารถเลือกใช้วิธีการจัดการด้านอาหารสัตว์ที่มีให้บริการในท้องตลาด ควบคู่ไปกับการวางกลยุทธ์ด้านโภชนาการ เพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตและผลกำไรและยังสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระบบการผลิตโคนมของคุณไปพร้อมกันได้

Loading...