Skip to main content

โคเนื้อ x โคนม: ประโยชน์ของการใช้วัวนมผสมในอุตสาหกรรมวัวเนื้อ

ไมค์ ดิ กรูท (Mike De Groot) เป็นหุ้นส่วนผู้ก่อตั้งและผู้อํานวยการของ TD Beef ซึ่งเป็นองค์กรหนึ่งในโซ่อุปทานของ beef-on-dairy (การผสมระหว่างแม่โคนมและพ่อโคเนื้อ) ที่คำนึงถึง ESG (การดูแลสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบต่อสังคม และบรรษัทภิบาล) ที่ติดตามข้อมูลการผลิตโคแบบ " from conception to consumption (ตั้งแต่การผสมไปจนถึงการบริโภค)"

อุตสาหกรรมโคเนื้อมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยมีเทคโนโลยีและแนวทางปฏิบัติใหม่ ๆ เกิดขึ้น เพื่อช่วยให้ผู้ผลิตปรับปรุงประสิทธิภาพและผลกําไร  ไมค์ ดิ กรูท หุ้นส่วนผู้ก่อตั้งและผู้อํานวยการของ TD Beef ได้มาร่วมพูดคุยใน Ag Future podcast เกี่ยวกับแนวโน้มการเติบโตของการใช้วัวนมผสมและวิธีที่ TD Beef ใช้เชื่อมช่องว่างระหว่างอุตสาหกรรมโคนมและโคเนื้อในห่วงโซ่อุปทาน beef-on-dairy ซึ่งติดตามข้อมูลการผลิตโคแบบ " from conception to consumption (ตั้งแต่การผสมไปจนถึงการบริโภค)"

ต่อไปนี้เป็นการถอดบทสัมภาษณ์ของ Mike De Groot จากพอดคาสต์ Ag Future ที่ดำเนินรายการโดย Tom Martin คลิกด้านล่างเพื่อฟังเสียงเต็มหรือฟังตอนบน Apple Podcasts, Spotify หรือ Google Podcasts

 

ทอม: ยินดีต้อนรับสู่ Ag Future นําเสนอโดย Alltech

 

ผมคือทอม มาร์ติน กับซีรีส์พอดคาสต์ Alltech Ag Future และที่อยู่กับเราคือ ไมค์ ดิ กรูท หุ้นส่วนผู้ก่อตั้งและผู้อํานวยการของ TD Beef ซึ่งเป็นบริษัทจัดหาวัวที่คำนึงถึง ESG  ดำเนินงานเพื่อเชื่อมช่องว่างระหว่างอุตสาหกรรมโคนมและโคเนื้อ TD เป็นส่วนหนึ่งในโซ่อุปทาน beef on dairy (การผสมระหว่างแม่โคนมและพ่อโคเนื้อ) ซึ่งมีการติดตามข้อมูลการผลิตวัวแบบ " from conception to consumption (ตั้งแต่การผสมไปจนถึงการบริโภค)  ดิ กรูท และหุ้นส่วนของเขา เจค (Jake) และ เจสัน ทัลส์ (Jason Tuls) เลี้ยงวัวในฟาร์มของครอบครัวทัลส์ ในนิวเม็กซิโกตะวันออกและเวสต์เท็กซัส ขอบคุณที่มาพูดคุยกับเราในวันนี้ครับไมค์

 

ไมค์: ขอบคุณที่เชิญผมมาครับ

 

ทอม: ไมค์คุณมีปรัชญาเรื่องการทํางานร่วมกันที่ต้องการให้ทุกคนในห่วงโซ่อุปทานได้ประโยชน์ คุณช่วยเล่าให้เราฟังเกี่ยวกับห่วงโซ่อุปทานนั้น ว่ามีใครอยู่บ้างครับ?

 

ไมค์: ขอบคุณครับทอม ในรูปแบบพื้นฐานที่สุด สิ่งที่ TD Beef พยายามทําคือทําเนื้อวัวที่ดีขึ้นโดยใช้เวลาที่รวดเร็วขึ้น ทุกอย่างเริ่มต้นด้วยการเลือกพันธุกรรม หลังจากนั้นก็ไปที่การผสมพันธุ์วัว – แต่นั่นไม่ได้แน่นอนเสมอไปว่าหลังจากไปสู่ขั้นตอนต่อไปในห่วงโซ่อุปทาน ผลที่ได้ในท้ายที่สุดจะเป็นเนื้อวัวคุณภาพดี เราทำงานร่วมกับพันธมิตรจํานวนมาก และทุกคนมีหน้าที่รับผิดชอบในการแสดงออกทางพันธุกรรมของน้ำเชื้อที่เราใช้อยู่ ตัวอย่างเช่น เราเริ่มต้นด้วยการทำงานกับเจ้าของฟาร์มในขั้นตอนการผสมพันธุ์วัว และเมื่อลูกวัวเกิดมาจะถูกย้ายไปสู่ฟาร์มลูกวัวซึ่งเป็นคู่ค้าของพวกเรา และเป็นที่เลี้ยงวัวทั้งหมดของ TD หลังจากนั้นส่งต่อไปที่ฟาร์มขุน (และ) จากฟาร์มขุน ไปยังผู้บรรจุสินค้า และในที่สุดก็จะถูกส่งไปยังจานอาหารของคุณ

 

ทอม: ในสื่อส่งเสริมการขายของคุณ คุณบอกว่าบริษัทของคุณผลิตวัวดําแบบ green solution บอกเราหน่อยได้ไหมครับว่าหมายความว่าอย่างไร

 

ไมค์ : ครับ มันสนุก แต่กําลังพัฒนาอยู่ในขณะนี้ ผมไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์ แต่ผมรักระบบการผลิต ผมเป็นคนในสายโคนม ดังนั้นระบบเป็นสิ่งที่ทําให้เรา (ในอุตสาหกรรมโคนม) ทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับสูง สิ่งที่ผมรู้คือ (นั่น) คาร์บอนเกิดขึ้นจากแม่วัวและการผลิตนม ดังนั้นลูกวัวสีดําที่ออกมา เราจึงพยายามทำให้เป็นกลางทางคาร์บอน ในบางกรณี สามารถบอกได้ว่าอาจเป็นคาร์บอนติดลบ หากผลิตจากฟาร์มที่มีเครื่องผลิตก๊าซชีวภาพที่ก๊าซมีเทนถูกนำไปใช้

เรารู้ว่าจากระดับนั้น - เราเห็นได้ชัดว่าเรากําลังลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของเราและมีการแลกเปลี่ยนบางอย่างที่ผู้คนสามารถมีส่วนร่วมได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้นก็คือความเร็วที่วัวของเราเปลี่ยนแปลงและแสดงสมรรถภาพให้เห็นเนื่องด้วยพันธุกรรมที่เราใช้ ตัวอย่างเช่น วัวของเรามีน้ำหนัก 159 กิโลกรัมได้เร็วกว่าวัวในพันธุกรรมคล้ายกันถึง 18 วัน ในปัจจุบันนี้วัวหนุ่มพันธุ์โฮลสไตน์ก็ไม่สามารถทำน้ำหนักได้ถึง  136 กก.ได้ในระยะเวลาเท่ากันกับที่วัวของ TD หนัก 159 กก.ได้ ดังนั้นคุณสามารถจินตนาการได้ว่า – สิ่งที่เรากําลังทำอยู่นั้น จากมุมมองของข้อมูลคือ จํานวนวันที่เราให้อาหารน้อยลง ระหว่างการให้อาหารวัวของ TD เมื่อเทียบกับการให้อาหารกับวัวโฮลสไตน์

 

ทอม: ไมค์ ผมดูวิดีโอโปรโมตที่มีลูกค้าพูดถึงความแข็งแกร่งของ วัวดำของ TD อะไรทำให้วัว TD แตกต่าง?

 

ไมค์: เมื่อ beef-on-dairy เกิดขึ้นครั้งแรก ข้อกำหนดเดียวคือวัวต้องมีหนังสีดํา นั่นเป็นเกณฑ์การคัดเลือกเพียงอย่างเดียว ตอนนี้หนังสีดําไม่ใช่สิ่งตัดสินประสิทธิภาพหรือมูลค่าในห่วงโซ่อุปทานอีกแล้ว และเนื่องจากเรามีความสามารถในการเลือกพันธุกรรมที่มีลักษณะเฉพาะที่เอื้อประโยชน์ต่อทุกคนตลอดห่วงโซ่อุปทาน จึงเป็นเรื่องง่ายสําหรับเราในการสร้างวัวที่มีลักษณะเหมือนกัน สําหรับประเด็นของคุณผู้ชายคนนั้น (ในวิดีโอส่งเสริมการขาย) วัวทั้งหมดของเรามีคุณสมบัติตรงตามข้อกําหนดที่ฟาร์มขุนและผู้จำหน่ายเนื้อวัวต้องการ ดังนั้นเมื่อลูกวัวเกิดขึ้นและเข้าไปอยู่ในฟาร์ม พวกเขาจะดูแตกต่างจากวัวสายพันธุ์ที่คล้ายกันอย่างเห็นได้ชัด

 

ทอม: การผสมวัวนมกําลังเติบโตในตลาดของอุตสาหกรรมวัวเนื้อ การผสมวัวนมคืออะไร และแนวคิดนี้เริ่มต้นอย่างไร? มันเข้าสู่โลกของวัวเนื้อได้อย่างไร?

 

ไมค์: ในปี 2015 น้ำเชื้อแยกเพศได้ออกสู่ตลาด ฟาร์มโคนมก็รับเอาเทคโนโลยีนั้นมาใช้ ทำให้พวกเขาสามารถสร้างวัวสาวได้มากเท่าที่พวกเขาต้องการ ดังนั้นจึงมีกลยุทธ์นี้ในโปรแกรมการผสมพันธุ์ของพวกเขา คือ การสร้างวัวสาวจากแม่วัวที่ดีเยี่ยม แต่จากนั้นคุณยังคงมีวัวเพศเมียที่เหลือที่ต้องทำให้ตั้งท้อง แต่มันไม่สมเหตุสมผลที่จะใช้น้ำเชื้อธรรมดาเพราะถ้าลูกเกิดเป็นตัวเมีย แน่นอนว่ามันจะเข้าไปในฝูงที่ให้นม ถ้าเป็นตัวผู้ วัวโฮลสไตน์ก็ไม่เหมาะกับการเป็นวัวเนื้อ ในความเป็นจริงราคามีความแตกต่างกันเกือบ $ 130–150 คนเลี้ยงโคนมจึงไม่จําเป็นต้องใช้เครื่องคิดเลขที่จะรู้ว่าเขาแค่เปลี่ยนประเภทของน้ำเชื้อและพวกเขาจะทําเงินได้มากขึ้น

 

ทอม: นี่เป็นการถือกําเนิดของ beef-on-dairy?

 

ไมค์: แน่นอนครับ ณ จุดนี้ ไม่มีกลยุทธ์ที่ซับซ้อนนัก เพราะเห็นชัดอยู่แล้วว่าสิ่งที่สร้างรายได้สําหรับธุรกิจโคนมก็คือน้ำนม แต่หลายคนก็ไม่จําเป็นต้องมุ่งเน้นไปที่สิ่งอื่นใดนอกจากหนังสีดํา

 

ทอม: นั่นทําลายกําแพงที่มีอยู่มานานเท่าที่เราจําได้ระหว่างวัวเนื้อและวัวนมหรือไม่ครับ?

 

ไมค์: ใช่ครับ มันเป็นการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ที่เหลือเชื่อในตลาด

 

ทอม: การผลิตแบบ beef-on-dairy ส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทานเนื้อวัวอย่างไร?

 

ไมค์: นั่นเป็นคําถามที่ยอดเยี่ยมมาก ผมดีใจที่คุณถาม มันไม่ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานเนื้อวัว เหตุผลก็คือเราไม่ได้สร้างวัวเนื้อมากกว่าจำนวนที่เคยเป็นมาก่อนหน้าเลย พวกเขาเพียงมีสีหนังที่แตกต่าง ตัวอย่างเช่นวัวโฮลสไตน์ตัวผู้ก็ถูกส่งไปขุนและนำไปทำเนื้อวัวมาโดยตลอด พวกมันเป็นพันธุ์ที่ยอดเยี่ยมเพราะเราสามารถคาดเดาได้ แต่พวกมันก็มีจุดด้อยกว่าพันธุ์ดั้งเดิม อย่างไรก็ตามตอนนี้ผู้เลี้ยงโคนมก็สามารถสร้างสัตว์แบบเดียวกันได้ แต่ (สามารถทําให้) เป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้นและเป็นมิตรกับ ESG มากขึ้นหากพวกเขาเลือกวัวของ TD

 

ทอม: ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาตลาดมีความไม่เสถียร ผันผวน และมีความไม่แน่นอนมากมายเกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หากคุณอยู่ในธุรกิจโคนม มันสมเหตุสมผลหรือไม่ที่จะมีแผน B เช่นการผสมพันธุ์วัวนมของคุณส่วนหนึ่งกับวัวเนื้อ เพื่อสร้างแหล่งรายได้ที่สอง?

 

ไมค์: รายได้หลายทางเป็นความคิดที่ดีเสมอครับ

 

ทอม: มันเป็นสิ่งที่ดีเสมอ

 

ไมค์: ผมคิดว่าคนเลี้ยงโคนมถูกจัดให้อยู่ในตำแหน่งเชิงกลยุทธ์กับหน่วยที่ยั่งยืนที่สุดในโลกในวันนี้ วัวตัวหนึ่งสามารถผลิตนมได้ประมาณ 11,400 กก. และเป็นซากหนักประมาณ 250 กก. และตอนนี้เราก็กําลังนำก๊าซมีเทนที่พวกมันสร้างขึ้นไปทำก๊าซหมุนเวียนที่สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานให้เครื่องบินไอพ่นหลายลำบินข้ามบ่อได้ สิ่งเหล่านี้มาจากวัวที่ผู้คนเริ่มต้นเพียงเพื่อใช้ผลิตนม

 

ทอม: นั่นคือความยั่งยืนในการทํางานใช่ไหม?

 

ไมค์: แน่นอน

 

ทอม: พันธุ์พ่อวัวเนื้ออะไรที่เป็นที่ต้องการในการผสมกับแม่วัวนมมากที่สุด และอะไรทําให้สายพันธุ์เหล่านั้นเป็นที่ต้องการมากที่สุดครับ?

 

ไมค์: อืม มันยังคงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ ดังนั้นผมจะบอกว่ามันยังไม่แน่นอน แต่ข้อมูลจะเริ่มชี้ให้เห็นว่าพันธุ์ผสมระหว่างแองกัส/โฮลสไตน์อาจเหมาะที่สุด แต่เราก็ใช้พันธุ์ ลิมูซิน ซิมแองกัส และชาร์โลเล่ส์ ด้วยเช่นกัน พันธุ์เหล่านี้มีจุดเด่นแตกต่างกัน แต่ตอนนี้เรายังคงพยายามรวบรวมข้อมูลทั้งหมดเพื่อให้สามารถอธิบายได้อย่างถูกต้องและเพื่อหาสิ่งที่ดีที่สุด

 

ทอม: มีข้อควรพิจารณาอะไรบ้างที่ควรได้รับการพัฒนา ก่อนที่เราจะเปิดตัวในการผลิต beef-on-dairy ตัวอย่างเช่น โรงงานพัฒนาพันธุกรรม

 

ไมค์: รายการสินค้า (inventory) คุณต้องรู้ว่าคุณต้องการสัตว์กี่ตัว กลับไปดูที่ตัวขับเคลื่อนหลัก นั่นคือการผลิตนม ผู้เลี้ยงโคนมจําเป็นต้องใส่ใจในรายละเอียด แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีโอกาสสําหรับพวกเขาในพื้นที่ของวัวเนื้อ ลําดับความสําคัญคือการระบุว่าวัวสาวแบบไหนและจํานวนเท่าไหร่ที่คุณต้องการผลิตขึ้นมา จากนั้นสัตว์ส่วนที่จะไม่ได้รับการผสมด้วยน้ำเชื้อแบบแยกเพศ อาจจะนำไปผสมกับกับวัวเนื้อของ TD หรือสายพันธุ์วัวเนื้ออื่นที่ต้องการได้

 

ทอม: ฟาร์มขุนและผู้จำหน่ายเนื้อวัว คาดหวังข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับพันธุศาสตร์หรือไม่?

 

ไมค์: คาดหวังครับ และนั่นคือปัญหาที่ TD Beef ได้แก้ไข ในปี 2015 เนื่องจากหนังสีดําเป็นเพียงเกณฑ์เดียวสัตว์เหล่านี้ทั้งหมดจะเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานไปจนถึงการเป็นเนื้อวัวในแพ็ค ผมได้คุยกับผู้ประกอบการโคขุนและแปรรูปจํานวนมากที่กล่าวว่า "เราชอบโฮลสไตน์มากกว่าสิ่งที่คุณส่งมาให้เรา" ผมบอกว่า "เดี๋ยวก่อน เรากําลังแก้ปัญหานี้" พวกเขาพูดว่า "คุณกําลังทําอะไรอยู่" ผมบอกว่า "เราจะขอให้พวกเขาใช้น้ำเชื้อของพันธุ์ที่เหมาะกับคุณ เราจะให้รางวัลแก่ผู้เลี้ยงโคนมโดยจ่ายในราคาพรีเมียมหากเขาทำได้ ถ้าคุณให้เวลาเรามากพอ เราจะเริ่มส่งมอบและแสดงให้เห็นว่าเราสามารถเปลี่ยนแปลงได้"

 

พูดถึงตอนนั้น มันไม่ง่ายเลยนะครับ แต่ตอนนี้เราอยู่ในจุดที่ผู้ประกอบการโคขุนและแปรรูป ซึ่งเดิมไม่สนใจแต่ตอนนี้กลับมาสนใจวัวแบบนี้อย่างไม่น่าเชื่อ แต่มีไดนามิคของตลาดบางอย่างที่เราต้องพิจารณาเช่นกัน ดังนั้นโดยพื้นฐานในตอนนี้คือ วัวพื้นเมืองหาได้ยาก ความแห้งแล้ง ต้นทุนอาหารสัตว์ (และ) การเข้าถึงอาหารสัตว์ แต่ผู้เลี้ยงโคนมสร้างสัตว์ประเภทนี้ทุกวันและพวกเขาให้เราบ่มเพาะ หาแหล่งที่มาและเก็บข้อมูลอื่น ๆ ที่เราต้องการ ดังนั้นในตอนนี้ผู้ประกอบการโคขุนและแปรรูปจึงสนใจในเรื่องนี้มาก ซึ่งต่างจากในอดีต

 

ทอม: มันน่าสนใจจริงๆ บางคนในอุตสาหกรรมเรียกร้องให้มีความโปร่งใสและความสม่ำเสมอมากขึ้น ซึ่งไปในทิศทางเดียวกับสิ่งที่คุณเพิ่งพูดถึง คุณเห็นด้วยหรือไม่? ถ้าเป็นเช่นนั้น TD Beef เสนอวิธีแก้ไขอย่างไรต่อปัญหานั้น?

 

ไมค์: ความโปร่งใสเป็นทางออกเดียว และนั่นคือวิธีที่เราจะทํา (ที่) TD Beef เราเปิดเผยมากๆ เราวางตัวให้เราดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส และพยายามที่จะร่วมมือกับทุกคนในห่วงโซ่อุปทาน ไม่ได้หมายความว่าคนอื่น ๆ ได้เข้าร่วมกับเราในระดับนั้นในตอนนี้ แต่เรากําลังพยายามทำอยู่ การเปลี่ยนแปลงกําลังเกิดขึ้น เราตระหนักดีว่าพวกเราจะดีขึ้นได้หากทำงานร่วมกัน

 

ผู้คนต้องการเรื่องราวเกี่ยวกับเนื้อวัวของพวกเขา นั่นเป็นเหตุผลที่ผมคิดคำว่า "ตั้งแต่การผสมจนถึงการบริโภค" (ระยะเวลา) ระหว่างสองจุดนั้นคือ 500 วัน  ในห่วงโซ่อุปทานนี้เราจะไม่มีปัญหาในการบอกคุณว่าสัตว์มาจากไหน เลี้ยงอย่างไร ให้อาหารอะไร ประสิทธิภาพของสัตว์ตอนขุนเป็นอย่างไร บางทีเราอาจไปถึงจุดที่มี QR code (และ) เมื่อคุณกินสเต็กคุณจะสามารถแสกนเพื่อดูเรื่องราวเกี่ยวกับ TD Beef ได้

 

ทอม: นั่นคงน่าสนใจ ผมสงสัย (เกี่ยวกับ) ชนิดของเทคโนโลยีอัจฉริยะที่เข้ามามีบทบาทในการทํางานของคุณและสิ่งที่คุณกําลังทํา (กับมัน)

 

ไมค์: มันเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้เราทุกคนทํางานได้ดีขึ้น โดยเฉพาะที่เรากําลังเริ่มทํางานกับบริษัทนอกสหราชอาณาจักรที่เรียกว่า Breedr ซีอีโอและผู้ก่อตั้งคือคุณเอียน วีล สิ่งที่เขาทําคือเขาช่วยให้เราเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นกับวัวด้วยการรวบรวมข้อมูล จากนั้น (Breedr) จะประเมินข้อมูลทั้งหมดนั้นแล้วสื่อสารกับทุกคนในห่วงโซ่การผลิต

 

สิ่งที่ผมหมายถึงคือทุกคนให้ความสําคัญกับประสิทธิภาพการผลิตอยู่เสมอ เพราะถ้าเริ่มกระบวนการด้วยประสิทธิภาพที่ไม่ดีแล้ว คุณรู้ว่าจะไม่ได้ประสิทธิภาพที่ดีในขั้นตอนสุดท้าย แต่เราสามารถแสดงให้เห็น (ว่า) วัวบางกลุ่มมีศักยภาพไปถึง prime (ประสิทธิภาพดีเยี่ยม) ได้ (และ) จากนั้น เราจะแยกวัวเหล่านั้นเพื่อขายให้เฉพาะกับคนที่ยินดีที่จะรับซื้อ แน่นอนว่า Prime คือเกรด - เกรดเฉพาะ มันไร้ขีดจํากัด จริงๆ ก่อนหน้านี้เราไม่ได้รวบรวมข้อมูลหรือแบ่งปันข้อมูลนั้นจริงๆ แต่ตอนนี้พวกเรารู้สึกตื่นเต้นมากที่จะได้เห็นขีดจํากัดที่สูงขึ้นไปอีกของมัน และเรากําลังจะสามารถพัฒนาห่วงโซ่อุปทานขึ้นไปเรื่อยๆ อย่างคล่องตัวมากขึ้นด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะนั้น

 

ทอม: ไมค์ จากประสบการณ์ของคุณและในมุมมองของคุณโอกาสที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในตลาดวัวนมผสมนี้คืออะไร?

 

ไมค์: หลังจากได้สัมผัสกับการประชุม Alltech ONE ครั้งแรกของผม สิ่งที่ผมจําได้เมื่อ ดร. (มาร์ค) ไลออนส์ และวิทยากรท่านหลังจากนั้นพูดก็คือ วิทยาศาสตร์ทั้งหมด (นั้น) ชี้ให้เห็นว่าเราสามารถตั้งเป้าที่จะทํากําไร (ได้มากขึ้น) และปกป้องโลกในเวลาเดียวกัน คุณต้องการวิทยาศาสตร์ แต่คุณ (ยัง) ต้องการระบบการผลิต ทั้งสองสิ่งมีพลังเท่าเทียมกัน แต่มีเอกลักษณ์แตกต่างกัน - และมีจุดประสงค์ของตัวเองที่จํากัด แต่เมื่อคุณอยู่วงการนี้และคุณสามารถนําวิทยาศาสตร์มาใช้ในระบบการผลิตได้ เช่น TD Beef มันเปิดโอกาสให้ทุกคนไม่เพียงแต่สร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น แต่ยังช่วยให้คุณดูแลสิ่งแวดล้อมในขณะเดียวกัน ย้อนกลับไปดูว่าวัวเหล่านี้เปลี่ยนแปลงและเพิ่มน้ำหนักได้เร็วแค่ไหน เพียงเพราะเราเริ่มต้นด้วยการเลือกน้ำเชื้อที่เหมาะสม แล้วให้มีการแสดงออกของยีนอย่างเต็มรูปแบบในฟาร์มปศุสัตว์ของเรา โดยยังรักษาสภาพแวดล้อมที่ดีด้วยโปรแกรมโภชนาการที่ยอดเยี่ยม

 

ทอม: มันเป็นวิทยาศาสตร์ใช่มั้ย?

 

ไมค์ : ครับ มันเป็นวิทยาศาสตร์

 

ทอม: และนี่คือไมค์ ดิ กรูท หุ้นส่วนผู้ก่อตั้งและผู้อํานวยการ TD Beef ขอบคุณครับไมค์

 

ไมค์: ขอบคุณมากครับ

Loading...