Skip to main content

วิถีใหม่สำหรับเกษตรอาหาร (The next normal for agri-food)

ผู้เข้าร่วมอภิปรายใช้หนึ่งคำเพื่ออธิบายสถานะของอุตสาหกรรมของพวกเขาในขณะนี้; แมคโดนัลด์กล่าวว่า "ความโกลาหล" เมื่อพูดถึงอุตสาหกรรมการผลิตนม, สปรองค์ เลือกคำว่า "ประวัติการณ์" สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อหมู, และวิลกินสัน ใช้คำว่า "น่าตกใจ" เมื่อพูดถึงตัวเลขในอุตสาหกรรมสัตว์ปีก

เราไม่สามารถพูดได้ว่ามีรูปแบบที่เป็นมาตรฐานแบบใดที่เราสามารถดำเนินการได้อีกต่อไปลินดา แมคโดนัลด์ (Lynda McDonald) ผู้จัดการโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์นมของ Tetra Laval ในแอฟริกากล่าวในการอภิปรายเรื่องอุตสาหกรรมนมในชุ่วงโควิด-19 ที่งาน Alltech ONE Virtual Experience

 แมคโดนัลด์ เป็นผู้อภิปรายคนแรกที่พูด ณ งานอภิปรายหัวข้อ "The Next Normal for Agri-Food" ซึ่งดำเนินการอภิปรายโดยศาสตราจารย์ เดเมียน แมคโลฟ์ลิน (Damien McLoughlin) ศาสตราจารย์ด้านการตลาดที่ University College Dublin (UCD) Michael Smurfit Graduate Business School

ศ.แมคโลฟ์ลิน ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่นการผลิตนม สุกรและสัตว์ปีกเพื่อมาร่วมอภิปรายเกี่ยวกับผลกระทบของ COVID-19 ต่อธุรกิจการเกษตรระดับโลกและผลกระทบในอนาคต ผู้เข้าร่วมการสนทนาเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมที่แตกต่างกัน ซึ่งได้แก่ ดร. กอร์ดอน สปรองค์ (Dr. Gordon Spronk), สัตวแพทย์โดยการฝึกอบรมและผู้ร่วมก่อตั้ง Pipestone Systemสำหรับการผลิตสุกรในสหรัฐอเมริกาและ ฟิลิป วิลคิลสัน (Philip Wilkinson) ผู้นำอาวุโสของธุรกิจสัตว์ปีกระดับโลกหลายแห่งและรองประธานสมาคมผู้แปรรูปและผู้ค้าสัตว์ปีกแห่งสหภาพยุโรป (AVEC)

 ผู้เข้าร่วมอภิปรายใช้หนึ่งคำเพื่ออธิบายสถานะของอุตสาหกรรมของพวกเขาในขณะนี้; แมคโดนัลด์กล่าวว่า "ความโกลาหล" เมื่อพูดถึงอุตสาหกรรมการผลิตนม, สปรองค์ เลือกคำว่า "ประวัติการณ์" สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อหมู, และวิลกินสัน ใช้คำว่า "น่าตกใจ" เมื่อพูดถึงตัวเลขในอุตสาหกรรมสัตว์ปีก

 

ประเด็นที่สำคัญจากการอภิปราย

1. มีความท้าทายที่คล้ายกันสำหรับผู้ผลิตในอุตสาหกรรมเกษตรอาหารเนื่องจาก COVID-19:

- การเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์ด้านอาหารและพฤติกรรมการบริโภค: ปริมาณการบริโภคอาหารนอกบ้านหายไปอย่างมีนัยสำคัญ

เมื่อร้านอาหารถูกปิดพร้อมกับผู้ให้บริการด้านอาหารอื่น ๆ เนื่องจากการเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ความต้องการลดลง” สปรองค์กล่าว ตามข้อมูลจากสปองค์ ร้านอาหารและธุรกิจบริการด้านอาหารคิดเป็นประมาณ 25% ของความต้องการในอุตสาหกรรมเนื้อหมูในสหรัฐอเมริกา

วิลคินสัน คาดการณ์ว่าสำหรับอุตสาหกรรมสัตว์ปีกในยุโรปเหนือ ตัวเลขร้านอาหารและธุรกิจบริการด้านอาหารน่าจะอยู่ที่ประมาณ 20%

แมคโดนัลด์ เล่าให้ฟังว่าร้านอาหารและบริการด้านอาหารมียอดขายลดลง 50% สำหรับผลิตภัณฑ์นม อย่างไรก็ตามที่น่าสังเกตอย่างยิ่งระหว่างการปิดตัวและการซื้อแบบตื่นตระหนก ทำให้ยอดขายผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้น 50–100%

มันเป็นการเปลี่ยนแปลงที่วุ่นวาย ในแง่ของการเปลี่ยนจากการขายให้ร้านอาหารและผู้ให้บริการด้านอาหารไปเป็นร้านค้าปลีก” เธอกล่าว

- ความสอดคล้องกันใน Supply chain: การปิดร้านอาหารและการปิดโรงงานผลิตอาหารเนื่องจากการแทรกแซงของรัฐบาล ได้สร้างปัญหาเรื่องบรรจุภัณฑ์นมและปัญหาเรื่องน้ำหนักในสุกร  

สำหรับการผลิตนม ขนาดแพ็คและประเภทของผู้บริโภคนมกำลังเปลี่ยนแปลงไปทั่วโลก นั่นทำให้ผู้ผลิตและแปรรูปนมไม่สามารถบรรจุนมตามขนาดแพ็คที่ตลาดต้องการได้ทันเวลา ในการผลิตหมูโครงสร้างที่ตายตัวไม่สามารถจัดการกับน้ำหนักหรือปริมาณของสุกร ณ ระดับหนึ่งได้ และนั่นอาจกลายเป็นปัญหาด้านความปลอดภัย ปัญหาเหล่านี้ทำให้เกิดสถานการณ์ในสหรัฐฯที่ผู้ผลิตทิ้งนมหรือกำจัดสุกร แต่ในขณะเดียวกันอาจมีปัญหาผลิตภัณฑ์นมและเนื้อสัตว์ขาดตลาดในร้านขายของชำ

สิ่งนี้เกิดขึ้นเนื่องจากระบบไม่สามารถรองรับความต้องการในแง่ของการเข้าถึงตลาด สปรองค์ เรียกสิ่งนี้ว่า“ สถานการณ์ที่ผิดปกติ ” ในขณะที่ แมคโดนัลด์ กล่าวว่านี่เป็นสถานการณ์ที่ “น่าเสียใจอย่างมาก” โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อยังมีหลายคนที่ต้องเผชิญกับภาวะขาดแคลนอาหาร

- การเก็บรักษา: วิลกินสันกล่าวว่ามีเนื้อไก่มากกว่าครึ่งล้านตันในตู้แช่แข็งทั่วยุโรปในขณะนี้ และแมคโดนัลด์ให้ความเห็นว่าจำนวนผลิตภัณฑ์นมก็น่าจะพอๆกัน เธอบอกว่าจะมีนมอีกราว 500,000 ตันที่จะถูกเก็บแช่แข็งในปลายเดือนพฤษภาคม ซึ่งสถานการณ์นี้คล้ายกับสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำครั้งสุดท้าย จริงๆ แล้วผลิตภัณฑ์เหล่านี้ควรจะถูกจำหน่ายไปที่ร้านอาหารและผู้บริการด้านอาหารต่างๆ หากสถานการณ์ปกติ

เมื่อเราออกจากการปลดล็อคและกลับสู่บรรทัดฐานใหม่ ยังคงต้องใช้เวลาพอสมควรสำหรับการระบายผลิตภัณฑ์ปริมาณมากขนาดนั้นเข้าสู่ตลาด” วิลคินสัน กล่าว “ปัญหานี้ต้องใช้เวลา 18 เดือน ไม่ใช่ 18 สัปดาห์เพื่อให้คลี่คลาย ปํญหาที่ต้องเผชิญคือแรงกดดันด้านราคาเป็นเวลา 18 เดือน”

- การส่งออก: จากมุมมองอุปสงค์และอุปทาน แมคโดนัลด์ชี้ให้เห็นความเสี่ยง 3 ด้านในด้านอุปทาน ดังนี้:

1. เกษตรกรผลิตน้อยลง: นี่อาจเป็นผลมาจากการสูญเสียการเข้าถึงตลาด สูญเสียเครดิตในการซื้ออาหารสัตว์ และปัญหาแรงงานหรือปัญหาการการย้ายถิ่นฐานของแรงงาน

2. รัฐบาลออกมาตรการที่ส่งผลกระทบ: รัฐบาลบางแห่งแบนการผลิตเพื่อการส่งออก

3. การกักตุนสินค้า: เมื่อพิจารณาผ่านมุมมองของการส่งออกส่ง ความเสี่ยงนี้จะมีผลกระทบต่อการซื้อขายทั่วโลก

อ้างอิงจากอุตสาหกรรมสุกรในสหรัฐอเมริกา สปรองค์อธิบายว่า 30% ของผลิตภัณฑ์นั้นผลิตเพื่อส่งออก เขาจึงตั้งคำถามว่า    “เราจำเป็นต้องพึ่งพาการส่งออกหรือไม่” เขาแย้งว่า ในขณะที่โลกของโลกาภิวัตน์บอกว่าเราควรมีการส่งออก แต่ปัจจัยเรื่องภูมิศาสตร์การเมือง ก็เป็นสิ่งที่ผู้ผลิตต้องนำมาพิจารณาด้วย

วิลคินสันอ้างว่าในยุโรปมีบางธุรกิจและบางประเทศที่มีนโยบายการส่งออกเพื่อการบริโภคนอกบ้าน และนั่นทำให้เกิดปัญหา

 

2. ช่วงเวลาแห่งความจริง

ผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนเสนอมุมมองของพวกเขาเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนรู้ได้จากในช่วงเวลาของ COVID-19 ข้อมูลเชิงลึกของพวกเขาคือ:

- วิกฤตทำให้ปัญหาที่มีอยู่แล้วชัดเจนขึ้น: “หากมีความเปราะบางในระบบ หรือรอยแตก หรือช่องโหว่ ที่เคยมีมาก่อนหน้านี้ วิกฤตจะทำให้เราเห็นปัญหาเหล่านั้นชัดเจนขึ้น” แมคโดนัลด์กล่าว “ระบบในกระบวนการผลิตนมหลายแห่ง มีการจัดการที่ดีจึงยังคงทำงานได้ดีแม้ในช่วงวิกฤต”

- นี่เป็นโอกาสที่จะได้เรียนรู้จุดแข็งและจุดอ่อนของคุณ: “ไมค์ไทสัน เคยพูดว่า 'ทุกคนมีแผน จนถึงเวลาคุณถูกต่อยเข้าที่ปาก” สปรองค์กล่าว “ผมแนะนำให้ผู้นำในด้านการเกษตรและในด้านอุตสาหกรรมด้านอาหารทุกท่าน ให้บริหารงานอย่างระมัดระวังทุกวัน อย่าปล่อยให้วิกฤติไร้ประโยชน์ จงเรียนรู้ว่าอะไรคือจุดอ่อนและจุดแข็งของทีมของคุณและพัฒนาจุดนั้น”

- เมื่อคุณมุ่งมั่นด้านเดียวมากเกินไป อาจจะยากขึ้นที่จะปรับตัว: “ผู้ที่มุ่งมั่นในด้านใดด้านหนึ่งเช่น การผลิตเพื่อขายให้แก่บริษัทที่ตอบสนองการบริโภคนอกบ้านเพียงอย่างเดียว อาจจะพลาดโอกาสจะการบริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างมากจากการค้าปลีก” วิลคินสันกล่าว “ดังนั้นหากเราพบว่าสิ่งนี้จะเป็นบรรทัดฐานใหม่ ประเทศที่ผลิตสินค้าในปริมาณมากอาจต้องมาทบทวนว่าตลาดของพวกเขาอยู่ที่ไหน หรือพิจารณาอย่างจริงจังเพื่อหาวิธีใหม่ๆ ในการใช้ประโยชน์จากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้คุ้มค่าที่สุด”

 

3. อุปสรรคย่อมมาพร้อมโอกาส

- ความต้องการโดยรวมของผลิตภัณฑ์นมเพิ่มสูงขึ้น: แมคโดนัลด์กล่าวว่า จากการที่มีผู้คนที่ยากจนกำลังขยับขึ้นมาสู่ชนชั้นกลางมากขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า หนึ่งในสิ่งที่พวกเขาจะใช้จ่ายมากขึ้นคือ การซื้อโปรตีนคุณภาพดีขึ้น เช่น นม เนื้อหมูและเนื้อวัว

- การเติบโตที่แข็งแกร่งในภาคสัตว์ปีก: “ทุกปัญหาคือโอกาส” วิลคินสันกล่าว เขายืนยันว่าผู้ผลิตสัตว์ปีกสามารถตอบสนองกับสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากรอบการผลิตที่สั้นและสัตว์ปีกยังเป็นโปรตีนที่ผู้คนบริโภคเป็นจำนวนมาก “เราผลิตโปรตีนที่สามารถนำไปทำอาหารได้หลากหลาย” เขากล่าว “โปรตีนจากเนื้อสัตว์ปีกเป็นสิ่งที่น่าทึ่งในแง่ของการใช้น้ำ มันไม่ต้องการพื้นที่เยอะ รอบการผลิตสั้นเพียง 6-7 สัปดาห์ ไม่ต้องสงสัยเลยว่ามันจะเป็นอาหารสำหรับคนจำนวน 9-10 พันล้านคนในอนาคต”

- ความต้องการอาหารจากท้องถิ่น: ในออสเตรเลียมีการผลักดันอย่างมากสำหรับอาหารท้องถิ่นที่ใส่ใจกับสวัสดิภาพของสัตวว์ อีกทั้งยังตรวจสอบย้อนกลับได้และมีความปลอดภัย” ออสเตรเลียเริ่มมีการผ่อนคลายการล็อคดาวน์และเริ่มมีการบริโภคนอกบ้านมากขึ้น” วิลคินสันกล่าว แมคโดนัลด์ยังกล่าวด้วยว่า ชาวมุสลิมทั่วโลกต้องการผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้นเพราะพวกเขาอยู่ในเดือนรอมฎอน ซึ่งหมายความว่ามีนมในท้องถิ่นจำนวนมากเข้าสู่อุปทานนมนอกระบบ

- ผู้คนเริ่มกลับไปทำงานที่โรงงานและสถานที่บริการด้านอาหาร: ถึงแม้ว่าจะต้องใช้เวลาในการกลับมาผลิตได้เต็มประสิทธิภาพ แต่โรงงานทั้งหมดของสปรองค์ ก็กลับมาเปิดเพื่อผลิตอีกครั้ง ร้านอาหารที่ถูกปิดตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคมก็เริ่มทยอยเปิดอีกครั้งเช่นกัน

- การตรวสอบและการแทรกแซงที่เหมาะสมมากขึ้น: จากพื้นหลังด้านสัตวแพทย์สปองค์ เขาชี้ให้เห็นว่าสัตวแพทย์ด้านสุกรนั้นต้องมีจัดการกับไวรัสและจำเป็นต้องมีการทดสอบ (test) ตลอดเวลา” ควรต้องมีการนำการทดสอบไปใช้กับชุมชนโดยทั่วไปด้วย” เขากล่าว “เราต้องเข้าใจว่าใครมีภูมิคุ้มกัน และไวรัสอยู่ที่ไหน จากนั้นคุณจะสามารถกำหนดมาตรการที่เหมาะสมและปล่อยให้คนดำเนินชีวิตต่อไปได้”

- การจัดการธุรกิจที่แตกต่างไป: ในประเทศจีนโรงงานผลิตเกือบทุกแห่งมีหอพักสำหรับพนักงาน ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่พนักงานจะอยู่ที่นั่นเป็นระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งอาจจะนานหลายสัปดาห์ “ในกรณีนี้ เมื่อประกาศการระบาดของ COVID-19 ในประเทศจีน ฟาร์มบางแห่งมีพนักงานอยู่ที่นั่น ตั้งแต่เดือนมกราคมก่อนปีใหม่จีน” สปรองค์กล่าว

 

4. อนาคตสดใสสำหรับการเกษตรอาหาร

แม้ว่าห่วงโซ่การผลิตอาหารจะประสบปัญหาในภาวะ COVID-19 แต่ยังมีความหวังในอนาคต

ไม่มีอะไรสิ้นหวังเลย” แมคโดนัลด์ยืนยัน “แต่มันต้องใช้ความเป็นผู้นำที่แข็งแกร่ง วิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นที่แรงกล้า ความมุ่งมั่นที่จะจัดการในระยะยาวอย่างเป็นระบบ”

ซึ่งหมายความว่าจำเป็นต้องมีการทำงานร่วมกันระดับโลกเพื่อแก้ปัญหาที่ซับซ้อนด้วยวิธีการที่เป็นระบบ

หากเราเพียงแค่ให้ความช่วยเหลือด้านอาหาร เมื่อประเทศเหล่านี้ (ในแอฟริกา) กำลังหิวโหย เราอาจเสี่ยงต่อการแทรกแซงการพัฒนาการเกษตรในท้องถิ่น ซึ่งสร้างผลกระทบเชิงลบในระยะยาว และเราต้องให้ความสำคัญกับผลลัพธ์มากขึ้น” แมคโดนัลด์กล่าว 

จากมุมมองของภาคธุรกิจสัตว์ปีก วิลกินสันเชื่อว่าอนาคตจะสดใสสำหรับการผลิตไก่ เมื่อผ่านช่วงเวลานี้ไป ภาวะในอุตสาหกรรมสัตว์ปีกจะต้องดีและแข็งแกร่งขึ้น

เราเชื่อมั่นว่า สัตว์ปีกจะเป็นอาหารให้แก่ผู้คนกว่า 10,000 ล้านคน” เขากล่าว “มันสามารถเกิดขึ้นได้ และเราสามารถทำให้มันเกิดขึ้น ธุรกิจที่มีศักยภาพจะมีโอกาสที่จะเติบโต อาจมีการควบรวมกิจการของธุรกิจต่างๆในอุตสาหกรรมเกิดขึ้น จำนวนผู้เล่นอาจน้อยลง แต่ขนาดใหญ่ของธุรกิจใหญ่ขึ้น นี่จะเป็นช่วงเวลาที่ผู้เล่นที่มีศักยภาพจริงๆ มีโอกาสในการเติบโตโดยเฉพาะในตลาดเกิดใหม่”

ช่วงท้ายของการอภิปราย แมคโลฟ์เลน กล่าวขอบคุณผู้เข้าอภิปรายสำหรับข้อมูลเชิงลึกระดับโลกที่พวกเขานำมาบอกเล่า

จากความโกลาหลและความเสียหายที่ COVID-19 สร้างขึ้นในห่วงโซ่การผลิตอาหารทั่วโลก เรามองเห็นความหวังในอุตสาหกรรมนี้ เรามีความยืดหยุ่น และมีความแข็งแกร่ง” เขาสรุป “ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างของสหภาพธุรกิจของยุโรป, ลักษณะของอุตสาหกรรมสุกรในสหรัฐ, และโครงสร้างและความยืดหยุ่นของธุรกิจสัตว์ปีกทั่วโลก อุปสรรคที่เราเผชิญนี้ก็จะผ่านพ้นไป และยังมีโอกาสอีกมากสำหรับธุรกิจที่ถูกนำพาไปในเส้นทางที่เหมาะสม”

 

ดูการอภิปรายเต็มรูปแบบใน Alltech ONE Virtual Experience  เข้าถึงเนื้อหาได้ตลอดเวลาจนถึงเดือนพฤษภาคม 2564 พร้อมเพิ่มเนื้อหาใหม่ทุกเดือน เยี่ยมชม one.alltech.com สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

Loading...