Skip to main content

สิ่งที่ต้องรู้สำหรับการเลี้ยงสัตว์ปีกโดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ

หลายปีมานี้ การผลิตสัตว์ปีกโดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะเป็นหัวข้อที่อยู่ในกระแส หลายประเทศสั่งห้ามไม่ให้ใช้ยาปฏิชีวนะเป็นสารเร่งการเจริญเติบโตในอาหารสัตว์ เนื่องด้วยความกังวลใจเกี่ยวกับการดื้อยาต้านจุลชีพ ในขณะที่บางประเทศ ยาปฏิชีวนะซึ่งมีความสำคัญทางการแพทย์สำหรับมนุษย์ได้ถูกยกเลิกไม่ให้ใช้หรือลดการใช้ลงในกระบวนการผลิตสัตว์ปีก ทั้งโดยสมัครใจและด้วยข้อกำหนด ในขณะที่บางแห่งยังมีการใช้ยาปฏิชีวนะอยู่ หากสัตวแพทย์มีความเห็นว่าจำเป็นต้องใช้กับสัตว์ที่ป่วย

จากการการใช้ยาปฏิชีวนะที่ลดลง หลายประเทศจึงตัดสินใจอนุญาตให้ใช้ยาต้านบิดกลุ่มสารเคมีและไอโอโนฟอร์ เพื่อช่วยจัดการกับปัญหาโรคที่เกิดจากปรสิตที่สร้างความเสียหายมากและพบได้บ่อย ซึ่งก็คือ โรคบิด (Coccidiosis) นั่นเอง

ร้านอาหารบางร้านและผู้ค้าปลีกบางแห่งเลือกที่จะใช้สัตว์ปีกที่ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะเท่านั้น (เช่น เลี้ยงโดยปราศจากยาปฏิชีวนะ,ไม่มียาปฏิชีวนะในกระบวนการผลิตเป็นต้น)

ไม่ว่าจะไม่ใช่ยาปฏิชีวนะเลยหรือลดปริมาณการใช้ลง ผู้ผลิตที่ผลิตสัตว์ปีกด้วยระบบนี้มักมีเป้าหมายหลักคือ:

1. ต้องมั่นใจว่าทางเดินอาหารของสัตว์มีสุขภาพที่ดีเพื่อทำให้สัตว์มีการเจริญเติบโตที่เหมาะสมที่สุด ในขณะเดียวกันสุขภาพทางเดินอาหารที่ดีจะช่วยป้องกันโรคในสัตว์ปีกได้ เช่น โรคบิดในไก่ (Poultry coccidiosis) โรคลำไส้อักเสบแบบเนื้อตาย (Necrotic Enteritis) เป็นต้น

2. ผลิตอาหารที่ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพให้แก่ประชากรของโลกที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

 

ยาปฏิชีวนะถูกใช้อย่างไรในการผลิตสัตว์ปีกทั่วโลก?

 

3 โปรแกรมหลักที่เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะในการผลิตสัตว์ปีกทั่วโลกคือ:

 

1. ปราศจากยาปฏิชีวนะหรือ เลี้ยงโดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ”: สัตว์ปีกที่ไม่เคยได้รับยาปฏิชีวนะเลย (รวมถึงยาต้านบิดกลุ่มไอโอโนฟอร์) ผลผลิตจากระบบการเลี้ยงแบบนี้ จะแตกต่างจากระบบการผลิตอื่นๆ อย่างชัดเจน

 

2. ลดการใช้ยาปฏิชีวนะ: อนุญาตให้ใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่ได้ใช้ในมนุษย์ (เช่น ยาต้านบิดกลุ่มสารเคมีและไอโอโนฟอร์) ซึ่งไม่รวมยาปฏิชีวนะที่มีความสำคัญทางการแพทย์ การผลิตแบบนี้อาจสร้างความแตกต่างให้แก่ผลิตภัณฑ์ได้ในบางประเทศ ขณะที่ในบางประเทศอาจเป็นการผลิตแบบมาตรฐาน

 

3. ใช้ยาปฏิชีวนะเป็นสารเร่งโต (AGP): ในบางประเทศอาจยังมีการใช้ยาปฏิชีวนะในปริมาณน้อยเพื่อช่วยเสริมการเจริญเติบโต อย่างไรก็ตาม หากผู้ผลิตในประเทศเหล่านั้นกำลังส่งออกไปยังตลาดที่มีนโยบายให้ลดการใช้ยาปฏิชีวนะ หรือ “ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ” ในการผลิต ผู้ผลิตเหล่านั้นก็จะต้องปรับการผลิตให้ตรงกับข้อกำหนด

ทำไมการผลิตสัตว์ปีกแบบไม่ใช้ยาปฏิชีวนะจึงเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ

 

ผู้บริโภคกังวลเกี่ยวกับการดื้อยาปฏิชีวนะ:

หลายทศวรรษหลังการค้นพบเพนิซิลินโดย เซอร์ อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง ในปีค.ศ. 1928 ยาต้านจุลชีพได้ถูกใช้อย่างแพร่หลายในการผลิตสัตว์ปีกในช่วงปี 1940s เพื่อใช้จัดการกับโรคจากปรสิตและการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด และยังถูกใช้เพื่อเร่งการเจริญเติบโตและปรับปรุงประสิทธิภาพอีกด้วย

ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าการดื้อยาปฏิชีวนะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แต่การใช้ยาปฏิชีวนะในมนุษย์และสัตว์อย่างไม่ถูกต้องจะเป็นตัวเร่งกระบวนการนั้น

การดื้อยาต้านจุลชีพอาจส่งผลกระทบต่อทั้งสัตว์และมนุษย์ การดื้อยาต้านจุลชีพ (ยาต้านเชื้อบิดและยาปฏิชีวนะ) อาจถูกพบได้ในฝูงสัตว์ปีกและสร้างปัญหาในเวลาที่ต้องจัดการกับอาการเจ็บป่วยของสัตว์ในฝูง อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อถกเถียงกันว่าระหว่างการดื้อยาปฏิชีวนะในการเกษตรหรือสัตว์เลี้ยงที่ส่งผลอย่างรุนแรงต่อการดื้อยาปฏิชีวนะในมนุษย์มากกว่ากัน

เป็นที่ทราบกันว่า ยาสำหรับมนุษย์เป็นสาเหตุหลักของการติดเชื้อจากการดื้อยาปฏิชีวนะในมนุษย์ อย่างไรก็ตาม การผลิตสัตว์ปีกแบบ “ปราศจากยาปฏิชีวนะในประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศก็กลายเป็นที่นิยมมากขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคมองว่าสัตว์ปีกที่ถูกผลิตโดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะนั้นมีคุณภาพที่ดีกว่าสัตว์ปีกที่ถูกเลี้ยงแบบเดิม ถึงแม้ว่าสัตว์นั้นจะถูกเลี้ยงในระบบที่ใช้ปฏิชีวนะที่น้อยลงก็ตาม

 

ข้อบังคับล่าสุดเพื่อความปลอดภัยของมนุษย์:

จากมุมมองเรื่องข้อบังคับ ในหลายประเทศทั่วโลกได้มีการออกนโยบายเกี่ยวกับใช้ยาปฏิชีวนะเป็นสารเร่งโต (AGP) เพื่อรับมือกับข้อกังวลเรื่องการดื้อยาต้านจุลชีพ

มีความกังวลเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะในอาหารสัตว์เพิ่มมากขึ้น หลายประเทศจึงมีการออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะ

 

บางประเทศมีการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดโดยรวมเรื่องข้อปฏิบัติสำหรับการผลิตสัตว์ปีก เช่น ในหลายประเทศมีการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับ ในขณะที่บางประเทศ อุตสาหกรรมสมัครใจเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติด้วยตัวเอง ผู้ค้าปลีกและร้านอาหารบางเครือทั่วโลกได้เลือกผลิตหรือจัดซื้อเนื้อสัตว์ที่ถูกเลี้ยงด้วยยาปฏิชีวนะที่ลดลงหรือไม่ใช้เลย โดยภาพรวมแล้ว นี่คือตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมสัตว์ปีกกำลังดำเนินไปในทิศทางที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค

 

อะไรคือความท้าทายสำหรับการผลิตสัตว์ปีกแบบลดการใช้ยาปฏิชีวนะหรือปราศจากยาปฏิชีวนะ?

ปัญหาจากการเปลี่ยนการผลิตเป็นแบบไม่ใช้ยาปฏิชีวนะที่พบได้บ่อยคือ สุขภาพลำไส้แย่ รวมไปถึง ภูมิคุ้มกันและการเจริญเติบโตลดลง

 

1. สุขภาพลำไส้

ข้อกังวลข้อหนึ่งของผู้ผลิตที่ไม่ใช้ AGP คือ สัตว์อาจมีปัญหาลำไส้ได้ง่ายขึ้น สุขภาพลำไส้ที่ดีไม่ได้มีความสำคัญเพียงแค่สัตว์จะไม่เป็นโรค แต่ยังเกี่ยวข้องกับการผลิตสัตว์ปีกให้เต็มศักยภาพตามสายพันธุ์อย่างยั่งยืนอีกด้วย

ภาพด้านล่างนี้แสดงให้เห็นลักษณะลำไส้ที่มีสุขภาพดีซึ่งสามารถดูดซึมสารอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ภาพบน) เปรียบเทียบกับลำไส้ที่สุขภาพไม่ดี (สองภาพล่าง)

 

2. ภูมิคุ้มกันและการเจริญเติบโตของสัตว์

อีกหนึ่งความท้าทายเมื่อเปลี่ยนจากการผลิตแบบเดิมไปเป็นการผลิตแบบไร้ยาปฏิชีวนะคือโรคในสัตว์ปีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเกี่ยวกับลำไส้ เช่น โรคบิด และ โรคลำไส้อักเสบแบบเนื้อตาย (NE) ซึ่งเกิดจากเชื้อในสกุล Eimeria และClostridium perfringens ตามลำดับ นอกจากนี้การรับเชื้อก็อาจเกิดจากการกิน ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาการติดเชื้อแบคทีเรียแบบทุติยภูมิที่เข้าโจมตีในขณะที่ระบบภูมิคุ้มกันกำลังอ่อนแอ

นอกจากเชื้อโรคแล้ว สุขภาพโดยรวมของสัตว์ การทำงานของภูมิคุ้มกัน และการเจริญเติบโต ก็อาจได้รับผลกระทบจากสิ่งกระตุ้นอื่น ๆ ได้ เช่น อาหาร น้ำ สภาพแวดล้อม และพฤติกรรม สิ่งกระตุ้นเหล่านี้ ด้วยตัวมันเองอย่างเดียวก็อาจก่อให้เกิดปัญหาได้ แต่โดยมาก ปัญหาหลายอย่างถูกพัฒนามาจากสิ่งกระตุ้นเล็กๆ หลายๆ สิ่ง โดยเฉพาะหากสิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้นในขณะที่กำลังเผชิญปัญหาเรื่องโรคไม่ว่าจะในระดับ ต่ำ ปานกลาง หรือสูง อยู่ด้วย

ภูมิคุ้มกันของสัตว์อาจไม่เพียงพอที่จะจัดการปัญหาเรื่องโรคในระดับที่แตกต่างกัน ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นสิ่งที่ควรทำมากกว่าการแก้ปัญหา การป้องกันนั้นต้องเป็นวิธีแบบองค์รวมซึ่งดูแลทั้งเรื่องอาหาร น้ำ สิ่งแวดล้อม การจัดการ รวมไปถึงการพิจารณาใช้โปรแกรมสารเสริมอาหาร โดยทั่วไปสำหรับระบบการผลิตที่ลดการใช้ยาปฏิชีวนะหรือปราศจากยาปฏิชีวนะนั้น จะมีการเลือกใช้สารเสริมที่ไม่มียาปฏิชีวนะผสมลงในอาหารสัตว์หรือน้ำเพื่อทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ

 

ตัวอย่างทางเลือกทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ: สารเสริมอาหารสัตว์ที่ไม่มียาปฏิชีวนะ

 

  • โพรไบโอติกส์ (“การป้อนเชื้อโดยตรง”, “ผลิตภัณฑ์ที่มีจุลินทรีย์มีชีวิต”): สารเสริมจุลินทรีย์มีชีวิตที่มีประโยชน์ต่อสัตว์ ด้วยการเข้าไปช่วยเพิ่มความสมดุลของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร
  • เอนไซม์: สารที่ผลิตขึ้นโดยจุลินทรีย์มีชีวิตที่ช่วยเปลี่ยนส่วนประกอบในอาหารสัตว์ที่ย่อยยาก (เช่น น้ำตาล, ไฟเบอร์, โปรตีน) ให้อยู่ในรูปแบบที่ถูกดูดซึมได้ง่ายขึ้นเพื่อให้สัตว์นำไปใช้ประโยชน์ได้
  • พรีไบโอติกส์: ส่วนผสมหมักซึ่งถูกคัดสรรมาเพื่อช่วยเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบ และ/หรือ กิจกรรมของจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพของสัตว์ (ISAPP, 2008). 
  • ยีสต์: มียีสต์สายพันธุ์ต่างๆ กว่า 1,500 สายพันธุ์ แต่มีเพียงไม่กี่สายพันธุ์ที่ถูกนำมาใช้ในสารเสริมอาหารสัตว์ Saccharomyces cerevisiae สามารถนำมาใช้ได้ในหลายรูปแบบ เช่น ยีสต์มีชีวิตทั้งตัว, ผนังเซลล์ด้านนอกของยีสต์, ผนังเซลล์ด้านในของยีสต์, และสารสกัดจากยีสต์
  • Mannan Rich Fraction (MRF): สารสกัดรุ่นที่สองที่ได้มาจากการวิเคราะห์โภชนพันธุศาสตร์ของแมนแนนโอลิโกแซคคาไรด์จากยีสต์สายพันธุ์ Saccharomyces cerevisiae งานวิจัยแสดงให้เห็นว่า MRF สามารถช่วยเสริมการป้องกันของภูมิคุ้มกัน, สุขภาพของจุลินทรีย์ในลำไส้, และการทำงานและการพัฒนาของลำไส้
  • กรดอินทรีย์: กรดที่มีคุณสมบัติเป็นกรดอ่อนๆ ซึ่งไม่แตกตัวอย่างสมบูรณ์ในน้ำ ตัวอย่างของกรดอินทรีย์ เช่น กรดซิตริก, กรดไขมันสายสั้น (เช่น กรดแอซิติก, กรดบิวทิริก) และกรดไขมันสายกลาง (เช่น กรดลอริก, กรดคาโพรอิก) กรดอินทรีย์แต่ละชนิดมีคุณสมบัติเฉพาะซึ่งสามารถนำไปใช้ได้หลากหลายวัตถุประสงค์ในการผลิตสัตว์ปีก
  • กรดอนินทรีย์: กรดแร่ที่ไม่มีอะตอมคาร์บอนและสลายตัวอย่างสมบูรณ์ในน้ำ (เช่น กรดฟอสฟอริก) บ่อยครั้งจะถูกนำไปใช้ปรับค่า pH ของน้ำ หรือช่วยเพิ่มระดับความเป็นกรดอย่างรวดเร็ว
  • ไฟโตไบโอติกส์: ส่วนประกอบของพืชและสารสกัดจากสมุนไพรและเครื่องเทศที่มีประโยชน์มากมาย เช่น การส่งเสริมการต้านจุลชีพและเชื้อบิด รวมถึงช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน
  • โพสไบโอติกส์: สารในกระบวนการสร้างและสลาย (เมตาบอไลต์) ไม่มีชีวิตที่ละลายน้ำได้ ซึ่งถูกผลิตได้จากกระบวนการเมตาบอลิซึมของแบคทีเรียหรือโพรไบโอติกส์ ที่สามารถช่วยลด pH ในลำไส้, ยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อโรคฉวยโอกาสและช่วยส่งเสริมสุขภาพให้แก่โฮสต์ (Aguilar-Toalá et al., 2018)

 

ผู้ผลิตจะจัดการกับปัญหาในการผลิตสัตว์ปีกที่ลดการใช้ยาปฏิชีวนะหรือปราศจากยาปฏิชีวนะได้อย่างไร?

 

ลดการใช้ยาปฏิชีวนะด้วยแนวคิด Seed, Feed, Weed 

 

จินตนาการถึงการหว่านเมล็ดพืชที่คุณต้องการปลูก ใส่ปุ๋ยเพื่อให้พืชเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ และกำจัดวัชพืชที่อาจขัดขวางพืชของคุณไม่ให้เจริญเติบโตอย่างเต็มศักยภาพ

การนำโปรแกรม Seed, Feed, Weed (SFW) ของออลเทค ไปใช้กับการผลิตสัตว์ปีก จะช่วยลดการใช้ยาปฏิชีวนะได้โดย:

 

  • Seed: หว่านจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เข้าสู่ลำไส้เพื่อพัฒนาสมรรถภาพของสัตว์ปีกตั้งแต่อายุน้อย เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องหว่านแบคทีเรียที่ถูกต้องให้แก่ระบบทางเดินอาหารของสัตว์ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้หลังฟักไข่

 

  • Feed: สร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เพื่อความได้เปรียบของแบคทีเรียดีที่ทนต่อสภาพแวดล้อมที่เป็นกรด ซึ่งต่างจากจุลชีพก่อโรค เมื่อชุมชนจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์และระบบนิเวศในลําไส้ถูกสร้างขึ้น วิลไลจะแข็งแรง ยิ่งสัตว์มีวิลไลสุขภาพดีเท่าไหร่ สารอาหารก็จะถูกดูดซึมอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นซึ่งนําไปสู่ Feed Conversion Rate ที่ดีขึ้น

 

  • Weed: กำจัดแบคทีเรียที่ไม่ดีออกไปโดยการเลือกกำจัดแบบเจาะจง ในลำไส้อาจมีจุลชีพอันตรายที่ก่อให้เกิดโรคอยู่ ซึ่งอาจสร้างความเสียหายให้แก่วิลไลได้ จึงจำเป็นที่จะต้องกำจัดจุลชีพเหล่านั้นออกไปก่อนที่จะยึดติดกับผนังลำไส้และเพิ่มจำนวนจนมากพอที่จะทำให้เกิดโรคกับสัตว์

 

ในขณะที่ยาปฏิชีวนะยังคงมีบทบาทสำคัญในสถานการณ์การระบาดของโรค การใช้โปรแกรมการจัดการสุขภาพลำไส้อย่าง Seed, Feed, Weed (SFW) ก็ได้แสดงให้เห็นว่าช่วยลดความจำเป็นที่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ พร้อมไปกับช่วยสร้างเสริมสมรรถภาพของสัตว์ปีกมาแล้วมากมาย ในท้ายที่สุดแล้ว โปรแกรม SFW จะช่วยทำให้ผู้ผลิตมั่นใจว่าจะสามารถผลิตสัตว์ปีกได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีผลกำไร และยั่งยืนมากยิ่งขึ้น

อย่างเช่นที่ผู้ผลิตบางรายได้แสดงให้เห็นแล้วว่า การให้ความสำคัญต่อสุขภาพลำไส้ของสัตว์ปีกคือพื้นฐานของสมรรถภาพของสัตว์และการสร้างผลกำไรของการผลิต

เมื่อทำพร้อมไปกับระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ, การจัดการน้ำ สัตว์ และฟาร์มที่มีประสิทธิภาพแล้ว โปรแกรม SFW ของออลเทคจะสามารถช่วยให้ผู้ผลิตก้าวไปอีกขั้นในเส้นทางของสมรรถภาพที่ดีขึ้นและการใช้ยาปฏิชีวนะที่ลดลง

 

Loading...