Skip to main content

ผลการศึกษาเผย แร่ธาตุอินทรีย์ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของเปลือกไข่และกระดูกอกของไก่

การผลิตไข่ด้วยการเลี้ยงไก่แบบไม่ขังกรง: แนวโน้มและผลกระทบต่อสวัสดิภาพของไก่ไข่

ระบบการเลี้ยงแบบไม่ขังกรงเป็นแนวโน้มที่มีอิทธิพลมากที่สุดสําหรับผู้ผลิตไข่ไก่ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา หรือเรียกอีกอย่างว่าระบบ "ทางเลือก" ซึ่งคิดเป็นมากกว่า 60% ของไข่ที่ผลิตในสหภาพยุโรป (กราฟ 1) และคณะกรรมาธิการยุโรปกําลังประเมินความเป็นไปได้ในการสั่งห้ามการเลี้ยงระบบกรงซึ่งจะเริ่มในปี 2027 สัดส่วนของไก่ที่เลี้ยงแบบไม่ขังกรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันอยู่ที่ 39% มากกว่าในปี 2018 (18%) ถึงสองเท่า การสํารวจล่าสุดได้เปิดเผยว่าผู้ผลิตไข่รายใหญ่ของสหรัฐฯเชื่อว่า 66% ของไก่ของประเทศจะถูกเลี้ยงแบบปราศจากกรงในปี 2030 ในทํานองเดียวกันในระดับโลกผู้ผลิตไข่รายใหญ่ ผู้ค้าปลีก บริษัทผู้บริการอาหาร และเครือข่ายโรงแรมหลายแห่ง ได้มุ่งมั่นที่จะปฏิเสธการผลิตไข่ระบบขังกรงจากห่วงโซ่อุปทานของพวกเขา

กราฟที่ 1: สัดส่วนของไก่ไข่ที่อยู่ในแต่ละระบบ (ระบบกรงตับ (enriched cage), โรงเรือน (barn), ปล่อยอิสระ (free-range), หรือแบบอินทรีย์ (organic)) สหภาพยุโรป ที่มา: คณะกรรมาธิการยุโรป 

โรงเรือนแบบไม่ขังกรงช่วยให้ไก่ไข่มีพื้นที่และอุปกรณ์มากขึ้น (วัสดุปูรองพื้น, พื้นสแลท, รังไข่ ฯลฯ ) ซึ่งช่วยให้มีความคล่องตัวมากขึ้นและเพิ่มการแสดงออกของพฤติกรรมตามธรรมชาติของไก่ อย่างไรก็ตามแม้แต่การทําฟาร์มแบบไม่ใช้กรงก็อาจพบปัญหาด้านสวัสดิภาพของสัตว์บางอย่างได้ เช่น วัสดุรองพื้นเปียกชื้น คุณภาพอากาศ สุขภาพลําไส้ โรคปรสิตและโรคติดเชื้อหลายชนิด การจิกขน และการแตกหักของกระดูกหน้าอก ซึ่งผู้ผลิตไข่ต้องหาทางแก้ไข

 

กระดูกหน้าอกแตกหัก

ความเสียหายของกระดูกหน้าอก (ภาพที่ 1) เป็นปัญหาสวัสดิภาพที่สําคัญของการผลิตไก่ไข่สมัยใหม่ ระบบที่อยู่อาศัยแบบไม่ขังกรงมีความเกี่ยวข้องกับความชุกและความรุนแรงของการแตกหักของกระดูกหน้าอกไก่ (KBF) ที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ และนักวิจัยส่วนใหญ่เชื่อว่า KBF เกิดจากการบาดเจ็บจากการชนกับอุปกรณ์ในโรงเรือน อย่างไรก็ตาม การศึกษาล่าสุดรายงานว่าการชนไม่ใช่สาเหตุหลักของความเสียหายของกระดูกหน้าอกไก่ และได้เสนอว่า KBF พัฒนาจากด้านในของกระดูกหน้าอกโดยกลไกที่ยังไม่เป็นที่เข้าใจ

 

ภาพที่ 1: ความเสียหายของกระดูกหน้าอก จากปกติ (ซ้าย) ถึงรุนแรงที่สุด (ขวา) ที่มา: Wilkins et al., (2554)

 

Total Replacement Technology™ (TRT): ผลต่อคุณภาพไข่ การขับถ่ายแร่ธาตุ และสุขภาพกระดูก

อาหารสัตว์แบบดั้งเดิมได้ถูกเสริมด้วยแร่ธาตุอนินทรีย์ (ITMs) ในระดับสูง ITM เหล่านั้นได้ทำปฏิกิริยาในเชิงลบต่อส่วนประกอบอาหารที่สําคัญ เช่น แร่ธาตุ วิตามิน สารต้านอนุมูลอิสระ และเอนไซม์อื่น ๆ ซึ่งจะลดคุณค่าทางโภชนาการของอาหารสัตว์ นอกจากนี้การใช้ ITM ในระดับสูงยังทำให้มีการขับแร่ธาตุจํานวนมากออกมากับมูลสัตว์ เพื่อลดการขับถ่ายแร่ธาตุและบรรเทาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง มีความจําเป็นที่จะต้องลดระดับการเสริมแร่ธาตุโดยที่ไม่ทำให้สูญเสียสุขภาพและประสิทธิภาพของสัตว์

บริษัทด้านพันธุกรรมมีความก้าวหน้าที่โดดเด่นในการเลือกไก่ไข่ที่ยืนกรงได้นานขึ้นและมีคุณภาพเปลือกไข่ที่ดีขึ้น มาตรฐานการผลิตในขณะนี้คือ ยืนได้ถึงอายุ 100 สัปดาห์ และไก่อาจผลิตไข่ได้มากกว่า 500 ฟอง อย่างไรก็ตามในหลายประเทศไก่จะถูกปลดเมื่ออายุประมาณ 80 สัปดาห์ เนื่องจากปัจจัยที่ไม่ใช่พันธุกรรมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของฝูงและคุณภาพของไข่ ในบรรดาปัจจัยเหล่านั้น ข้อบกพร่องของเปลือกไข่เป็นเหตุผลหลักในการปลดฝูงไก่

ทางแก้ที่ได้ผลในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไข่และคุณภาพเปลือกไข่ในขณะที่ลดการขับถ่ายแร่ธาตุทิ้งสามารถทําได้โดยการแทนที่ ITM ด้วยแร่ธาตุที่จับตัวในรูปอินทรีย์ซึ่งใช้ในปริมาณที่ต่ำกว่า Qiu et al. (2020) ประสบความสําเร็จในการลดความเข้มข้นของ Zn (-44%), Mn (-53%), Cu (-58%) และ Fe (-61%) ในมูลสัตว์ ด้วยการแทนที่ ITM ด้วย ไบโอเพล็กซ์® โปรตีเนส Zn, Mn, Cu และ Fe ในปริมาณการใช้ที่ต่ำกว่า (เพียงหนึ่งในสามของระดับ ITM) การศึกษาเดียวกันนี้ยังแสดงให้เห็นว่าเปอร์เซ็นต์ของไข่ที่ถูกคัดทิ้งลดลงอย่างมีนัยสําคัญ (เปลือกอ่อน เปลือกแตก ไข่ผิดรูป และข้อบกพร่องอื่น ๆ)

 

ภาพที่ 2: Total Replacement Technology (TRT) 

เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้มีการศึกษาในไก่ไข่สีนํ้าตาลในฟาร์มที่ไม่ใช้กรงมากกว่าห้าแห่งเพื่อตรวจสอบผลของการแทนที่ ITM ด้วยแร่ธาตุอินทรีย์ (OTMs) ต่อความแข็งแรงของเปลือกไข่ การขับถ่ายแร่ธาตุ กระดูกหน้าอก และลักษณะกระดูกหน้าแข้ง*

กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองได้รับอาหารที่มีคุณสมบัติเหมือนกัน ยกเว้น Zn, Cu, Mn, Fe และ Se ไก่กลุ่มควบคุมได้รับอาหารที่เสริมด้วย ITM ในระดับทั่วไปเท่านั้น อาหารของกลุ่มทดลองถูกเสริมด้วย OTM เท่านั้น โดยใช้ Total Replacement Technology™ (TRT)  ITM ถูกแทนที่ด้วย ไบโอเพล็กซ์® โปรตีเนส สำหรับ Zn, Mn, Cu และ Fe ที่ประมาณ 40% ของระดับ ITM ที่ใช้ในอาหารควบคุม และแหล่ง Se อนินทรีย์ ถูกแทนที่ด้วยซีลีเนียมยีสต์อินทรีย์ (Sel-Plex® ของ Alltech)

แม้จะมีการเสริมแร่ธาตุในอาหารลดลงแต่ความแข็งแรงของเปลือกไข่ก็ดีขึ้นอย่างมีนัยสําคัญในไก่กลุ่มทดลอง (TRT) ในระหว่างการทดลอง (0.05) ในขณะที่ปริมาณแร่ธาตุ Zn, Mn, Cu, Ca, K และ Na ในมูลก็ลดลงอย่างมีนัยสําคัญ (0.05, ตารางที่ 1) ผลลัพธ์เหล่านี้ยืนยันเพิ่มเติมว่า TRT™ ช่วยลดการขับถ่ายแร่ธาตุในอุจจาระของไก่ไข่ได้อย่างมีนัยสําคัญ เนื่องจากมีการดูดซึม Bioplex proteinates ที่ดีขึ้น การขับถ่ายแร่ธาตุ Ca, K และ Na ที่ลดลง น่าจะเป็นผลมาจากการมีปฏิสัมพันธ์ที่เป็นปฏิปักษ์ลดลงเมื่อนำITM ออกจากอาหารจึงทําให้การดูดซึมในลําไส้ดีขึ้น

ตารางที่ 1: ปริมาณแร่ธาตุในมูลสัตว์

 

ความแข็งแรงต่อการแตกหักของกระดูกแข้ง ปริมาณของ Ca และ P ไม่ได้รับผลกระทบจากการทดลอง(กราฟ 2) เปอร์เซ็นต์แคลเซียมและฟอสฟอรัสในเถ้าในกระดูกอกมีมากขึ้นในไก่กลุ่ม TRT ในขณะที่เปอร์เซ็นต์เถ้าและความแข็งแรงในการแตกหักของกระดูกอกลดลง (p˂0.05, กราฟ 3) อย่างไรก็ตาม ไก่กลุ่ม TRT มีคะแนนความเสียหายของกระดูกอกต่ำในช่วง caudal (p˂0.05, ตารางที่ 2) ส่วนกลาง และ cranial ของกระดูกอกน้อยกว่ากลุ่มควบคุม ซึ่งหมายความว่า TRT มีเปอร์เซ็นต์ของไก่ที่มีกระดูกอกเสียหายที่ตํ่ากว่า (กระดูกหักและ/หรือผิดรูป)

 

กราฟที่ 2: Tibia chemical and mechanical traits

 

ตารางที่ 2: คะแนนความเสียหายของกระดูกหน้าอก

 

กราฟที่ 3: Keel bone chemical and mechanical traits

คะแนนความเสียหายของกระดูกหน้าอกที่ตํ่ากว่าในกลุ่ม TRT มีความสัมพันธ์กับการสะสมของแร่ธาตุ (mineralization) ที่ลดลง กระบวนการรักษา KBF เกิดขึ้นพร้อมไปกับการก่อตัวของ fracture callus ซึ่งพบปริมาณแร่ธาตุที่มากขึ้น จํานวนการแตกหักที่สูงขึ้นส่งผลให้เกิด callus มากขึ้น ซึ่งสามารถอธิบายผลการศึกษานี้ได้

การค้นพบว่าความเสียหายของกระดูกอกมีมากขึ้นในกลุ่มที่มีค่า breaking strength ของกระดูกอกมากขึ้นบ่งชี้ว่าปัจจัยทางโครงสร้างกระดูกอื่น ๆ ที่ยังไม่สามารถระบุได้ มีบทบาทในการพัฒนาความเสียหายของกระดูกหน้าอก สิ่งนี้สอดคล้องกับการวิจัยล่าสุดเกี่ยวกับ KBF (Thøfner et al., 2563)

การค้นพบใหม่เหล่านี้แสดงให้เห็นว่า TRT สามารถเพิ่มความแข็งแรงของเปลือกไข่และลดการขับถ่ายแร่ธาตุ ในขณะที่รักษาความแข็งแรงของกระดูกแข้งและลดความเสียหายของกระดูกอกของไก่ไข่

 

*ถูกนําเสนอในงาน XIXth European Symposium เกี่ยวกับคุณภาพของไข่และผลิตภัณฑ์ไข่, คราคูฟ (โปแลนด์), กันยายน 2023 (Estevinho, J., Walker, H., Taylor-Pickard, J. Total Replacement Technology™ (TRT) improves eggshell strength and keel bone health, while reducing mineral excretion.

ข้อมูลอ้างอิงตามคําขอ:  joel.estevinho@alltech.com

Loading...