Skip to main content

ความสำคัญของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสมัยใหม่ต่อความมั่นคงทางอาหาร

 

การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในยุคปัจจุบันกำลังเปลี่ยนแปลงและปรับไปตามความเหมาะสมอย่างรวดเร็ว ถึงแม้ว่าภาคส่วนนี้จะยังถือว่าอยู่ในช่วงเริ่มตั้งไข่เมื่อเทียบกับเกษตรกรรมด้านอื่นๆ แต่นี่คือโอกาสอันดีที่จะได้ปรับตัวอย่างรวดเร็วในยามจำเป็น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศบีบบังคับให้อุตสาหกรรมอาหารทั่วโลกหาทางที่จะพัฒนาอย่างยั่งยืนมากขึ้น และอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเองก็ใช้เวลามาแล้วหลายปีในการรณรงค์เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อชีวิตที่ยืนยาวและยั่งยืนสำหรับคนรุ่นหลัง

เราต้องมองให้ไกลกว่าขอบเขตที่คุ้นเคย จึงจะมั่นใจได้ว่าสิ่งที่เราทำอยู่เป็นการปกป้องมหาสมุทรของเราและบรรดาสายพันธุ์สัตว์น้ำทั้งหลายที่อาศัยอยู่ในนั้นจริงๆ และในขณะเดียวกันนั้น เราก็ต้องสร้างความมั่นคงทางอาหารให้แก่คนกว่า 3 พันล้านคนที่พึ่งพาอาหารทะเลในการดำรงชีวิตและการจ้างงาน รวมถึงส่งเสริมบทบาทของอาหารทะเลในการยุติความหิวโหยและแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการด้วย

1. การปกป้องมหาสมุทรของเรา

ในปี 2016 สถาบัน National Academy of Science สหรัฐอเมริกา ได้คาดการณ์ไว้ว่า ประมาณ 50% ของผลผลิตน่าจะมีความยั่งยืนภายในปี 2050 ซึ่งในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ด้วยความก้าวหน้าของอุปกรณ์การจับปลาและเทคโนโลยี จึงทำให้มีการพัฒนาขึ้นมากพอสมควรในด้านขีดจำกัดการบริหารจัดการด้านประมง โควตาการจับสัตว์น้ำแต่ละสายพันธุ์ และจำนวนสัตว์พลอยได้ที่ลดน้อยลง แม้แต่ NGO อย่าง Marine Stewardship Council ก็เป็นองค์กรหนึ่งที่ได้พยายามพัฒนาสถานการณ์ดังกล่าวนี้มาตลอดอย่างไม่หยุดหย่อน ส่วนทั่วโลกก็ได้มีการดำเนินงานอนุรักษ์ที่ยอดเยี่ยมเพื่อให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการประมงมีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น

การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่ามากขึ้นในแง่ของการบริหารจัดการอาหารสัตว์น้ำ พลังงาน และน้ำ อีกทั้งเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงในร่มและบนบกเองก็ช่วยลดการใช้น้ำและการปล่อยก๊าซด้วยเช่นกัน โดยภายในปี 2030 ปลาที่ใช้ในการบริโภคกว่า 62% จะมาจากอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (FAO) ทั้งนี้ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ยั่งยืนเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหา และจะเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้คนรุ่นหลังสามารถเข้าถึงโปรตีนทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพและยั่งยืน รวมถึงโอกาสในการจ้างงานอีกด้วย

นี่คือสิ่งที่พวกเราทุกคนจะได้ร่วมมีบทบาทในการปกป้องมหาสมุทรไปด้วยกัน เพราะเรามีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ เราทุกคนมีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดังนั้น เราจึงต้องร่วมมือกันหากเราต้องการเปลี่ยนแนวปฏิบัติในปัจจุบันให้เป็นไปในแบบที่ต้องการ

เราจะสนับสนุนเรื่องนี้อย่างไรได้บ้าง

  • เราสามารถให้การสนับสนุนด้วยการอุดหนุนบริษัท ร้านค้า และร้านอาหารที่ใช้ปลาและอาหารทะเลจากแหล่งที่มาที่ยั่งยืน
  • ทำการค้นคว้าข้อมูลเพื่อความมั่นใจว่าตัวเลือกของเราเป็นตัวเลือกที่ยั่งยืนที่สุดในการช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

 

2. อัตราส่วน Fish in fish out (FIFO)

การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงในส่วนของโภชนาการอย่างมีนัยสำคัญในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โดยอาจยังมีการใช้ส่วนประกอบจากทะเลในอาหารสัตว์น้ำอยู่บ้าง แต่ส่วนใหญ่ไม่ใช้ทรัพยากรจากทะเลแล้วในขณะที่ยังคงรักษาคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น กรดไขมันโอเมกา 3 และน้ำมันประเภทอื่นๆ ไว้ได้ จากวิวัฒนาการด้านโภชนาการทำให้อัตราส่วน FIFO ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดย FIFO ระดับสากลสำหรับอุตสาหกรรมของเรามีค่าอยู่ที่ 0.27 หมายความว่า เราต้องใช้ปลาที่จับจากธรรมชาติ 270 กรัม จึงจะได้ผลผลิตปลาเพาะเลี้ยงน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ตัวเลขข้างต้นนี้คำนวณได้ด้วยการนำน้ำหนักปลาที่จับมาเพื่อผลิตอาหารสัตว์น้ำ มาหารด้วยน้ำหนักของปลาที่เพาะเลี้ยงด้วยอาหารดังกล่าว แต่สำหรับผลิตภัณฑ์ Coppens จาก Alltech แล้ว มีอัตราส่วน FIFO ในปี 2020 อยู่ที่ 0.10% เท่านั้น และและปลาป่นที่นำมาใช้ ผลิตจากส่วนที่เหลือจากการตัดแต่งแปรรูปและ/หรือจากแหล่งที่ได้รับการรับรอง 100%

 

3. ความมั่นคงทางอาหาร

ในปี 2021 FAO ได้กล่าวถึงความสำคัญของอาหารทะเลว่าจะช่วยยุติความหิวโหยและแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการได้ อีกทั้งปลายังเป็นสิ่งจำเป็นต่อความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการในหลากหลายพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ทั่วโลกอีกด้วย คือ หากเราเลิกบริโภคปลาโดยสมบูรณ์ อาจเป็นการทำลายชุมชนชนบทบางแห่งที่เลี้ยงชีพด้วยการจับปลาเป็นอาชีพและได้รับโปรตีนจากปลาเป็นหลักเลยทีเดียว

เราจึงควรปฏิบัติและส่งเสริมให้มีการจับปลาอย่างยั่งยืน เพราะปลาจะเพิ่มจำนวนกลับมาเป็นปกติได้หากมีการบริหารจัดการอย่างเอาใจใส่ในระยะยาว ซึ่งหนึ่งในความท้าทายด้านเกษตรกรรมอันยิ่งใหญ่ที่สุดที่เราเคยประสบมาก็คือ การผลิตอาหารให้เพียงพอต่อประชากรที่ทวีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ควบคู่ไปกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมให้อุดมสมบูรณ์และยั่งยืนเพื่อคนรุ่นต่อไปในอนาคต เพราะจำนวนประชากรโลกกำลังเพิ่มมากขึ้นแบบยกกำลัง เราจึงไม่สามารถผลิตโปรตีนที่ไม่ยั่งยืนได้อีกต่อไป เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด เพราะเป็นเรื่องที่ทั้งอุตสาหกรรมเกษตรกรรมและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตระหนักดีอยู่แล้ว จึงได้มีการสร้างนวัตกรรมและการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมา รวมทั้งลงทุนลงแรงทำวิจัยอย่างยาวนานหลายต่อหลายปีเพื่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมน้อยที่สุด ด้วยเหตุนี้ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืนจึงมิใช่สิ่งที่สร้างปัญหา แต่กลับเป็นส่วนหนึ่งของวิธีแก้ปัญหาในเรื่องนี้ต่างหาก อ้างอิงจากสถิติตัวเลขที่ว่าภายในปี 2030 ปลาที่ใช้ในการบริโภคกว่า 62% จะมาจากอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (FAO) เรื่องนี้จึงเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้คนรุ่นหลังสามารถเข้าถึงโปรตีนทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพและยั่งยืน รวมถึงโอกาสในการจ้างงานอีกด้วย

ส่วนในฐานะอุตสาหกรรม เราได้ทำการรณรงค์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้านที่เป็นความท้าทายสูงสุดในอุตสาหกรรมนี้มาอย่างต่อเนื่องหลายปีแล้ว และจะเดินหน้าทำต่อไปเรื่อยๆ ตอนนี้เป็นหน้าที่ของเราแล้วที่จะให้ความรู้แก่ตัวเองและชุมชนของเราให้เลือกตัวเลือกอาหารที่มีความยั่งยืนที่สุด เพราะเราต้องช่วยกันร่วมแรงร่วมใจในการเปลี่ยนแปลงนี้จึงจะสามารถสร้างผลลัพธ์ให้เกิดขึ้นได้จริ

Loading...