Skip to main content

การจัดการแอมโมเนียในการเพาะเลี้ยงปลาส่งผลดีต่อผลผลิตหรือไม่?

การจัดการคุณภาพน้ำเป็นหนึ่งในการจัดการที่สำคัญที่สุดในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

การจัดการคุณภาพน้ำเป็นหนึ่งในการจัดการที่สำคัญที่สุดในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ยิ่งคุณภาพน้ำอยู่ในระดับที่เหมาะสมมากเท่าไหร่ ประสิทธิภาพการเจริญเติบโตและการผลิตของสัตว์ก็ยิ่งดีขึ้นเท่านั้น การตรวจวัดและบันทึกค่าชี้วัดคุณภาพน้ำเป็นสิ่งสำคัญที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอเพื่อจะสามารถให้เกษตรกรแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง พารามิเตอร์ที่ใช้ชี้วัดคุณภาพน้ำของแต่ละฟาร์มนั้นขึ้นอยู่กับระบบการเพาะเลี้ยงและความไวต่อตัวชี้วัดคุณภาพน้ำของสัตว์น้ำที่เพาะเลี้ยง และเมื่อกล่าวถึงคุณภาพน้ำ ความเข้มข้นของแอมโมเนียถือว่ามีผลโดยตรงต่อคุณภาพน้ำโดยเฉพาะในสัตว์น้ำที่มีการเลี้ยงด้วยอาหารโปรตีนสูง พารามิเตอร์ที่ใช้ชี้วัดคุณภาพน้ำหลายตัวจะสามารถแสดงให้เห็นความเป็นพิษจากแอมโมเนียได้ การควบคุมแอมโมเนียในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากและควรมีการตรวจวัดและบันทึกค่าแอมโมเนียอย่างสม่ำเสมอ

ค่าที่ชี้วัดคุณภาพน้ำในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยทั่วไปมีดังต่อไปนี้:

  • ออกซิเจนที่ละลายน้ำ (dissolved oxygen; DO)
  • ค่าพีเอช (pH)
  • อุณหภูมิ
  • ค่าแอมโมเนียรวม (total ammonia nitrogen; TAN)
  • ค่าความเค็มของน้ำ (salinity)

 

ผลของแอมโมเนียต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

ในบรรดาค่าที่ชี้วัดคุณภาพน้ำทั้งหมดนั้น แอมโมเนียเป็นหนึ่งในค่าที่ต้องคอยเฝ้าระวังเนื่องจากสามารถทำให้สัตว์น้ำเกิดความเครียดและความเสียหายต่อเหงือกและเนื้อเยื่ออื่นๆ ได้ แอมโมเนียเป็นของเสียหลักของสัตว์น้ำซึ่งเกิดจากการย่อยสลายของอาหารและวัตถุอินทรีย์อื่นๆ ที่ถูกขับออกมาจากสัตว์ลงสู่น้ำ แอมโมเนียสามารถเกิดขึ้นได้ 2 รูปแบบ คือ แอมโมเนียในรูปแบบที่ไม่มีไอออน (UIA) (NH3+) และแอมโมเนียในรูปแบบที่มีไอออน (NH4) ซึ่งแอมโมเนียในรูปแบบที่ไม่มีไอออนมีความเป็นพิษต่อสัตว์น้ำทุกชนิด ซึ่งความเป็นพิษนี้จะเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิและค่า pH ของน้ำเพิ่มขึ้น (ตารางที่ 1) โดยค่า pH ของน้ำจะมีผลต่อความเป็นพิษของแอมโมเนียมากกว่าอุณหภูมิของน้ำ ดังนั้นจึงมักมีการตรวจวัดค่า pH ของน้ำพร้อมกับปริมาณแอมโมเนียรวม (total ammonia nitrogen; TAN) เพื่อประเมินความเสี่ยงของการเกิดพิษจากแอมโมเนียต่อสัตว์น้ำ

 

ค่าแอมโมเนียเป็นค่าที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาในระหว่างวันและตลอดช่วงระยะการเลี้ยง แม้ว่าจะไม่ค่อยพบรายงานการตายของสัตว์น้ำที่เกิดจากค่าแอมโมเนียที่สูง แต่ก็ไม่สามารถละเลยค่านี้ได้เนื่องจากอาจทำให้เกิดผลเสียกับสัตว์น้ำเป็นอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่น:

  • ความอยากอาหารลดลง
  • ติดเชื้อแบคทีเรียได้ง่ายขึ้น
  • อัตราการเจริญเติบโตลดลง
  • อัตราแลกเนื้อ (FCR) แย่

ปริมาณของแอมโมเนียที่ปลอดภัยในการสัมผัสระยะยาวอยู่ที่ประมาณ 0.015 – 0.045 สำหรับสัตว์น้ำในเขตหนาวเย็น และ  0.05 – 0.015 สำหรับสัตว์น้ำในเขตอบอุ่นรวมถึงกุ้งด้วย ดังนั้นปริมาณแอมโมเนียรวมต้องถูกทำให้อยู่ในระดับต่ำตลอดช่วงการเลี้ยงเพื่อรักษาประสิทธิภาพการผลิตให้เหมาะสม

ตารางที่ 1 : ค่าความเข้มข้น LC50


(บลอยด์ 2561, รายงานเกี่ยวกับค่า LC50 ของแอมโมเนีย (ค่าความเข้มข้นของแอมโมเนียในน้ำที่ทำให้สัตว์ทดลองครึ่งหนึ่งตายลง)

 

การจัดการแอมโมเนียในการเลี้ยงสัตว์น้ำ

การใช้ชุดทดสอบคุณภาพน้ำเป็นแนวทางปฏิบัติมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับสําหรับการวัดปริมาณแอมโมเนียรวมในระดับฟาร์ม กระบวนการตรวจวัดสามารถทำได้สัปดาห์ละครั้ง อย่างไรก็ตามมีความเข้าใจผิดที่พบบ่อยในการควบคุมแอมโมเนีย และอาจต้องให้ความใส่ใจกับแนวทางการจัดการมากขึ้น ในทางปฏิบัติการวัดแอมโมเนียสัปดาห์ละครั้งก็น่าจะเพียงพอ แต่โปรดจําไว้ว่าในสภาวะที่มีชีวมวลสูง (ความหนาแน่นของสัตว์น้ำสูง) หรือหากอยู่ในระยะเร่งโตหรือใกล้ช่วงจับขายที่มีอัตราการให้อาหารสูง จะมีความเป็นไปได้ที่ปริมาณไนโตรเจนในบ่อเพาะเลี้ยงจะสูงมากขึ้นด้วย สาเหตุจากจากอาหารที่สัตว์ไม่ได้กินและ/ หรือมูลของสัตว์ที่เพิ่มขึ้นนั้นเอง แนะนําให้มีการการตรวจวัดปริมาณแอมโมเนียรวมสองครั้งต่อสัปดาห์ในช่วงสุดท้ายของการเลี้ยงหรือใกล้ช่วงจับขาย เพื่อให้แน่ใจว่าปริมาณแอมโมเนียรวมอยู่ในช่วงที่เหมาะสมและสามารถจัดการอาหารให้เหมาะสมตามสถานการณ์ได้ หากในระหว่างรอบการเลี้ยง ปริมาณแพลงก์ตอนในบ่อเลี้ยงไม่เสถียร ทําให้ค่า pH ในน้ำมีความผันผวนสูง ควรมีการตรวจวัดค่าแอมโมเนียรวม เพื่อตรวจสอบระดับแอมโมเนียในรูปแบบที่ไม่มีไอออน (UIA)  UIA จะเพิ่มขึ้นพร้อมกับค่า pH ในน้ำ จึงจําเป็นต้องทําการทดสอบปริมาณแอมโมเนียรวมพร้อมกับการทดสอบค่า pH เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยําที่สุด

 

เราสามารถแก้ไขปัญหาค่าปริมาณแอมโมเนียรวมสูงได้หลายวิธี  ได้แก่:

  • การเปลี่ยนถ่ายน้ำ มักเป็นตัวเลือกที่นิยมทำหากมีน้ำที่สะอาดและผ่านการฆ่าเชื้อมาแล้วอย่างเพียงพอ แต่การทำเช่นนี้ทุกวันก็ไม่ใช่วิธีที่ยั่งยืนและอาจทำให้มีความเสี่ยงในการสัมผัสกับเชื้อก่อโรคที่มาจากฟาร์มใกล้เคียงได้มากขึ้น
  • มีความเชื่อว่าการเติมอากาศในบ่อเลี้ยงจะช่วยการลดปริมาณแอมโมเนียในน้ำ โดยการเร่งกระบวนการการเคลื่อนที่ของแอมโมเนียจากน้ำสู่อากาศ แต่พบว่ามีงานวิจัยบางงานที่แสดงให้เห็นว่าการเติมอากาศในบ่อที่มีการเลี้ยงที่หนาแน่นกลับทำให้ปริมาณแอมโมเนียเพิ่มขึ้น
  • ลดอัตราการให้อาหาร
  • การใช้โพรไบโอติกส์เป็นประจำสามารถช่วยได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อระดับแอมโมเนียสูงมากๆ โพรไบโอติกอาจจะไม่สามารถลดระดับแอมโมเนียลงได้อย่างทันท่วงที
  • ใช้ซีโอไลท์ (แนะนำให้ใช้กับน้ำจืดเท่านั้น)

 

เราจะลดระดับแอมโมเนียในน้ำได้อย่างไร

ในธรรมชาติ ต้นยัคคา (Yucca Schidigera) ที่เจริญเติบโตในทะเลทราย (รูปที่ 1) มีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่สามารถจับกับแอมโมเนียในน้ำได้ ทำให้ช่วยลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่ง De-Odorase® (ดี-โอโดเรส®) เป็นผลิตภัณฑ์ที่สกัดจากต้นยัคคาที่ใช้เสริมในอาหารสัตว์เพื่อลดกลิ่นมูลและระดับแอมโมเนียซึ่งส่งผลดีต่อทั้งระบบทางเดินหายใจของสัตว์น้ำ สิ่งแวดล้อม รวมถึงตัวผู้เลี้ยงเองอีกด้วย

 

รูปที่ 1 : ต้นยัคคาที่บริษัทออลเทคในเมืองเซอร์ดาน ประเทศเม็กซิโก

De-Odorase® สามารถใส่ลงในน้ำได้โดยตรงเพื่อลดปริมาณแอมโมเนียได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ส่งผลเสียต่อสัตว์น้ำ De-Odorase® เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้อย่างปลอดภัย สามารถใช้เป็นประจำเพื่อคงระดับแอมโมเนียให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย มีการทดลองในประเทศอินโดนีเซียที่แสดงให้เห็นว่า De-Odorase® สามารถลดปริมาณแอมโมเนียรวมได้ภายใน 1 ชั่วโมงครึ่งและยังคงระดับแอมโมเนียให้ต่ำไปได้อย่างต่อเนื่อง (รูปที่ 2)

 

รูปที่ 2 : การใช้ De-Odorase® ที่ปริมาณ 0.3 พีพีเอ็มในบ่อเพาะฟักปลากะพงขาว

 

อัตราการใช้ De-Odorase® และการจัดการที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่จำเป็นในการลดระดับแอมโมเนียรวมในน้ำลงได้ ซึ่งอัตราการใช้ De-Odorase® ที่เหมาะสมจะทำให้มีปริมาณสารสกัดจากต้นยัคคาอย่างเพียงพอที่จะจับกับแอมโมเนียได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงที อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องมีการปรับปรุงการจัดการร่วมด้วยเพื่อป้องกันไม่ให้ระดับของแอมโมเนียเพิ่มสูงขึ้นได้อีก เช่น การลดอัตราการให้อาหาร การเติมอากาศในบ่อเลี้ยง เป็นต้น สำหรับการให้อาหาร แต่หากอัตราการให้อาหารกลับมาเป็นอัตราปกติก่อนที่ระดับแอมโมเนียจะลดลงมาอยู่ในปริมาณที่ปลอดภัย ค่าแอมโมเนียก็จะกลับมาสูงอีก อาหารที่เหลือเนื่องจากสัตว์น้ำมีความอยากอาหารลดลงซึ่งเป็นผลมาจากระดับแอมโมเนียที่สูง ก็จะเป็นการเพิ่มให้ระดับแอมโมเนียยิ่งสูงขึ้นไปอีก

 

คำกล่าวที่ว่า กันไว้ย่อมดีกว่าแก้ ใช้ได้กับหลายๆ เรื่องรวมทั้งการจัดการคุณภาพน้ำในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำด้วยเช่นกัน การมีโปรแกรมการจัดการคุณภาพน้ำที่ดีจะทำให้มั่นใจได้ว่าปริมาณแอมโมเนียในน้ำจะคงที่ในระดับที่ปลอดภัยแม้ในระยะยาว

 

หากต้องการทราบข้อมูลของ De-Odorase® และการวัดระดับแอมโมเนียในฟาร์มเพิ่มเติม โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่ของออลเทค

Loading...