Skip to main content

3 ขั้นตอนของการปรับโภชนาการของลูกสุกรให้เหมาะสมเพื่อสุขภาพของทางเดินอาหาร

 เมื่อเริ่มมีชีวิตลูกสุกรมีความเสี่ยงมากต่อการรับเชื้อโรคที่พบอยู่แล้วภายในฟาร์ม

การดูแลลูกสุกรแรกคลอดนับเป็นความท้าทายสำหรับทุกฟาร์ม ในช่วงแรกของชีวิต ลูกสุกรจะมีความไวต่อการเกิดปัญหาสุขภาพ ที่อาจไม่ส่งผลกระทบต่อสุกรที่มีอายุมากกว่าหรือสุกรที่ร่างกายถูกพัฒนาแล้ว ความท้าทายเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้จากทุกองศา เพราะสิ่งมีชีวิตที่ก่อให้เกิดโรค (เช่น แบคทีเรีย โปรโตซัว และไวรัส) พบได้ในทุกส่วนของฟาร์ม ไม่ว่าจะเป็นแม่พันธุ์สุกรไปจนถึงบุคลากรภายในฟาร์ม อุปกรณ์ วัสดุรองนอน และวัตถุดิบอาหาร ก็ไม่สามารถรอดจากภัยคุกคามนี้ไปได้

 

แม้ว่าจะมีมาตรการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพที่เหมาะสมแล้วก็ตาม แต่ลูกสุกรก็ยังต้องเผชิญกับสาเหตุอื่นที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ ในขณะที่กำลังเจริญเติบโต เช่น การเปลี่ยนอาหาร ที่อาจทำให้การย่อยอาหารผิดปกติ ซึ่งแสดงให้เห็นด้วยอาการท้องร่วงและการหยุดเจริญเติบโต

 

การรักษาระดับภูมิคุ้มกันให้อยู่ในภาวะที่เหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็น เพราะลูกสุกรต้องสัมผัสกับปัจจัยภายนอกที่อาจปนเปื้อนเชื้อโรค เช่น น้ำ อาหาร และวัสดุรองนอน การปรับปรุงโครงสร้างทางเดินอาหารและประชากรจุลินทรีย์ให้มีความเหมาะสมมีความสำคัญต่อลูกสุกร เนื่องจากเป็นพื้นฐานของสุขภาพและการพัฒนาการของลูกสุกรต่อไป ลูกสุกรมีความต้องการเฉพาะสำหรับการสร้างสุขภาพและการทำงานที่ดีของลำไส้และเพื่อจำกัดการพัฒนาของเชื้อโรค การให้อาหารเพื่อเสริมสร้างสุขภาพลำไส้ของลูกสุกรให้ดีที่สุด สามารถทำได้หลายวิธี ต่อไปนี้คือ 3 ขั้นตอนที่สำคัญในการพัฒนาสุขภาพทางเดินอาหารที่ดีของลูกสุกร

 

1. ปรับปรุงคุณภาพนมน้ำเหลืองจากแม่สุกร

ขณะอยู่ในครรภ์ ลูกสุกรจะได้รับประโยชน์จากระบบภูมิคุ้มกันที่พัฒนาอย่างเต็มที่ของแม่สุกร อย่างไรก็ตาม ลูกสุกรจะไม่รับภูมิคุ้มกันเหล่านี้มาด้วยเมื่อคลอดออกมา ดังนั้น ผู้เลี้ยงควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกสุกรแรกคลอดจะมีอิมมูโนโกลบูลิน (Ig) ที่มากเพียงพอ  สิ่งเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นด่านแรกในการป้องกันเชื้อโรคสำหรับลูกสุกรและช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับความท้าทายที่ต้องเผชิญในสภาพแวดล้อม แหล่งที่ดีที่สุดของอิมมูโนโกลบูลินคือนมน้ำเหลืองจากแม่ ซึ่งถือเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพของสุขภาพลำไส้ในลูกสุกร

หลังจากการกินนมน้ำเหลืองในช่วงแรก ภูมิคุ้มกันของลูกสุกรมีแนวโน้มที่จะลดลง ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคได้มากขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปจะแสดงอาการดังต่อไปนี้ :

ท้องเสีย

ภาวะขาดน้ำ

การกินนมได้น้อย

นอกจากนี้การเปลี่ยนจากการกินนมไปเป็นอาหารประเภทธัญพืชเมื่อหย่านม ทำให้โครงสร้างทางเดินอาหารและประชากรจุลินทรีย์จำเป็นที่จะต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว ช่วงเวลาที่ยากลำบากสำหรับสุขภาพและระบบภูมิคุ้มกันของลูกสุกรนี้เรียกว่า “ช่องว่างช่วงหย่านม”  ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วงที่ลูกสุกรมีอายุระหว่าง 14–21 วัน

เพื่อทำให้ลูกสุกรมีพื้นฐานสุขภาพที่แข็งแรงและช่วยให้ผ่านช่วงเปลี่ยนอาหารไปได้ เราจำเป็นจะต้องมีการปรับปรุงอิมมูโนโกลบูลินในน้ำนมเหลืองของแม่สุกรให้เหมาะสม ซึ่งสามารถทำได้โดยการผสมพรีไบโอติกและสารที่อุดมด้วยแมนแนน (mannan-rich fractions-MRF) ในอาหารสำหรับแม่สุกรตั้งครรภ์ ในการทดลอง (สปริง และคณะ, 2549) แสดงให้เห็นว่าการทำเช่นนี้จะช่วยเพิ่มระดับของอิมมูโนโกลบูลินทั้งหมดในนมน้ำเหลือง รวมถึงในเลือดของลูกสุกรที่ได้รับนมน้ำเหลืองนั้นด้วย

 

2. ส่งเสริมสุขภาพลำไส้ที่ดีโดยตรง

พรีไบโอติกและโพรไบโอติกสามารถนำไปให้ลูกสุกรกินได้โดยตรง เช่นเดียวกับการใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพนมน้ำเหลืองในแม่สุกร พรีไบโอติกและโพรไบโอติกจะช่วยส่งเสริมสมดุลของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ภายในลำไส้ของลุกสุกร ช่วยสร้างพื้นฐานที่ดีที่สุดสำหรับการป้องกันโรคในอนาคตและสร้างเสริมสุขภาพและการเจริญเติบโตให้ได้สูงสุด

การวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับ MRF อย่างยาวนานแสดงให้เห็นว่า MRF จะไปจับกับพื้นผิวของจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้จุลินทรีย์เหล่านั้นเกาะที่ผนังลำไส้, ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการขยายพันธุ์, และนำไปสู่การกำจัดออกผ่านทางอุจจาระโดยไม่เป็นอันตรายต่อสุกร นอกจากนี้การที่ MRF จับกับพื้นผิวของจุลินทรีย์นี้ยังมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันในลำไส้ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองเร็วขึ้นต่อการคุกคามของเชื้อโรคใดๆ ก็ตาม นอกจากนี้ ในการทดลองหลายครั้งยังแสดงให้เห็นว่า ช่วยเพิ่มปริมาณการกินอาหาร, การย่อยอาหารและการเจริญเติบโต, และช่วยเพิ่มอัตราการแลกเนื้อ

 

3. ใช้อาหารเลียรางคุณภาพสูง

เมื่อลูกสุกรถึงวัยที่จะหย่านม จะเริ่มถูกฝึกให้รู้จักกินอาหารเลียรางเพื่อเตรียมให้ระบบย่อยอาหารพร้อมสำหรับการเปลี่ยนอาหาร นี่เป็นอีกโอกาสหนึ่งสำหรับผู้ผลิตในการส่งเสริมสุขภาพทางเดินอาหารของลูกสุกรโดยการให้อาหารเลียรางที่ผลิตด้วยวัตถุดิบคุณภาพดีที่สุดซึ่งผ่านกระบวนการผลิตที่ส่งเสริมการย่อยและเสริมด้วยสารเสริมอาหารที่ผ่านการพิสูจน์มาเป็นอย่างดีแล้ว เช่น:

นิวคลีโอไทด์ ช่วยในการพัฒนาของเนื้อเยื่อในลำไส้

เอนไซม์ สำหรับการย่อยอาหารได้สูงสุด

แร่ธาตุคีเลต เพื่อการดูดซึมที่ดีที่สุดและเพื่อสร้างแหล่งแร่ธาตุสำรองไว้ในเนื้อเยื่อเพื่อเตรียมไว้ใช้ในช่วงเวลาที่สัตว์มีความเครียด

อาหารเหล่านี้จะช่วยทำให้ลูกสุกรผ่านช่วงหย่านมไปได้ง่ายขึ้นและจะไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในทางเดินอาหาร และยังช่วยป้องกันโรค นิวคลีโอไทด์เป็นส่วนประกอบสำคัญของดีเอ็นเอและจำเป็นต่อพัฒนาการของลูกสุกร โดยช่วยเพิ่มการเติบโตของเนื้อเยื่อในลำไส้ได้อย่างมีนัยสำคัญและมีความสำคัญต่อการซ่อมแซมและป้องกันความเสียหายที่เกิดกับผนังลำไส้ โครงสร้างของลำไส้ที่แข็งแรงมากขึ้นจำเป็นสำหรับลูกสุกรในช่วงการเปลี่ยนอาหารจากนมเป็นอาหารที่มีเมล็ดพืชเป็นส่วนประกอบ เนื่องจากโครงสร้างที่จำเป็นสำหรับการดูดซึมสารอาหาร (วิลไล) อาจมีความเสียหายเกิดขึ้นได้

 

เพื่อสนับสนุนพัฒนาการของลูกสุกร ออลเทคจึงได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายสำหรับทั้งแม่สุกรและลูกสุกรซึ่งจะช่วยเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการของลูกสุกรและสนับสนุนสุขภาพของลำไส้ ซึ่งประกอบไปด้วยผลิตภัณฑ์ดังต่อไปนี้ :

          Actigen® (แอคติเจน)

          Actigen® (นูโปร)

          NuPro® (นูโปร)

          Allsyme SSF® (ออลไซม์ เอสเอสเอฟ)

          Bioplex® (ไบโอเพล็กซ์)

          Sel-Plex® (เซล-เพล็กซ์)

          Viligen™ (วิลิเจน)

 

ลูกสุกรมีความเปราะบางอย่างมากเมื่อแรกเกิด การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมใด ๆ อาจทำให้ลูกสุกรได้รับเชื้อโรคกลุ่มใหม่ทั้งหมดซึ่งสามารถลดประสิทธิภาพการผลิตของสุกรได้ นอกจากนี้ เมื่อสุกรเจริญเติบโตในช่วงหย่านม ลูกสุกรมักจะถูกย้ายไปยังสภาพแวดล้อมใหม่ มีการสัมผัสกับอุปกรณ์ใหม่ สุกรตัวใหม่ และบุคลากรใหม่ ดังนั้นการตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกสุกรได้รับการดูแลให้มีสุขภาพของลำไส้ดีที่สุดโดยเร็วที่สุดเป็นกุญแจสำคัญในการจำกัดโรค, ช่วยสร้างเสริมสุขภาพ สวัสดิภาพและเพิ่มการเจริญเติบโตของสุกรให้ได้สูงสุด

 

Loading...