Skip to main content

สร้างรากฐานที่แข็งแกร่งด้วยแร่ธาตุรองแบบอินทรีย์

ลอเรนเทีย แวน เรนสบวร์ก มีประสบการณ์ในด้านอุตสาหกรรมปศุสัตว์และสัตวศาสตร์มากกว่า 15 ปีโดยได้ทำงานในตำแหน่งต่างๆ ร่วมกับตลาดแอฟริกาใต้ เนเธอร์แลนด์ ละตินอเมริกา และอเมริกาเหนือ

เหตุใดผู้ผลิตเนื้อและผลิตภัณฑ์นมจึงให้ความสนใจกับแร่ธาตุรองประเภทอินทรีย์ ลอเรนเทีย แวน เรนสเบิร์ก (Laurentia Van Rensburg) ผู้จัดการฝ่ายแร่ธาตุเชิงเทคนิคของ Alltech มาร่วมพูดคุยทางพ็อดคาสต์ในรายการ Ag Future ว่าการเพิ่มแร่ธาตุรองประเภทอินทรีย์เข้าไปในอาหารสำหรับแม่สัตว์ส่งผลต่อโคกระบือตัวแม่และลูกที่จะเกิดมาอย่างไร

ด้านล่างนี้เป็นบทสัมภาษณ์ ลอเรนเทีย แวน เรนสเบิร์ก ทางพ็อดคาสต์ในรายการ Ag Future ดำเนินรายการโดยทอม มาร์ติน (Tom Martin) คลิกด้านล่างนี้เพื่อรับฟังเสียงการสัมภาษณ์ฉบับเต็มหรือเลือกรับฟังผ่านทาง Apple Podcasts, Spotify หรือ Google Podcasts

ทอม:            สวัสดีครับ ขอต้อนรับเข้าสู่รายการ Ag Future โดย Alltech นะครับ เชิญทุกท่านมาร่วมค้นหาโอกาสที่สดใสในกลุ่มเกษตร-อาหาร ธุรกิจ และอื่นๆ ได้ที่งานประชุม Alltech ONE 2022 นะครับ

 

                    ผม ทอม มาร์ติน ผู้ดำเนินรายการ Ag Future โดย Alltech และที่อยู่ผมตอนนี้คือคุณลอเรนเทีย แวน เรนสเบิร์ก ผู้จัดการฝ่ายแร่ธาตุเชิงเทคนิคของ Alltech ลอเรนเทียจบการศึกษาระดับปริญญาโทสาขาสัตวศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเคนตักกี้ มีประสบการณ์ด้านปศุสัตว์และสัตวศาสตร์มากกว่า 15 ปีโดยได้ทำงานในตลาดต่างๆ ในอุตสาหกรรมนี้ทั้งแอฟริกาใต้ในตลาดต่างๆ ทั้งแอฟริกาใต้ เนเธอร์แลนด์ ลาตินอเมริกา และอเมริกาเหนือ วันนี้เธอจะมาพูดคุยถึงผลกระทบที่แร่ธาตุรองแบบอินทรีย์มีต่อโภชนาการสำหรับลูกวัวหรือโปรแกรมการเจริญเติบโตของลูกสัตว์ในท้อง สวัสดีครับ ลอเรนเทีย

 

ลอเรนเทีย:      ขอบคุณค่ะ ทอม

 

ทอม:            แร่ธาตุรองแบบอินทรีย์มีบทบาทอย่างไรในอาหารสำหรับแม่สัตว์บ้างครับ

 

ลอเรนเทีย:      แร่ธาตุรองเป็นสารอาหารที่จำเป็นค่ะ ดังนั้น ถึงจะต้องการในปริมาณที่น้อยมาก แต่ที่จริงมันทำหน้าที่ได้หลากหลายมากนะคะ ทั้งในกระบวนการเมตาบอลิซึมและการทำงานของอวัยวะต่างๆ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโต ต่อประสิทธิภาพในการสืบพันธุ์ด้วย ดังนั้น โภชนาการสำหรับแม่สัตว์จึงมีความสำคัญเป็นพิเศษเพราะส่งผลกระทบต่อตัวอ่อนหรือลูกวัวระยะกำลังพัฒนาในมดลูกได้โดยตรงค่ะ

 

ทอม:            ปัจจัยที่ส่งผลต่อโภชนาการปศุสัตว์มีอะไรบ้างครับ

 

ลอเรนเทีย:      อืม ทอม คำถามนี้น่าสนใจมากนะคะ เพราะเรารู้แล้วว่าสัตว์แต่ละสายพันธุ์ ช่วงตั้งท้องในระยะต่างกันก็มีความต้องการด้านโภชนาการแตกต่างกันไป แม้แต่สิ่งที่จำเป็นต่อการเติบโตยังอาจต่างไปจากข้อกำหนดในการดูแลสุขภาพตามปกติเลยค่ะ อีกทั้งเราก็มีข้อกำหนดที่แตกต่างกันเพื่อให้ประสิทธิภาพด้านภูมิคุ้มกัน สุขภาพ และการสืบพันธุ์อยู่ในระดับที่ดีที่สุดด้วย จึงแน่นอนว่าแต่ละช่วงชีวิตมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อโภชนาการค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแร่ธาตุรองที่จำเป็น

 

ทอม:            สำหรับวัวแล้ว สภาวะใดที่คุณมักจะพบว่าวัวขาดสารอาหารมากที่สุดครับ

 

ลอเรนเทีย:      การขาดสารอาหารอาจเป็นได้จากปัจจัย 2 ประการนะคะ อย่างแรกเลยคือช่วงที่สัตว์ไม่ได้รับสารอาหารค่ะ แต่ในกรณีส่วนใหญ่แล้ว เวลาที่เราพบว่าเหล่าโคกระบือขาดสารอาหาร ที่จริงแล้วส่วนใหญ่เป็นเพราะแร่ธาตุเกิดปฏิกิริยาต่อต้านซึ่งกันและกัน ซึ่งอาจส่งผลในทางลบต่อการดูดซึมสารอาหารจำเป็นบางอย่างได้ค่ะ ดิฉันคิดว่าในการผลิตโคกระบือยุคใหม่นี้ เราจะเห็นได้ว่าคนจำนวนมากจะให้อาหารเสริมแก่โคกระบือของตน แต่ก็ยังพบว่าสมรรถภาพก็ไม่ได้อยู่ในเกณฑ์ดีที่สุดเพราะขาดสารอาหารเล็กๆ น้อยๆ นั่นเอง ซึ่งในกรณีนี้ แน่นอนว่าเป็นเพราะปฏิกิริยาระหว่างแร่ธาตุต่อแร่ธาตุหรือ (ปฏิกิริยา) ระหว่างตัวแร่ธาตุกับสารอาหารจำเป็นอื่น รวมถึงวิตามินด้วยค่ะ

 

ทอม:            ถ้าพูดถึงระยะต่างๆ ของการตั้งท้องแล้ว โภชนาการสำหรับแม่สัตว์มีบทบาทต่อระยะต่างๆ เหล่านี้อย่างไรบ้างครับ

 

ลอเรนเทีย:      การศึกษาผลกระทบเชิงลบจากการจำกัดสารอาหารที่โฟกัสไตรมาสสุดท้ายของการตั้งท้องโดยเฉพาะก็มีอยู่เยอะเหมือนกันนะคะ สาเหตุคือเพราะเราทราบอยู่แล้วว่าช่วง 90 ถึง 60 วันสุดท้ายเป็นช่วงที่ลูกวัวในท้องเติบโตอย่างรวดเร็วมาก จึงอาจดูดแร่ธาตุและสภาพโภชนาการจากวัวตัวแม่ไปมากน่ะค่ะ อย่างไรก็ตาม เราก็ควรต้องระลึกไว้เสมอด้วยว่าโภชนาการสำหรับแม่สัตว์เป็นเรื่องสำคัญมากตั้งแต่ช่วงเริ่มตั้งท้องและระยะพัฒนาช่วงต้นระหว่างตั้งท้อง เพราะภาวะโภชนาการอาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อรกที่กำลังพัฒนาและพัฒนาการของตัวอ่อนในท้องด้วยเหมือนกันค่ะ

 

ทอม:            แล้วการจัดการโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับวัวในช่วงตั้งท้องทำให้เกิดความแตกต่างในลูกที่เกิดมา สมรรถภาพ และสุขภาพวัวอย่างไรบ้างครับ

 

ลอเรนเทีย:      งานวิจัยจำนวนมากแสดงให้เห็นว่าการเสริมแร่ธาตุรองระหว่างการตั้งท้องให้ผลในทางบวก ไม่ใช่แค่เพียงกับผลลัพธ์ระยะสั้นอย่างน้ำหนักแรกเกิดและน้ำหนักในช่วงที่ลูกวัวหย่านมเท่านั้น แต่เราจะเห็นได้ว่าโภชนาการสำหรับสัตว์ตัวแม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญจริง เช่น ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการสืบพันธุ์ของลูกวัวในช่วงชีวิตหลังจากนี้ โภชนาการสำหรับแม่สัตว์เองก็กระทบต่อสมรรถภาพในอนาคตด้วยนะคะ ไม่ใช่แค่ในแง่ของประสิทธิภาพการสืบพันธุ์แต่รวมถึงน้ำหนักซากสัตว์ด้วยค่ะ

 

ทอม:            หลังจากที่เปลี่ยนจากแร่ธาตุรองแบบอนินทรีย์เป็นแบบอินทรีย์แล้ว มีความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างที่ผู้ผลิตน่าจะได้เห็นในส่วนของวัวนมสาวบ้างครับ

 

ลอเรนเทีย:      ถ้าเป็นเรื่องของวัวนมสาว เราก็ได้เห็นจากการศึกษาของ ดร. ไฮน์ริชส์ (Dr. Heinrichs) มหาวิทยาลัยเพนน์สเตท (Penn State) แล้วว่าโภชนาการไม่เพียงแต่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการสืบพันธุ์ของวัวสาวเท่านั้น แต่รวมไปถึงการผลิตน้ำนมด้วยค่ะ

 

ทอม:            การปรับปรุงภาวะแร่ธาตุรองในวัวมีผลสืบเนื่องหรือเปล่าครับ ให้ผลต่อเนื่องไหม

 

ลอเรนเทีย:      โอ้ แน่นอนค่ะ เราจะเห็นได้จากการศึกษามากมายว่าลูกวัวจากแม่วัวที่ได้รับแร่ธาตุรองแบบอินทรีย์และโดยเฉพาะ Bioplex กับ Sel-Plex นี่เป็นสัดเร็วขึ้น คือวงจรมันเร็วขึ้น ผสมพันธุ์เร็วขึ้นและมีอัตราตั้งท้องสูงขึ้นด้วยค่ะ ดังนั้นถือว่าเป็นผลต่อเนื่องแน่นอน

 

ทอม:            แร่ธาตุรองแบบอินทรีย์มีผลกระทบระยะยาวต่อการเจริญเติบโตและสมรรถภาพในการสืบพันธุ์และการให้นมครั้งแรกของวัวนมสาวอย่างไรบ้างครับ

 

ลอเรนเทีย:      จากงานที่เราได้ทำกับเหล่าวัวนม ทำให้เราได้เห็นว่าการเสริมแร่ธาตุรอง โดยเฉพาะด้วย Bioplex และ Sel-Plex มีผลอย่างมาก ทำให้ลูกวัวสาวเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เร็วขึ้น ซึ่งก็ทำให้ผสมพันธุ์เร็วขึ้นด้วย วัวเหล่านี้จะออกลูกเร็วขึ้นเทียบกับกลุ่มที่ได้แร่ธาตุแบบอนินทรีย์ และที่จริงคือแร่ธาตุนี้ส่งผลโดยตรงต่อสมรรถภาพตลอดทั้งอายุขัยของสัตว์ด้วยค่ะ

 

ทอม:            ครับ เมื่อครู่นี้เราพูดถึงวัวนมกันไปนะครับ แล้วถ้าเป็นวัวเนื้อล่ะครับ

 

ลอเรนเทีย:      ในกลุ่มวัวเนื้อก็มีการตอบสนองที่ค่อนข้างคงที่และคล้ายกันมากค่ะ อย่างเช่น (ใน) การศึกษาของมหาวิทยาลัยฟลอริดา (University of Florida) นอกจากจะได้เห็นว่าการเสริมอาหารให้แม่สัตว์ช่วยเพิ่มน้ำหนักในช่วงหย่านมและช่วงเกิดแล้ว เรายังได้เห็นว่าวัวสาวลูกแม่วัวที่ได้รับอาหารเสริมเป็น Bioplex และ Sel-Plex มีขนาดกระดูกเชิงกรานที่ดีกว่าด้วยค่ะ คะแนนติดตามการสืบพันธุ์ก็ทำได้ดีกว่า ทำให้มีลูกง่าย เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เร็วขึ้นและผสมพันธุ์เร็วขึ้นด้วยค่ะ

 

ทอม:            การให้สารอาหารอย่างไม่สมดุลระหว่างการตั้งท้องจะส่งผลอย่างไรบ้างครับ

 

ลอเรนเทีย:      เวลาที่เราพูดถึงเรื่อง “ความไม่สมดุล” สิ่งสำคัญมากคือเราต้องตระหนักว่าการให้สารอาหารมากเกินไปก็เป็นอันตรายพอๆ กับการให้สารอาหารบางประเภทน้อยเกินไป งานวิจัยจำนวนมากก็แสดงให้เห็นแล้วว่าการจำกัดสารอาหารส่งผลเชิงลบต่ออัตราการตายก่อนหย่านมได้จริง อีกทั้งยังส่งผลเชิงลบต่อน้ำหนักแรกเกิดและช่วงหย่านมด้วยค่ะ

 

ทอม:            ชีวปริมาณออกฤทธิ์ของแร่ธาตุรองแบบอินทรีย์เพิ่มขึ้นบ้างไหมครับ หากเพิ่มขึ้น การเพิ่มขึ้นนี้ส่งผลดีต่อประสิทธิภาพในการสืบพันธุ์ไหมครับ

 

ลอเรนเทีย:      แน่นอนค่ะ หนึ่งในความแตกต่างหลักๆ ระหว่างแร่ธาตุรองแบบอนินทรีย์และอินทรีย์ที่เราเห็นได้เลยก็คือ แร่ธาตุรองแบบอินทรีย์มีค่าชีวปริมาณออกฤทธิ์สัมพัทธ์สูงกว่า หมายความว่านอกจากสัตว์จะสามารถดูดซึมแร่ธาตุได้ดียิ่งขึ้นแล้ว ยังนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่ามากด้วยค่ะ อย่างไรก็ตาม ขนาดแร่ธาตุรองแบบอนินทรีย์และอินทรีย์ยังมีความต่าง ชีวปริมาณออกฤทธิ์สัมพัทธ์ระหว่างแร่ธาตุรองแบบอินทรีย์ในแต่ละหมวดหมู่ก็จะยิ่งต่างออกไปอีกค่ะ

 

ทอม:            เราควรตรวจสอบให้มั่นใจว่าเรารู้ว่าแร่ธาตุรองของเรามาจากไหน อยู่ในรูปแบบใดและแหล่งที่มาจากที่ไหนไหมครับ

 

ลอเรนเทีย:      แน่นอนค่ะ ดิฉันคิดว่าเราควรหาความรู้อื่นนอกเหนือจากรูปแบบของแร่ธาตุรอง ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณลองดูฉลากผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ แร่ธาตุรองแบบอนินทรีย์มักจะประกอบด้วยซัลเฟต ออกไซด์ คลอไรด์ หรือแม้แต่แร่ธาตุไฮดรอกซี แต่แร่ธาตุรองแบบอินทรีย์อย่าง Bioplex จะถือเป็นโปรติเนต ซึ่งเป็นคำตอบของคำถามข้อแรก

 

                     ส่วนเรื่องที่ว่าแร่ธาตุของเรามาจากไหนนั้น เราต้องจำไว้เสมอว่าแร่ธาตุรองแบบอนินทรีย์มักจะเป็นผลิตผลพลอยได้จากกระบวนการอุตสาหกรรมอื่นๆ หมายความว่าแร่ธาตุพวกนี้จะค่อนข้างมีราคาถูก แต่ไม่ค่อยมีการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ประเภทนี้เท่าไหร่นัก นอกจากนั้นยังมีชีวปริมาณออกฤทธิ์ต่ำมาก หมายความว่าสัตว์ของเราจะไม่สามารถนำแร่ธาตุรองในรูปแบบจำเพาะนี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้เลย

 

ทอม:            ทุกคนมีความกังวลว่าความพยายามในเรื่องใดๆ จะยั่งยืนไปได้สักแค่ไหน ตอนนี้คนกังวลเรื่องนี้กันมากครับ ผมจึงสงสัยว่าประโยชน์ของแร่ธาตุรองแบบอินทรีย์ จากการนำไปใช้ในโปรแกรมโภชนาการสำหรับปศุสัตว์ของเรา อย่างนี้ช่วยให้เกิดความยั่งยืนมากน้อยแค่ไหนครับ

 

ลอเรนเทีย:      ดิฉันคิดว่าแร่ธาตุรอง และโดยเฉพาะแร่ธาตุรองแบบอินทรีย์อย่าง Bioplex กับ Sel-Plex ช่วยให้เกิดความยั่งยืนได้หลากหลายวิธีเลยค่ะ อย่างเช่น เรารู้แล้วว่าคุณปรับปรุงพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิตได้ สุดท้ายคุณก็จะเป็นผู้ผลิตที่มีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น อย่างที่สองคือ แร่ธาตุรองในรูปอนินทรีย์ เนื่องจากสัตว์ไม่สามารถนำไปใช้ได้มากนัก โดยทั่วไปจึงจะถูกขับออกจากร่างกายด้วยความเข้มข้นสูงกลับคืนสู่ดินและแหล่งน้ำอยู่แล้วค่ะ อย่างในยุโรป นี่เป็นสาเหตุว่าทำไมจึงมีการควบคุมแร่ธาตุรองในบางสายพันธุ์ ส่วนแร่ธาตุรองแบบอินทรีย์ เช่น Bioplex และ Sel-Plex เรารู้ว่าเราให้แร่ธาตุในอัตราที่ต่ำลงมากโดยที่ยังได้สมรรถภาพเหมือนเดิมหรือดีกว่าด้วยซ้ำ พร้อมกันนั้น ตัวสัตว์ก็มีการกำจัดแร่ธาตุรองเหล่านี้ออกไปสู่ดินและแหล่งน้ำน้อยลงด้วยค่ะ

 

ทอม:            ครับ นี่คือคุณลอเรนเทีย แวน เรนสเบิร์ก ผู้จัดการฝ่ายแร่ธาตุเชิงเทคนิคของ Alltech ครับ ขอบคุณครับ ลอเรนเทีย

 

ลอเรนเทีย:      ขอบคุณค่ะ ทอม

Loading...