Skip to main content

ก้าวผ่านความกังวลทั้งหลายสู่ความสำเร็จในการทำฟาร์มกุ้ง



ทอซิฟ อาเหม็ด (Tausif Ahmad) (คนซ้าย) ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ และ คุณสาตติ พันดู ราจู (Mr. Satti Pandu Raju) (คนขวา) เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในอานธรประเทศ ประเทศอินเดีย

 

คุณสาตติ พันดู ราจู เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในอานธรประเทศ ประเทศอินเดีย ผู้คร่ำหวอดในวงการสัตว์น้ำมากว่า 20 ปี รัฐอานธรประเทศนับเป็นผู้ผลิตกุ้งที่ใหญ่ที่สุดในอินเดียและนับเป็นพื้นที่ฟาร์มกุ้งที่ใหญ่ที่สุดในโลกฟาร์มหนึ่ง ฟาร์มราจูมีพื้นที่กว่า 500 ไร่สำหรับเพาะเลี้ยงปลา เขาเริ่มต้นทำฟาร์มกุ้งบนพื้นที่ 62 ไร่หลังจากเขาเล็งเห็นโอกาสของการเพาะเลี้ยงกุ้งในตลาดโลก แต่โชคไม่ดีที่เขาขาดทุนไปกับการลงทุนการเพาะเลี้ยงกุ้งในครั้งแรก ต่อจากนี้เป็นเรื่องราวว่าเขาฟื้นธุรกิจนี้กลับมาและทำกำไรจากการทำฟาร์มกุ้งนี้ได้อย่างไร

ปัญหา: อัตราการตาย 100% เนื่องจากโรค Elephant gill disease

Penaeus vannamei หรือที่เรียกว่ากุ้งขาวแปซิฟิกเป็นพันธุ์กุ้งที่พบได้มากตามชายฝั่ง ราจูเริ่มทำฟาร์มกุ้งขาว บนพื้นที่ 44 ไร่แบบบ่อเดี่ยวในปี 2559 ในตอนเริ่มฤดูกาลเมื่อปีที่แล้ว ราจูเสียหายไปประมาณ 60,000 เหรียญสหรัฐด้วยโรค elephant gill disease ซึ่งเหงือกของกุ้งจะมีลักษณะคล้ายหูช้างและทำให้อัตราการตายของกุ้งเป็น100%



                      เหงือกของกุ้งจะมีลักษณะคล้ายหูช้างเนื่องจากโรค Elephant gill disease

 

ในฤดูกาลที่ 2 ของปี ราจูเพิ่มจำนวนกุ้งลงไปใหม่ในฟาร์ม เพียงแค่ 10 วัน เขาก็สังเกตเห็นการระบาดของโรค Elephant gill disease อีกครั้ง ซึ่งเป็นปัญหาเดียวกันกับที่ฟาร์มอื่นโดยรอบประสบเช่นกัน

เพิ่มระบบภูมิคุ้มกันในกุ้งเพื่อเอาชนะปัญหาด้านสุุขภาพกุ้ง

ราจูค้นพบแนวทางการแก้ปัญหาผ่านตัวแทนจำหน่ายในอีลูรู ซึ่งแนะนำให้เขาได้รู้จักกับทอซิฟ อาเหม็ด ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจของออลเทค อาเหม็ดแนะนำให้เขาใช้ผลิตภัณฑ์ไบโอเพล็กซ์ Bioplex® และ เซล-เพล็กซ์ Sel-Plex® เพื่อช่วยสนับสนุนระบบภูมิคุ้มกันในกุ้ง เพื่อแก้ปัญหาทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของกุ้ง สุขภาพทางเดินอาหาร คุณภาพน้ำ ปริมาณแอมโมเนียและตะกอน เขาจึงได้แนะนำผลิตภัณฑ์ที่เป็นแนวทางการแก้ปัญหาทั้งหมดของออลเทค

ผลลัพธ์

ภายใน 15 วันของการดำเนินการตามเทคนิคที่เหมาะสมและการจัดการที่ดี พบว่า 80% ของกุ้งฟื้นตัวจากโรค ในช่วงปลายฤดูกาล ราจูได้ผลผลิตกุ้งกว่า 30 ตัน ไม่เพียงแค่แก้ปัญหาที่เขาพบได้ แต่เขายังสร้างผลกำไรได้กว่า 45,000 เหรียญสหรัฐอีกด้วย

“ทีมงานออลเทคแนะนำเทคนิคให้ทีละขั้นตอนในการสร้างผลกำไรในธุรกิจ” ราจูกล่าว “แนวทางการแก้ปัญหาของทางออลเทคนับเป็นผลงานระดับโลกที่น่าอัศจรรย์ ผมขอแนะนำ”

ปัจจุบันราจูกำลังเข้าสู่รอบการเพาะเลี้ยงที่ 3 ร่วมกับแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยใช้ผลิตภัณฑ์ของออลเทค (Alltech On-Farm solutions) และคาดหวังถึงความสำเร็จในการเก็บเกี่ยวในรอบถัดไป

Loading...