Skip to main content

4 องค์ประกอบหลักในการดูแลลูกวัว

การเลี้ยงวัวสาวให้มีสุขภาพที่ดีนั้นเป็นกุญแจสำคัญที่จะมั่นใจถึงผลผลิตที่ดีของฝูงวัวรุ่นถัดไปได้  การที่ลูกวัวมีการเจริญเติบโตที่ไม่ค่อยดีนักในวัยเด็กนั้นส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อปริมาณผลผลิตน้ำนมตามลำดับ  เช่นนั้นแล้ว การดูแลลูกวัวแม้แต่ในช่วงหลังคลอดนั้นก็ไม่ควรเป็นสิ่งที่ละเลย  ทั้งนี้มีสิ่งที่สำคัญ 4 ประการด้วยกันที่ต้องใส่ใจหากต้องการเลี้ยงวัวสาวให้มีสุขภาพที่ดี ได้แก่

  • นมน้ำเหลือง (น้ำนมในระยะแรกหลังคลอด)
  • โภชนาการขั้นแรกเริ่ม
  • การพัฒนากระเพาะรูเม็น
  • สภาพแวดล้อม

นมน้ำเหลือง (น้ำนมในระยะแรกหลังคลอด)

นมน้ำเหลืองถือเป็นแหล่งแรกของสารอาหาร วิตามินและแอนติบอดี (สารภูมิต้านทานโรค) ที่ลูกวัวได้รับ  ภูมิต้านทานโรคในนมน้ำเหลืองนี้จะช่วยป้องกันลูกวัวจากสารก่อเชื้อโรคและโรคต่างๆ ได้ในช่วงเวลาที่ระบบภูมิคุ้นกันเพิ่งเริ่มพัฒนา การดูดซึมนมน้ำเหลืองจะสูงสุดในช่วงชั่วโมงแรกหลังคลอด  หลังจากนั้นจะเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่องภายใน 24 ชั่วโมงแรก

กฏทั่วไปคือให้อาหารที่ 10% ของน้ำหนักตัว (ประมาณ 3-4 ลิตร) ในช่วง 2 ชั่วโมงแรก  การให้น้ำนมเหลืองล่าช้าไปจะส่งผลให้อัตราการดูดซึมลดลงด้วย  อีกทั้งสารภูมิต้านทานจากนมน้ำเหลืองจะไม่สามารถดูดซึมได้ดีและทำให้ลูกวัวไวต่อโรคด้วย  ส่วนการให้อาหารครั้งถัดไปนั้นควรให้ในอีก 8 ชั่วโมงถัดมาก่อนทดแทนด้วยผลิตภัณฑ์นมอื่นๆ

 

โภชนาการขั้นแรกเริ่ม

โภชนาการในขั้นแรกเริ่มเป็นสิ่งสำคัญต่อลูกวัวก่อนการข้ามขั้นไปสู่การเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องโดยสมบูรณ์ อีกทั้งยังเป็นแหล่งพลังงานและสารอาหารที่จำเป็นในการพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันอีกด้วย

หลักพื้นฐานสำคัญ คือ การเพิ่มน้ำหนักขึ้น 2 เท่าในช่วงแรกคลอดก่อนหย่านม (ช่วง 8-10 สัปดาห์) และการได้รับสารอาหารที่ดีมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งที่จำเป็นในช่วง 2-3 เดือนแรก  อาจกล่าวได้ว่า ลูกวัวที่น้ำหนักตัว 40 กิโลกรัมควรมีน้ำหนักเพิ่ม 0.6 กิโลกรัมต่อวัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ ลูกวัวควรได้รับอาหาร 15% ของน้ำหนักตัว (เช่น ควรได้รับอาหาร 0.6 ลิตรต่อน้ำหนักตัวที่ 40 กิโลกรัม) แต่ปัญหาคือ กระเพาะของลูกวัวที่ระยะนี้ไม่จุพอสำหรับน้ำนม 0.6 ลิตร

โดยทั่วไปแล้ว ลูกวัวต้องการปริมาณของแข็งในนม (Milk Solid) ประมาณ 325 กรัม โดยที่ในนมผงประกอบด้วยของแข็งในน้ำนมที่ 12.5% หรือคิดกลับเป็นน้ำนมโดยรวมที่ 2.6 ลิตร  ทั้งนี้ลูกวัวที่น้ำหนัก 40 กิโลกรัมที่ได้รับอาหารที่ 4 ลิตรต่อวันหรือประมาณ 10% ของน้ำหนักตัวนั้น สามารถเพิ่มน้ำหนักได้ถึง 200 กรัมต่อวัน อย่างไรก็ตามลูกวัวที่น้ำหนักมากกว่า 40 กิโลกรัมนั้นจะไม่สามารถคงสภาพที่ระดับนี้ได้ ดังนั้นอัตราการให้ที่สูงขึ้นจึงมีความจำเป็นเนื่องจากอาหารทดแทนนมนั้นมีไขมันและพลังงานต่ำกว่านม

ดังนั้นเมื่อผสมนมผงให้ตระหนักไว้เสมอว่าผสมจาก125 กรัมนมผงแล้วเติมน้ำให้ครบ 1 ลิตร ไม่ใช่ผสมนมผงที่ 125 กรัมแล้วเติมน้ำอีก 1 ลิตร เรื่องสำคัญนี้จะทำให้การใช้อาหารทดแทนนมช่วยเรื่องการเติบโตได้ตรงตามที่ตั้งเป้าไว้นั่นเอง

 

การพัฒนากระเพาะรูเม็น

กระเพาะรูเม็นจำเป็นที่จะต้องทำหน้าที่โดยสมบูรณ์ครบถ้วน  การพัฒนาของกระเพาะรูเม็นเริ่มจากปริมาณแป้งในอาหารข้น  ซึ่งอยู่ในช่วงระยะแรกเกิด 2-3 สัปดาห์

เพื่อกระตุ้นให้ผนังกระเพาะรูเม็นแข็งแรง ลูกวัวควรได้รับอาหารจำพวกฟางหญ้า  อย่างไรก็ตามการหลีกเลี่ยงให้รับสารอาหารพวกมีส่วนผสมของหญ้าฟางอยู่สูงนั้น  อาจทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญจากการบริโภคฟางมากเกินไปทำให้การย่อยไม่สมบูรณ์และอาจนำไปสู่ลักษณะท้องบวมโต รวมทั้งลดปริมาณการกินอาหารข้นด้วย

 

สภาพแวดล้อม

หลังเกิด ลูกวัวควรตัวแห้งและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่สะอาด  ที่นอนอาจทำมาจากเศษไม้และถ่านหินเลนแต่ควรให้แน่ใจว่ามันอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แห้งจริงๆ

การทำความสะอาดอุปกรณ์ให้อาหารทั้งหมดนั้นเป็นสิ่งจำเป็นในการรักษาสุขภาพที่ดีของสัตว์  โดยเฉพาะสัตว์ที่อายุยังน้อยอยู่  รวมถึงการล้างอุปกรณ์ก่อนการให้อาหารอีกกลุ่ม  จะช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้  ควรเตรียมพร้อมน้ำสะอาดไว้เสมอ เนื่องจากลูกวัวจะได้รับนมผ่านเข้ากระเพาะโดยตรง และจะไม่มีของเหลวเหลืออยู่ในกระเพาะเพื่อย่อยอาหารข้นเลย

ควรให้มีการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มน้อยที่สุด  และควรจัดลูกวัวขนาดหรือรุ่นอายุใกล้เคียงกันไว้ด้วยกัน

 

 

บทสรุป

นอกจากการจัดการที่ดีแล้ว  คุณยังสามารถสร้างฝูงสัตว์ที่มีสุขภาพดี มีกระเพาะรูเม็นที่แข็งแรงและมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดีได้ด้วยการให้ความสำคัญในเรื่องดังต่อไปนี้ควบคู่กัน:

  • นมน้ำเหลือง – สำคัญทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ  ที่สำคัญคือมีเพียงโอกาสเดียวเท่านั้นที่จะทำให้มีประสิทธิภาพและถูกต้อง
  • โภชนาการแรกเริ่ม – ติดตามสภาวะร่างกายและน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นระหว่างการให้อาหารช่วงแรกให้ตรงกับความต้องการของลูกวัว
  • การพัฒนากระเพาะรูเม็น – แป้งและใยอาหารช่วยให้กระเพาะรูเม็นแข็งแรง
  • สภาพแวดล้อม – ให้สัตว์อาศัยอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่สะอาด แห้งและไร้ความเครียด

 

Loading...