Skip to main content

บทบาทของเกษตรกรรมในการกอบกู้โลก

ดร. มาร์ค ไลออนส์ ได้กล่าวถึงการเดินทางของออลเทคในหลายปีที่ผ่านมา เขารําลึกถึงปี 2019 ที่เขายืนอยู่บนเวทีหลักเพื่อประกาศแนวความคิด Working Together for a Planet of Plenty™ ซึ่งจะกลายเป็นวิสัยทัศน์ในการดำเนินงานขององค์กรในไม่ช้าหลังจากนั้น

มาร์คยอมรับว่าแนวคิดนี้ไม่ใช่สิ่งที่ง่ายที่สุดสําหรับผู้คนที่จะเข้าใจในเวลานั้น อย่างไรก็ตาม นี่คือมุมมองที่หยั่งรากลึกในดีเอ็นเอของออลเทค มันเชื่อมโยงโดยตรงและเป็นส่วนขยายของหลักการ ACE ดั้งเดิมของ ดร.เพียร์ส ไลออนส์ ที่มีความเชื่อที่ว่า การเกษตรมีหน้าที่ในการดูแล สัตว์ ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม ซึ่งในช่วงทศวรรษที่ 1980 เมื่อความคิดนี้ถูกนํามาพูดถึง หลายคนก็ยังไม่เข้าใจมากนัก

อย่างไรก็ตาม สำหรับยุคปัจจุบัน มาร์คกล่าวว่าเวลาของหลักการ ACE และ Planet of Plenty ได้มาถึงอย่างแท้จริงแล้ว เขากล่าวว่า ผู้บริโภคโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่มีมุมมองเรื่องอาหารที่แตกต่างไป และการเกษตรต้องตอบสนองความต้องการของพวกเขา

อย่างไรก็ตามเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ เขาอธิบายว่าเราอาจต้องเปลี่ยนแนวทาง

"การลดไม่เพียงพอ เราต้องทําสิ่งที่แตกต่างออกไป" มาร์คกล่าว "ความเชื่อของเราคือ การเกษตรมีศักยภาพมากที่สุดที่จะสามารถทำให้อนาคตของโลกเรามีสารอาหารสําหรับทุกคนและช่วยให้ชุมชนในชนบทเจริญเติบโต พร้อมไปกับเติมเต็มทรัพยากรของโลกให้กลับมาสมบูรณ์"

การกักเก็บคาร์บอน

หนึ่งในวิธีที่การเกษตรสามารถสร้างผลกระทบที่สําคัญต่อการฟื้นฟูและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมคือ การกักเก็บคาร์บอน มาร์คกล่าวต้อนรับ ดร. วอนห์ โฮลเดอร์ (Dr. Vaughn Holder) ผู้อํานวยการกลุ่มวิจัยสัตว์เคี้ยวเอื้องของออลเทค ขึ้นสู่เวทีเพื่อพูดคุยเพื่อหาวิธีว่าจะนําเอาแนวความคิดนี้ไปใช้ในอุตสาหกรรมได้อย่างไร

วอนห์เริ่มการอภิปรายนี้โดยแสดงข้อมูลเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและผลกระทบต่อโลกของเรา สิ่งที่ชัดเจนจากกราฟเหล่านี้คือ CO2 (คาร์บอน) เป็นสัดส่วนหลักที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน  อย่างไรก็ตามวอนห์เชื่อว่าการเกษตรสามารถทําอะไรได้มากมายเพื่อแก้ปัญหานี้ และแสดงให้เห็นว่าออลเทคกําลังทํางานเพื่อช่วยเกษตรกรในการจัดการกับมัน

วอห์นได้แนะนําผู้ชมให้รู้จักกับหนึ่งในพันธมิตรด้านการวิจัยของออลเทค ที่มีชื่อว่า Archbold Expeditions ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ของสถานีวิจัย Buck Island Ranch ที่มีขนาด 10,000 เอเคอร์ในฟลอริดา การวิจัยนี้จะทำการเฝ้าติดตาม inputs และ outputs ของพื้นดิน สารอาหาร และ มลพิษ เพื่อประเมินเทคนิคการสร้างแบบจําลองและกระบวนการทดลองสําหรับการประมาณปริมาณคาร์บอนและฟลักซ์ของสารอาหารที่เกิดขึ้นจากการผลิตปศุสัตว์

วอนห์อธิบายว่า การวิเคราะห์ข้อมูลการผลิตของ Buck Island Ranch ได้บันทึกปริมาณการปล่อยมลพิษจากการผลิตโคจำนวน 3,000 ตัว โดยมีการปล่อย CO2e  ปริมาณ 10,884 เมตริกตัน/ปี ซึ่ง 64% ของปริมาณการปล่อย CO2e มาจากกระบวนการหมักย่อยของสัตว์ อย่างไรก็ตาม จากการคาดคะเนการกักเก็บคาร์บอนโดยทุ่งหญ้าบาเฮีย ชี้ให้เห็นว่าทุ่งหญ้าใน Buck Island Ranch ช่วยกักเก็บ CO2e ได้ 17,813 เมตริกตัน/ปี นั่นหมายความว่ามีการกักเก็บ CO2e สุทธิอยู่ที่ 6,929 เมตริกตัน/ปี

สิ่งนี้หมายความว่าอย่างไรสําหรับเกษตรกร? วอนห์ชี้ให้เห็นว่า จากข้อมูลดังกล่าว หากมีการนำแนวทางการจัดการทุ่งหญ้ามาใช้ การเกษตรอาจอยู่ในตําแหน่งที่จะสามารถจัดหาทรัพยากรอาหารที่ประชากรโลกต้องการ ในขณะเดียวกันก็มีส่วนร่วมในการช่วยอนุรักษ์และฟื้นฟูโลกไปพร้อมกัน และเขายังกล่าวว่า หากเรามุ่งเน้นไปที่กลยุทธ์การเพิ่มประสิทธิภาพอาหารสัตว์และประสิทธิภาพในการเติบโต รวมถึงกลยุทธ์การจัดการเรื่องการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่เลี้ยงสัตว์ เราจะสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า 50%

"ความสามารถของเราที่จะจัดการกับเรื่องนี้จะสําคัญมากขึ้น" วอนห์อธิบาย "ไม่มีใครอยู่ในตําแหน่งที่จะทําสิ่งนี้ได้ เหมือนพวกเรา"

เมื่อถูกถามว่าจะทําให้สิ่งนี้เป็นจริงได้อย่างไร วอนห์กล่าวว่า เราต้องสร้างการเปลี่ยนแปลงทางความคิดก่อน โดยอาจต้องพัฒนารูปแบบของวิธีการเข้าถึงเหล่าเกษตรกรได้ในวงกว้าง เพื่อทำให้ให้เกษตรกรเข้าใจว่าพวกเขาสามารถโฟกัสที่การผลิตอาหารและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกันได้ หากตรงนั้นสำเร็จ เราถึงจะสามารถรักษาอนาคตของโลกได้

โภชนาการสําหรับทุกคน

สะท้อนข้อความของวอนห์ถึงความสําคัญของการรักษาโลกที่เราอาศัยอยู่ นิกกี พุดนัม แบดดิง(Nikki Putnam Badding) กรรมการผู้จัดการและหัวหน้านักกําหนดอาหารของ Acutia มุ่งเน้นไปที่การขยายธีมนี้ไปยังประชากรโลก

"ความยั่งยืนไม่ได้เริ่มต้นและจบลงด้วยเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม" นิกกี้อธิบาย "จริง ๆ แล้วมันหมายความว่าเรากําลังดูแลสุขภาพของโลกและผู้คนที่อยู่ร่วมกันบนโลกใบนี้"

นิกกี้ได้แสดงตัวเลขที่น่าหนักใจให้ผู้เข้าร่วมประชุม ONE ให้เห็นว่า 1 ใน 10 ประชากร มีภาวะโภชนาการต่ำ ในขณะที่ 1 ใน 4 มีภาวะทุพโภชนาการ ปัญหาเหล่านี้อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอย่างรุนแรง เช่น ภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการตั้งครรภ์ ปัญหาโรคหัวใจ และปัญหาสมรรถนะของการรู้คิด นอกจากนี้ยังมีผลกระทบด้านอื่นที่ตามมา เช่น การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ความยากจน และจํานวนเด็กที่ได้รับการศึกษาลดลง

"มันเพียงพอหรือไม่ ที่จะแค่ผลิตอาหารให้แก่โลก?" นิกกี้ถาม "เราจําเป็นต้องผลิตสารอาหารสําหรับทุกคนและเปลี่ยนบทสนทนาจากความมั่นคงด้านอาหารไปสู่ความมั่นคงด้านโภชนาการหรือไม่?"

นิกกี้เชื่อว่าการเกษตรมีโอกาสที่จะเป็นฮีโร่ของโลกในสถานการณ์เช่นนี้ เนื่องจากสุขภาพสังคมเริ่มต้นขึ้นในดิน เธออธิบายว่า ผู้คนรู้ว่าสุขภาพของดินและสุขภาพของมนุษย์มีความสัมพันธ์กันอย่างแท้จริงมาตลอดในประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีหลักฐานสนับสนุนจากกรณีศึกษาจํานวนมากที่แสดงให้เห็นว่าการทำให้ดินกลับมามีสารอาหารที่สมบูรณ์ จะสามารถแก้ไขปัญหาสุขภาพของมนุษย์ได้มากมาย

อย่างไรก็ตามเมื่อเรานําสารอาหารกลับมาสู่ดิน นิกกี้กล่าวว่า เราต้องมุ่งเน้นไปที่วิธีที่จะทำให้ผู้คนได้รับสารอาหารได้ดีที่สุด และนี่คือจุดที่สัตว์เข้ามามีบทบาท

"ปศุสัตว์เป็น upcyclers ดั้งเดิมของธรรมชาติ" นิกกี้ระบุ "พวกเขาใช้สิ่งที่มีอยู่ในพืชซึ่งร่างกายของคนเราไม่สามารถนำไปใช้ได้ และผลิตเนื้อสัตว์ นม และไข่ ที่เต็มไปด้วยโปรตีน หนาแน่นไปด้วยสารอาหาร และดูดซึมได้สูง"

นิกกี้ยังเปิดเผยว่า การเพิ่มคุณค่าของผลิตภัณฑ์ด้วยสารอาหารไม่เพียงแต่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของมนุษย์ แต่ยังมีประโยชน์ต่อการเกษตรในเชิงการค้าอีกด้วย การศึกษาแสดงให้เห็นว่า 48% ของผู้บริโภค ยินดีที่จะจ่ายมากขึ้นสําหรับอาหารเพื่อสุขภาพ ในขณะที่ 72% เชื่อว่าธุรกิจจําเป็นต้องมีบทบาทมากขึ้นในเรื่องความพร้อมด้านการผลิตและการเข้าถึงอาหารเพื่อสุขภาพ

"เราต้องจําไว้ว่า ดิน พืช สัตว์ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพของมนุษย์ มีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้งและจุดมุ่งหมายของเรามีมากกว่าการทําฟาร์ม" นิกกี้สรุป "มันเป็นมากกว่าการผลิตอาหาร มันเป็นมากกว่าการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มันค้ำจุนชีวิตและสุขภาพของโลก รวมถึงชีวิตและสุขภาพของผู้คนอยู่ร่วมกันบนโลกใบนี้"

สําหรับเนื้อหาเพิ่มเติมจากงาน Alltech ONE Conference โปรดเข้าชม one.alltech.com

Loading...