Skip to main content

การเสริมอาหารเพื่อประโยชน์ในการเพาะเลี้ยงกุ้ง

การเสริมอาหารเพื่อประโยชน์ในการเพาะเลี้ยงกุ้ง

 

ค้นหาแนวทางส่งเสริมภูมิคุ้มกันและก่อให้เกิดผลผลิตที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในฟาร์มกุ้ง

ถึงแม้ว่าการเพาะฟาร์มกุ้งจะเป็นสิ่งใหม่ในบราซิล แต่ก็สะท้อนให้เห็นศักยภาพที่ดีทั้งตลาดในประเทศและนอกประเทศ ปัจจุบันนี้พื้นที่อนุบาลกุ้งในบราซิลมีประมาณ 156,000 ไร่และกำลังจะขยายเป็น 6.25 ล้านไร่ อ้างอิงจากสมาคมฟาร์มกุ้งบราซิล หรือ Brazilian Shrimp Farmers Association (ABCCAM)

เพื่อเป็นการรักษาระดับผลผลิตที่สูงนี้ไว้ ผู้ผลิตได้ตั้งความหวังไว้กับสารเสริมจากธรรมชาติซึ่งเป็นทางเลือกในการพัฒนาและรักษาสุขภาพของสัตว์ พร้อมกับช่วยในการต่อสู้กับปัจจัยรบกวนทั้งหลาย เช่น ความเป็นพิษและการดูดซึมเชื้อแบคทีเรียก่อโรคที่เป็นอันตราย อีกทั้งแง่มุมอื่นที่มีความสำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพสัตว์ได้รวมทั้งต้องพิจารณาในส่วนของการควบคุมคุณภาพน้ำ ความใสของน้ำ ปริมาณออกซิเจนละลาย ส่วนประกอบไนโตรเจน ค่าความเป็นด่าง ความกระด้างของน้ำและอื่นๆ อีกมากมาย

“ทั้งๆ ที่มีศักยภาพเชิงธุรกิจที่ดีเยี่ยม แต่ผู้เพาะเลี้ยงกุ้งบางกลุ่มในบราซิลยังคงติดปัญหาบางอย่างที่เป็นอุปสรรคในการเจริญเติบโต” ฟาบิโอ รอดดิกส์ (Fabio Rodrigues) ผู้ประสานงานฝ่ายขายของออลเทค บราซิลกล่าว

“จากปัญหาทั้งหลายที่พบเจอในกุ้ง เราสามารถระบุปัญหาหลักๆ ได้ เช่น โรคจุดขาวในกุ้ง”

โรคนี้ทำให้ปริมาณผลลิตลดลงอย่างรวดเร็ว และนี่เป็นหนึ่งในเหตผลที่ว่าทำไมผลผลิตกุ้งในบราซิลปัจจุบันนี้ถึงเพียงพอแค่เฉพาะปริมาณการบริโภคในประเทศ เพราะเชื้อไวรัสได้ทำลายเซลล์อวัยวะต่างๆ ในระบบย่อยและระบบหายใจของกุ้ง

ในเรื่องนี้กล่าวได้ว่า การใช้สารเสริมอาหารสามารถปรับสมดุลของรอบการสืบพันธุ์ของกุ้งได้อย่างเหมาะสม ทำให้ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น

“การแก้ปัญหาเหล่านี้ทำให้ภูมิคุ้มกันและลดการอักเสบได้ดีขึ้น รวมทั้งคุณภาพเปลือกที่ดีขึ้นด้วย” รอดดิกส์กล่าว “แนวทางการแก้ปัญหาอื่นหน้าฟาร์มกุ้ง ได้แก่ การเสริมผลิตภัณฑ์ด้วยอาหารหมัก ด้วยการเสริมเพิ่มเติมในส่วนผสมอาหาร”

วิธีแก้ปัญหา

ออลเทคเสนอวิธีแก้ปัญหาสำหรับโรงงานอาหารสัตว์และผู้เพาะเลี้ยงกุ้งเพื่อปรับโภชนาการของสัตว์เปลือกแข็งและเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิต ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ เช่น อะเควท (Aquate) ที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาของกุ้งและสะท้อนออกมาในรูปของการควบคุมต้นทุนที่ดีขึ้นสำหรับผู้ประกอบการ

Loading...