Skip to main content

จอร์จ คอร์โดวา : กระแสไวรัลในการทำฟาร์มกุ้ง

The SoundCloud content at https://soundcloud.com/alltech-1/088-viral-trends-in-shrimp-farming-jorge-cordova#t=0:00 is not available, or it is set to private.

อุตสาหกรรมสัตว์น้ำจะมีบทบาทสำคัญในการเป็นแหล่งอาหารของโลก ด้วยนวัตกรรมในการทำฟาร์มกุ้งสำหรับทางออกเพื่อสุขภาพและการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน  ทำให้ผู้ผลิตสามารถตอบสนองต่อความต้องการระดับโลกได้

 

ท่านสามารถรับฟังบทสัมภาษณ์ที่นิโคล เออร์วินสัมภาษณ์จอร์จ คอร์โดวา เพิ่มเติมได้ที่วีดีโอ Soundcloud ด้านบน:

 

นิโคล: ตอนนี้เรากำลังอยู่กับคุณจอร์จ คอร์โดวา ผู้จัดการการผลิตในฟาร์มกุ้งที่ Naturisa ประเทศเอกวาดอร์  คุณจอร์จคะ ช่วยบอกเราหน่อยได้ไหมคะว่าคนบนโลกนี้รักการกินกุ้งมากขนาดไหน?

 

จอร์จ : เราอาจเริ่มต้นกันด้วยการกล่าวถึงอุตสาหกรรมกุ้งในเอกวาดอร์สักเล็กน้อยครับ

 

นิโคล: ได้ค่ะ

 

จอร์จ :              นี่คืออุตสาหกรรมที่มีมากว่า 50 ปีแล้วครับ ย้อนกลับไปเมื่อราวๆ ปี 68 – 69 เมื่อสมัยที่พวกเขาเริ่มสร้างบ่อน้ำขนาดใหญ่ เริ่มมีการเลี้ยงสัตว์ตัวเล็กๆ ต่างๆด้วยแหล่งน้ำธรรมชาติ และนี่เองเป็นจุดเริ่มต้นให้พวกเขาเริ่มคิดถึงการจับกุ้งจากบ่อน้ำนี้นั่นเอง

          จากนั้นในยุคปี 70 เริ่มมีการลงทุนอย่างจริงจังขึ้น จนเริ่มรุ่งเรืองมากขึ้นในปี 80 เริ่มมีผู้คนมากมายสนใจและหลั่งไหลเข้ามาในธุรกิจนี้  จนกระทั่งเรื่มเกิดโรคระบาดในปี 90 เกิดเป็นปัญหาใหญ่มากมาย  และหลังจากปี 1999 เมื่อเกิดโรคจุดขาวในกุ้ง ซึ่งนับว่าเป็นโรคร้ายแรงที่เกดจากเชื้อไวรัส ทำให้เกิดการตื่นตัวมากขึ้นในวงการและเริ่มมีการพัฒนากระบวนการผลิตมาเรื่อยๆ ตลอดระยะเวลากว่า 18 ปีที่ผ่านมา    นั่นคือสถานการณ์ในเอกวาดอร์  แต่ในระดับโลกก็พบว่ามีการเติบโตของตลาดการผลิตกุ้งขึ้นเรื่อยๆ ทั่วโลก ทวีปเอเชียถือเป็นผู้เล่นหลัก โดยเฉพาะประเทศอินเดียที่ธุรกิจนี้เติบโตขึ้นเรื่อยๆ  แม้แต่ในประเทศสหรัฐอเมริกาเองก็ยังพบว่ามีการผลิตกุ้งในระดับเล็กๆ ด้วย นับเป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นทีเดียวครับ  กุ้งนับเป็นสินค้าหลักในหมวดสัตว์น้ำและอาจเป็นสปีชี่ส์ที่จะเป็นอาหารหลักของคนทั่วโลกในอนาคตอันใกล้นี้ด้วยนะครับ  มีการเรียนรู้ใหม่ๆ เกิดขึ้นทุกวันในการทำฟาร์มกุ้ง คุณจะไม่มีวันรู้ทุกเรื่องได้จริงๆ ครับ

 

นิโคล: อย่างนี้มีส่วนไหนของโลกบ้างที่ฟาร์มกุ้งสามารถเข้าถึงได้บ้าง ที่ไหนที่มีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่จะนำมาใช้ได้ตั้งแต่เริ่มต้นบ้าง?

 

จอร์จ : มีครับ ยกตัวอย่างเช่น ที่เอกวาดอร์ เริ่มมีจำนวนนักลงทุนเพิ่มมากขึ้นที่ทำฟาร์มกุ้งในน้ำที่มีความเค็มน้อย การเลี้ยงแบบนี้จะมีอุปสรรคค่อนข้างน้อย  เป็นเรื่องของการใช้เงินลงทุนอย่างชาญฉลาด  แน่นอนว่ามีอีกหลากหลายวิธีที่จะเลี้ยงกุ้ง นั่นคือคุณสามารถลงทุนได้มากขึ้นด้วย แต่ทั้งนี้คุณเลือกได้ที่จะเป็นนักลงทุนแบบลงทุนน้อยๆ ได้อีกด้วย  ขึ้นอยู่กับแค่คุณรับความเสี่ยงในการทำฟาร์มกุ้งได้ขนาหไหน  มันไม่ใช่เรื่องง่ายแต่มันเป็นเรื่องที่เต็มไปด้วยความสนุกทีเดียว

 

นิโคล: แล้วสิ่งแวดล้อมแบบไหนที่จำเป็นสำหรับฟาร์มกุ้งคะ?

 

จอร์จ : ทั้งหมดนี้ขึ้นต้นกับสิ่งแวดล้อ้อมแบบน้ำกร่อยซึ่งถือเป็นระบบสำหรับสัตว์น้ำที่เปลี่ยนระดับความเค็มของน้ำให้เพิ่มขึ้น  แต่ทุกวันนี้ส่วนใหญ่เลี้ยงในภาวะน้ำที่มีความเค็มน้อยจนแทบจะเป็นน้ำจืด หรือมีความเค็มปานกลางจนไปถึงระดับความเค็มแบบน้ำทะเล ดังนั้นจะเห็นได้ว่ามีพื้นฐานที่หลากหลายมากในการเลี้ยงกุ้ง

 

นิโคล: แต่โดยส่วนมากแล้ว การจัดการโรครับเป็นประเด็นสำคัญเสมอมา คุณเองก็กล่าวถึงโรคจุดขาวก่อนหน้านี้

 

จอร์จ : ถ้าคุณทำตามหลักที่ถูกต้อง จัดเลี้ยงสัตว์ด้วยสภาวะที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโภชนาการ สุขภาพและสิ่งแวดล้อม  คุณเองก็สามารถหลีกเลี่ยงการเกิดโรคเหล่านี้ในการเลี้ยงกุ้งได้

 

นิโคล: อย่างนั้นถ้าจะกล่าวถึงในแง่ของการป้องกันแล้ว โภชนาการอาหารนั้นมีผลต่อสุขภาพโดยรวมของกุ้งขนาดไหน?

 จอร์จ :             นั่นเป็นพื้นฐานเลยครับ  ตัวอย่างเช่นทุกวันนีเราพยายามเรียนรู้เกี่ยวกับโภชนาการอาหารและมีความพยายามจะเปลี่ยนไมโครไบโอม  ระบบโครงสร้างของจุลินทรีย์ทั้งหมดในสัตว์ที่อย้ในระบบทางเดินอาหารและสภาพแวดล้อมที่มันอาศัยอยู่  ซึ่งทำให้เราช่วยให้สัตว์มีสุขภาพที่ดีขึ้นได้  ดังนั้นโภชนาการทางอาหารนับเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อจุลินทรีย์  แบคมีเรียและระบบนิเวศจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารและสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยของสัตว์นั่นเอง

 

นิโคล: มีการใช้พรีไบโอติกในกุ้งบ้างไหมคะ?

 

จอร์จ : แน่นอนครับ  ผมกำลังนำเสนอสมมติฐานจากการใช้พรีไบโอติกร่วมกับโพรไบโอติกทำงานร่วมกันและเรียกว่า ซินไบโอติก (synbiotics)  เราเชื่อว่าซินไบโอติกเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาผลผลิตกุ้งที่มีสุขภาพดีได้ในอนาคต

 

นิโคล: แล้วจากประสบการณ์ของคุณเอง  ในอุตสาหกรรมนี้ให้อะไรเป็นอาหารหลัก?

 

จอร์จ : จริงๆ มีงานวิจัยเรื่องโภชนาการอาหารในกุ้งมากมายตลอดเวลากว่า 40 ปีที่ผ่านมา ทุกวันนี้เริ่มมีการผลิตอาหารเม็ดที่มาจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในแง่ของชนิดโปรตีนและปริมาณเปอร์เซ็นต์โปรตีนที่ต้องการ พลังงานที่ต้องการ

 

นิโคล: เราจำเป็นต้องให้อาหารกุ้งบ่อยแค่ไหนคะ?

 

จอร์จ : เป็นคำถามที่ดีเลยครับ  ใน 5 ปีที่ผ่านมา เราเรียนรู้มากมายเกี่ยวกับเรื่องนี้  เพื่อให้คุณเข้าใจเรื่องนี้มากขึ้น ใน 6 - 7 ปีที่ผ่านมา เรามีการให้อาหารลงในบ่อน้ำขนาดใหญ่  โดยมีการให้อาหาร 1 - 2 ครั้งต่อวัน  บางทีก็อาจเป็น 3 ครั้งต่อวัน  อาจกล่าวได้ว่าในปี 2556 มีบริษัทในประเทศออสเตรเลียได้ใช้ซอฟแวร์แบบใหม่เพื่อให้ได้ยินเสียงสัตว์เวลาคุณให้อาหารในบ่อ ลองจินตนาการดูถึงเสียงของสัตว์ 1 ตัว, 10 ตัวหรือล้านตัวที่ได้รับอาหารนั่นเป็นเสียงจำนวนมาก และพวกเขาก็สามารถตรวจวัดเสียงเหล่านี้แล้วคำนวณเป็นปริมาณอาหารที่ให้ในบ่อได้  เครื่องมือนี้สามารถให้อาหารสัตว์ได้ถึง 200 ครั้งต่อวัน หรือ 150 ครั้งในปริมาณน้อยๆ เครื่องมือนี้ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของปริมาณอาหารแลกเนื้อ (feed conversion rate) การเติบโตรวมถึงอัตราการอยู่รอด  โดยการจัดการให้อาหารสัตว์เมื่อมันต้องการอาหารเท่านั้น  ก่อนหน้านี้เราจะให้อาหารตั้งแต่เช้าตรู่  แต่เราพบว่าพวกมันไม่ได้อยากกินอาหารตอนเช้าตรู่  แต่มันกลับต้องการอาหารในช่วงกลางคืนมากกว่า  เทคโนโลยีนี้เองที่ทำให้เรามีความเข้าใจมากขึ้นถึงการให้อาหารสัตว์  ดังนั้นเพื่อตอบคำถามของคุณว่าเราให้อาหารสัตว์เหล่านี้บ่อยแค่ไหน คำตอบคือเราให้บ่อยเท่ากับที่มันต้องการอาหารนั่นแหละครับ

 

นิโคล: เทคโนโลยีนี้ใช้งานได้จริงหรือไม่ อย่างไร?

จอร์จ : คุณสามารถซื้อมันและทดลองใช้ได้เลย เอาตามจริง เราไม่มีทางรู้หรอกว่าเทคโนโลยีนี้ทำงานได้ดีจริงหรือไม่ มันคือการไปกระจายให้อาหารในบ่อขนาดใหญ่หรือเราอาจจะกำลังให้อาหารในพื้นที่เล็กๆ ก็ได้ พวกมันจะมากินอาหารหรือไม่ หรือจะจากไปโดยที่ไม่มีการต่อสูแย่งชิงอาหารกันหรือไม่ เราไม่มีทางรู้  แต่เราเรียนรู้ได้ว่าอย่างน้อยสัตว์เหล่านี้ก็เข้ามาเพื่อกินอาหาร

          เทคโนโลยีนี้สามารถใช้งานได้แล้ว คุณเองสามารถประเมินประสิทธิภาพได้จากปริมาณอาหารแลกเนื้อ (feed conversion rate) และอัตราการอยู่รอดนั่นเอง

 

นิโคล: ขอย้อนกลับไปในเรื่องของสภาพแวดล้อมที่ทำให้สุขภาพดี  ในปี 2559 บริษัทได้รับทุนรางวัลสำหรับงานวิจัยเรื่องการใช้นเทคโนโลยีการตัดต่อจีโนม, CRISPR-Cas  เพื่อระบุจีโนมในระบบของสิ่งมีชีวิต  จากการศึกษาพบว่าส่งผลในส่วนการแพร่กระจายโรคโดยการพัฒนาระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ  คุณมีความเห็นอย่างไรต่อเรื่องนี้บ้างคะ?

 

จอร์จ : เรายังอยู่กันในการศึกษาขั้นต้นอยู่ ผมเชื่อว่าน่าจะมีหลายๆ บริษัทแล้วที่ลงทุนศึกษาจริงจังในเรื่องนี้ และน่าจะมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคตอันใกล้นี้ แต่อย่างที่บอก มันแค่เริ่มต้นเท่านั้นเองครับ

 

นิโคล: มีความเป็นไปได้แต่ไหนในการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ในด้านการวิจัยและพัฒนาคะ?

 

จอร์จ : อย่างที่บอกครับ ผมเชื่อว่าเทคโนโลยีเหล่านี้จำเป็นต้องมีการลงทุนก่อน แต่เมื่อเวลาผ่านไปเทคโนโลยีเหล่านี้จะให้ผลตอบแทนกลับมาอย่างแน่นอนจากการพัฒนาการวิจัยเรื่องจีโนม

 

นิโคล: อย่างนั้นถ้าสิ่งนี้ได้รับการพัฒนาแล้ว เราอาจกล่าวได้ว่าคุณก็จะสามารถสร้างระบบต้านทานโรคให้กุ้งได้หรอคะ?

 

จอร์จ : ใช่ครับ เช่น เราเลือกสัตว์จากจีโนมที่มีความทนทานต่อสิ่งแวดล้อมหรือโรค ทำให้เราสามารถบ่งชี้ถึงกลุ่มสัตว์ที่เราคิดว่าต้องการผสมพันธุ์ต่อไปได้  และนี่ก็เป็นประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจต่อไปในอนาคตจากการใช้เทคโน

 

นิโคล: หากเทคโนโลยีนี้ได้ถูกพัฒนาใช้งาน  คุณคิดว่าจำเป็นไหมที่ต้องมีการติดฉลากใหม่สำหรับผู้บริโภค?

 

จอร์จ :  ผมคิดว่าไม่นะครับ  เพราะว่าไม่มีการเปลี่ยนถ่ายยีนระหว่างสปีชี่ส์  มันเป็นแตค่เพียงวิธีการเลือกสัตว์ให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมเท่านั้นเอง โดยวิธีนี้จะส่งผลให้สัตว์มีการเจริญเติบโตที่เร็วขึ้น มีการอยู่รอดสูงขึ้นในสภาพแวดล้อมที่เลวร้าย  ส่วนตัวผมไม่คิดว่าเราควรบอกผู้บริโภคว่านี่คือผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างออกไป  จริงๆ สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่  มันยังคงเป็นกุ้งเหมือนเดิมแต่แค่เตรียมความพร้อมให้พวกมันอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมนั้นๆ

 

นิโคล: เข้าใจแล้วค่ะ  อย่างนี้เชื้อไวรัสอย่างโรคจุดขาวรุนแรงเกินไปที่จะป้องกันได้หรือไม่? ฉันหมายถึงว่าแนวทางการจัดการที่ดีที่สุดที่คุณเคยใช้มาคืออะไรคะ?

 

จอร์จ :  อันนี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างตลกนะครับ  เราโดนโจมตีด้วยโรคจุดขาวมาตั้งแต่ปี 2542 แล้ว อย่างที่ผมเคยคุยเรื่องเกี่ยวกับเอกวาดอร์ หลายๆงานวิจัยกล่าวว่า เราใช้หลักของ SPF หรือ specific pathogen free ดังนั้นคุณต้องเลือกสัตว์ที่แน่ใจว่าปราศจากเชื้อไวรัส  พวกสัตว์ที่แข็งแรงมากๆ แต่ถ้าว่ากันตามหลักปฏิบัติของโรงงานในเอกวาดอร์แล้วนั้น คุณไม่สามารถทำอย่างนั้นได้  เรากำลังพูดถึงบ่อน้ำกลางแจ้งซึ่งไม่มีทางที่เราจะรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพได้จริงๆ ทั้งหมด แต่คุณจำเป็นต้องใช้หลักนี้ในการเลี้ยงสัตว์ SPF ดังนั้นโอกาสเดียวในตอนนั้นคือต้องนำกุ้งที่อยู่รอดกลับมาผสมพันธุ์ใหม่และนำลูกของมันกลับสู่บ่อใหม่

ตลอด 5 - 6 ปีที่ผ่านมาเราได้เห็นอัตราการอยู่รอดที่ดีขึ้น  มีสมมติฐานมากมายเพื่อหาเหตุผลในสิ่งเหล่านี้ นักวิจัยบางคนต่างมีความคิดของตัวเองที่ต่างกันออกไป  ผมเองก็ไม่มีภาพชัดเจนว่าเกิดอะไรขึ้น  ว่าเกิดจากที่สัตว์มีภูมิต้านทานที่ดีขึ้นหรือเชื้อไวรัสได้หายไปจริงๆ

          ผมกำลังจะแสดงให้เห็นว่าจากสถิติผลผลิตในเอกวาดอร์ ทำให้เห็นว่าผลผลิตมีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ในทุกปี ทั้งหมดนั้นชนิดของสัตว์ที่เลือกขึ้นอยู่กับประเภทสภาพแวดล้อมเป็นสำคัญ

 

 

นิโคล: แล้วผู้บริโภคเองมีความสงสัยเรื่องการทำฟาร์มกุ้งอย่างไร  และเป็นแรงขับเคลื่อนการพัฒนาเรื่องการให้อาหารสัตว์และสภาพแวดล้อมบ่อน้ำที่ดีได้อย่างไรบ้าง?

 

จอร์จ :  ผมจะยินดีเป็นอย่างยิ่งถ้าพวกเขาจะมีความสงสัยมากมาย  นี่เองที่จะทำให้พวกเขาสามารถหาความแตกต่างและบอกได้ว่ากุ้งที่พวกเขากำลังบริโภคนั้นมากจากไหน  อุตสาหกรรมในเอกวาดอร์เริ่มจริงจังกับเรื่องนี้มากขึ้นในปีนี้  ผมเชื่อว่านี่จะทำให้โลกรู้ว่าเรากำลังเลี้ยงกุ้งอย่างยั่งยืนโดยการใช้ซินไบโอติก  โดยการใช้ผลิคภัณฑืจากธรรมชาติเพื่อเลี้ยงกุ้งให้เติบโตด้วยวิธีธรรมชาติ

 

นิโคล: เพื่อขยายความเข้าใจให้มากขึ้นอีกนิด  จุดไหนของการควบคุมสภาพแวดล้อมที่คุณคิดว่าทำให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการในอนาคตของผู้บริโภคได้?

 

จอร์จ :  ซินไบโอติก เราได้กล่าวกันในตอนต้นถึงพรีไบโอติก โพรไบโอติก  มีการศึกษาเรียนรู้มากมายในส่วนนี้  พยายามใช้พรีไบโอติกและโพรไบโอติกเพื่อสร้างซินไบโอติกที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพสัตว์  ระบบูมิคุ้มกันและความสามารถในการดูดซึมสารอาหารที่ดีขึ้น  ถึงแม้ว่าคุณจะให้อาหารที่คุณภาพดีที่สุดแล้ว แต่หากสัตว์ของคุณติดโรคแล้ว มันเป็นเรื่องยากจริงๆ  ดังนั้นผมคิดว่าเป็นอีกสิ่งที่เราควรใส่ใจในอนาคต  ยิ่งสภาพแวดล้อมได้รับการควบคุมที่ดีมากเท่าไรหรือมีความเป็นธรรมชาติที่เหมาะสมต่อการเจริญเติยโตของกุ้งมากเท่าไร  ก็ยิ่งเป็นผลดีมากขึ้นเท่านั้นครับ  ผมหมายถึงว่าเราสามารถผลิตกุ้งได้อย่างยั่งยืน

 

นิโคล: และนี่คือจอร์จ คอร์โดวา  ผู้จัดการฝ่ายผลิตในฟาร์มกุ้งที่ Naturisa ประเทศเอกวาดอร์ ขอบคุณมากค่ะ

 

จอร์จ :  ขอบคุณครับ

Loading...