Skip to main content

เสริมความเข้าใจเรื่องการดื้อยาปฏิชีวนะของเชื้อโรค

ผลงานวิจัยของดร.ริชาร์ด เมอร์ฟี มีความหลากหลายและเน้นไปที่การศึกษาเรื่องจุลธาตุและชีวประสิทธิผลของแร่ธาตุ อิทธิพลของไมโครไบโอมต่อสุขภาพทางเดินอาหาร การควบคุมเชื้อก่อโรค การดื้อยาต้านจุลชีพ เคมีโคออร์ดิเนชั่นและปฏิกิริยารีดอกซ์ของเซลล์ 

องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ระบุให้การดื้อยาของเชื้อโรค (antimicrobial resistance: AMR) เป็นภัยคุกคามด้านสาธารณสุขในระดับโลก แต่เรื่องนี้มีความหมายอย่างไรต่อผู้บริโภคและผู้ผลิต? ดร. ริชาร์ด เมอร์ฟี (Richard Murphy) ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยศูนย์ชีววิทยาของ Alltech ประจำภูมิภาคยุโรป ได้มาร่วมพูดคุยในพ็อดคาสต์รายการ Ag Future ในหัวข้อการผลิตที่ปราศจากยาปฏิชีวนะและความเชื่อมโยงระหว่างการควบคุมเชื้อโรคและการควบคุม AMR

ด้านล่างนี้เป็นบทสัมภาษณ์ ดร. ริชาร์ด เมอร์ฟี ทางพ็อดคาสต์ในรายการ Ag Future ดำเนินรายการโดยทอม มาร์ติน (Tom Martin)

ทอม:               สวัสดีครับ ขอต้อนรับเข้าสู่รายการ Alltech Ag Future นะครับ เราร่วมพูดคุยกันในวันนี้จากงาน Alltech ONE Conference 2022 งานประชุมที่เปิดโอกาสให้พวกเราร่วมค้นหาโอกาสที่สดใสในอุตสาหกรรมเกษตร-อาหาร ธุรกิจ และหัวข้ออื่นๆ ครับ

 

                       ดร. ริชาร์ด เมอร์ฟี ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยศูนย์ชีววิทยาของ Alltech ประจำภูมิภาคยุโรปที่เมือง Dunboyne ไอร์แลนด์ งานวิจัยของเขาได้แก่ การผลิตเอนไซม์ที่มีความสำคัญในเชิงอุตสาหกรรม รวมถึงการอธิบายลักษณะทางกายภาพและเคมีของจุลธาตุอินทรีย์และแร่ธาตุ พร้อมด้วยเทคโนโลยีการหมักจุลินทรีย์

 

                       ผม ทอม มาร์ติน และตอนนี้ ดร. เมอร์ฟี อยู่กับเราที่นี่แล้วในพ็อดคาสต์รายการ Alltech Ag Future เพื่อร่วมพูดคุยเกี่ยวกับผลกระทบระยะยาวจากการใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์ปีกและแก้ไขความเข้าใจที่เรามีต่อเรื่องการดื้อยาของเชื้อโรคหรือ AMR ครับ สวัสดีครับ ดร. เมอร์ฟี

 

ริชาร์ด:           ขอบคุณมากครับ ทอม สวัสดีครับ ยินดีเป็นอย่างยิ่งครับที่ได้มาเยี่ยมรายการอีกครั้ง

 

ทอม:               ปัจจุบัน องค์การอนามัยโลกได้ระบุให้การดื้อยาของเชื้อโรคเป็นภัยคุกคามด้านสาธารณสุขระดับโลกที่คร่าชีวิตผู้คนในประเทศสหรัฐฯ อย่างน้อย 23,000 รายต่อปีเลยทีเดียว ถ้าพูดถึงเชื้อโรคพวกนี้ เรามีความเข้าใจมากน้อยแค่ไหนและเราจะควบคุมมันได้อย่างไรบ้างครับ

 

ริชาร์ด:           เป็นคำถามเปิดที่ดีครับ ผมคิดว่าเรื่องนี้เราคุยกันได้ยาวมากเลย ผมแค่อยากดึงกลับมาให้อยู่ในด้านของ อย่างเช่นพวกการผลิตสัตว์ปีก การผลิตปศุสัตว์แบบนั้น ผมคิดว่าสิ่งที่เราค้นพบในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เวลาที่เราดูข้อมูลทั้งหมดทั้งมวลที่มี ก็คือว่าการดื้อยาของเชื้อโรคถือเป็นปัญหาเรื้อรังครับ ที่จริงอุตสาหกรรมเกษตรกรรมมีความก้าวหน้าอย่างมากในเรื่องการลดการใช้ยาปฏิชีวนะเพราะลดการใช้ลงไปได้ยิ่งกว่าเดิม  แต่ถ้าดูข้อมูลแบบปีต่อปีแล้ว แม้ว่าการใช้ยาต้านจุลชีพและยาปฏิชีวนะจะลดลงก็ตาม แต่เรายังไม่มีแนวโน้มจะได้เห็นการดื้อยาในหมู่เชื้อโรคที่กระทบต่อมนุษย์อย่างเชื้ออีโคไล (E. coli), ซาลโมเนลลา (Salmonella) หรือแคมไพโลแบคเตอร์ (Campylobacter) มีความชุกลดลงในลักษณะเดียวกันเลย

 

                              โดยทั่วไปผมก็มักจะพูดว่าการดื้อยาเป็นปัญหาเรื้อรัง และนี่ก็เป็นความท้าทายในอุตสาหกรรมของเราด้วย เนื่องจากถึงแม้ว่าปัจจุบันนี้เราจะมุ่งหน้าสู่การลดการใช้ยาปฏิชีวนะหรือเริ่มเปลี่ยนระบบการผลิตเป็นแบบปราศจากยาปฏิชีวนะหรือไม่ใช้ยาปฏิชีวนะเลยก็ตาม แต่เราก็ยังต้องตระหนักไว้เสมอว่ายังมีปัญหาเรื้อรังในเรื่องการดื้อยาของเชื้อโรคซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะอาหารเป็นพิษได้ ดังนั้น ความท้าทายสำหรับผู้ผลิตสัตว์ปีกและปศุสัตว์คือ เราจะควบคุมเชื้อโรคและกับการดื้อยาของเชื้อโรคไปพร้อมกันได้อย่างไร ผมคิดว่านี่ล่ะกุญแจสำคัญ คือแทนที่เราจะโฟกัสที่การดื้อยาของเชื้อโรคอย่างเดียว เราต้องโฟกัสที่ตัวเชื้อโรคด้วย เพราะเชื้อโรคพวกนี้มีความชุกของการดื้อยาในระดับสูงอยู่แล้ว

 

                              ผมเดาว่ากลุ่มใน Dunboyne ที่ผมทำงานด้วยและมีความสุขกับการทำงานมากๆ พวกเราโฟกัสที่การทำความเข้าใจกับความเชื่อมโยงระหว่างการควบคุมเชื้อโรคและการควบคุมการดื้อยาของเชื้อโรคอย่างมากเลยล่ะครับ ซึ่งเรื่องที่สำคัญมากๆ สำหรับเราในตอนนี้คือแนวคิดในการควบคุมเชื้อโรคและการที่เราได้ประโยชน์เพิ่มจากการควบคุมการดื้อยาของเชื้อโรคไปด้วย หรืออย่างน้อยก็คือลดปัญหาการดื้อยาของเชื้อโรคลงครับ

 

ทอม:               ครับ ก่อนที่เราจะไปพูดกันถึงเรื่องเชื้อโรค ผมอยากขอเก็บตกเรื่องที่คุณเพิ่งพูดไป ในเรื่องการรับรู้ของสาธารณชน ผมสงสัยว่าการรับรู้ของสาธารณชนต่อปัญหานี้ตรงตามข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์แล้วหรือเปล่า เพราะฟังดูแล้วเหมือนจะมีความคืบหน้า มีพัฒนาการอยู่บ้างเหมือนกันนะครับ

 

ริชาร์ด:           ก็คืบหน้าอยู่ครับ แต่ผมไม่คิดว่าคนทั่วไปจะตระหนักถึงระดับและขอบเขตของปัญหานี้ เพราะมันไม่ได้อยู่แค่ในอุตสาหกรรมการผลิตปศุสัตว์และสัตว์ปีกอย่างเดียวแต่กระจายไปทั่วแล้ว คุณเจอการดื้อยาของเชื้อโรคได้แม้แต่ในพืชผักผลไม้ ดิน น้ำ นี่เป็นปัญหาระดับโลกนะครับ แล้วไม่ได้เชื่อมโยงแค่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเช่นการเกษตรหรือการเกษตรปศุสัตว์ด้วย ลามไปทุกที่จริงๆ ซึ่งผมคิดว่าคนทั่วไปไม่ได้ตระหนักถึงขอบเขตของปัญหาหรือประเด็นนี้ขนาดนั้นแน่นอน ที่สำคัญคือเราไม่อยากทำให้ตื่นตกใจกัน เราไม่อยากให้รู้สึกระแวงกันไปว่าอาหารที่กินอยู่ทุกวันนี้เต็มไปด้วยเชื้อโรคดื้อยาปฏิชีวนะหรืออะไรแบบนั้น แต่มันก็เป็นปัญหาจริงๆ เป็นปัญหาที่จำเป็นต้องมีการควบคุมด้วย

 

                              ทั่วโลกมีหน่วยงานที่มีอำนาจในการดูแลความปลอดภัยของอาหาร คอยดูแลอาหารที่เราบริโภคเข้าไป ไม่ว่าจะเป็นเนื้อ นม หรือไข่ หรือแม้แต่ผลิตภัณฑ์ผักอยู่แล้ว ยกตัวอย่างเช่น ดูแลให้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีความปลอดภัย สิ่งหนึ่งที่เราอยากบอกกับทุกคนคือ เรารู้ว่าในอุตสาหกรรมนี้มันมีปัญหา แต่ทั่วโลกก็พยายามอย่างเต็มที่ที่จะควบคุมประเด็นปัญหานี้และพยายามทำความเข้าใจเรื่องดังกล่าวนี้ให้ดียิ่งขึ้น

 

ทอม:               โอเคครับ เรามาคุยเรื่องเชื้อโรคกันสักหน่อยนะครับ เชื้อโรคตัวไหนบ้างครับที่มีความดื้อยาปฏิชีวนะในระดับที่แข็งแกร่งที่สุดและสูงสุด

 

ริชาร์ด:           ผมว่าตัวเด่นๆ 3 ตัว ได้แก่ อีโคไล ซาลโมเนลลา และแคมไพโลแบคเตอร์ น่าจะเป็นปัญหาใหญ่สุดสำหรับทั่วโลกแล้วครับ เชื้ออื่นๆ อย่างเช่นลิสเทอเรีย (listeria) ก็มี ซี ดิฟฟิไซล์ (C. Difficile)) ก็น่าจะเป็นปัญหาเหมือนกัน แต่ปัญหาใหญ่ที่สุดก็มาจากพวกอีโคไล ซาลโมเนลลา และแคมไพโลแบคเตอร์นี่ล่ะครับ

 

ทอม:               เมื่อปี 2020 มีงานวิจัยหนึ่งที่พูดถึงขอบเขต AMR ในอุตสาหกรรมไก่เนื้อในแคนาดา ช่วยอธิบายผลการวิจัยนี้ให้เราฟังสักหน่อยได้ไหมครับ

 

ริชาร์ด:           ได้ครับ งานวิจัยนี้ดีมากครับ แล้วก็โฟกัสที่อุตสาหกรรมไก่เนื้อในแคนาดาอย่างเดียว ซึ่งผมต้องขอพูดให้ชัดเจนตรงนี้เลยว่าเรื่องนี้ไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะที่แคนาดาที่เดียว แต่เป็นปัญหาระดับโลก แต่ว่านี่เป็นการสำรวจอุตสาหกรรมของแคนาดาเท่านั้น

 

ทอม:               แค่ที่แคนาดานะครับ

 

ริชาร์ด:           แค่ที่แคนาดาครับ ในกลุ่มอีโคไล เชื้ออีโคไลมากกว่า 80% ที่นักวิจัยได้คัดแยกออกมาสังเกต จะมีความดื้อยาปฏิชีวนะอย่างน้อยหนึ่งชนิด ส่วนซาลโมเนลลาจะมีความดื้อยาปฏิชีวนะอย่างน้อยหนึ่งชนิดมากกว่า 60% ครับ ดังนั้น ข้อมูลนี้จะทำให้เข้าใจหรือเป็นการบ่งบอกถึงระดับของปัญหาได้ ขนาดว่างานนี้ดูแค่จากกลุ่มเชื้ออีโคไลและซาลโมเนลลาในผลิตภัณฑ์จากไก่และเนื้อไก่ในอุตสาหกรรมแคนาดาเองนะครับ ทั่วโลกก็เป็นอย่างนี้เหมือนกันนั่นล่ะครับ ทอม

 

ทอม:               ที่จริงแล้ว เท่าที่ผมเข้าใจคืองานวิจัยนั้นได้มีการเปรียบเทียบการเพาะแยกเชื้ออีโคไลทั่วไป กับเชื้อในเนื้อไก่จากเดนมาร์ก เยอรมนี ฮังการี และสโลวีเนีย ซึ่งจากทั้งหมดนี้ เดนมาร์กมีระดับการดื้อยาต่ำที่สุด สิ่งที่เดนมาร์กทำถูกแล้วคือเรื่องอะไรครับ

 

ริชาร์ด:           เราน่าจะต้องไปดูที่ความต่างระหว่างการใช้ยาปฏิชีวนะและความต่างระหว่างกลไกการควบคุมยาปฏิชีวนะที่บังคับใช้อยู่ในแต่ละประเทศนะครับ มันอาจจะ... ผมว่าเราน่าจะต้องลองเปรียบเทียบกันดู และประเด็นที่ว่าการเปรียบเทียบนี้ยุติธรรมหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่น่าคิดครับ แต่แน่นอนว่าเดนมาร์กนี่ถือเป็นแนวหน้าในด้านความพยายามเฝ้าสังเกต ควบคุม และลดการใช้ยาปฏิชีวนะมาตลอดอยู่แล้ว ลักษณะการใช้ยาในเดนมาร์กและในแคนาดาหรือในพื้นที่เขตปกครองของประเทศอื่นๆ อาจจะมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญก็เป็นได้นะครับ

 

ทอม:               การดื้อยาปฏิชีวนะระดับสูงนี่ถ่ายทอดจากตัวสัตว์มาสู่เนื้อสัตว์ปีกที่ขายกันอยู่ในท้องตลาดได้ด้วยหรือครับ

 

ริชาร์ด:           ได้สิครับ มีการศึกษาหลายฉบับเลยครับที่แสดงให้เห็นว่าสัตว์มีชีวิตสามารถถ่ายทอดความดื้อยามาสู่ผลิตภัณฑ์ในท้องตลาดได้ เรื่องที่เราน่าจะกังวลมากที่สุดคือ การถ่ายทอดความดื้อยาที่ว่านี้มีขอบเขตแค่ไหนและสินค้าสำเร็จรูปเสี่ยงต่อเรื่องนี้อย่างไรบ้าง

 

ทอม:               ข้อมูลเกี่ยวกับเชื้อโรคในอุตสาหกรรมของเรามีความเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้างครับ และเราได้ทำอะไรไปแล้วบ้างเพื่อควบคุมในจุดนี้

 

ริชาร์ด:           นี่ก็เป็นอีกเรื่องที่ผมค่อนข้างสนใจเหมือนกันนะครับ ทอม เพราะคุณเข้าถึงข้อมูลความปลอดภัยด้านอาหารและบริการตรวจสอบจากสหรัฐฯ ได้อย่างง่ายดายทีเดียว ซึ่งมีการตีพิมพ์จำนวนไก่ในประเทศ ไก่งวง เนื้อหมู เนื้อวัว ทุกๆ ไตรมาสอยู่แล้ว คุณลองไปหารายชื่อซีโรไทป์ซาลโมเนลลาที่ FSIS ระบุไว้ดูก็ได้ ส่วนเรื่องที่ว่าทำอะไรไปบ้างแล้วนั้น ผมจะสรุปให้ฟังแบบย่อๆ นะครับ ตั้งแต่ปี 2016 ถึง 2021 จะเป็นที่สนใจกันว่าอุตสาหกรรมของเรามีความท้าทายอยู่ประมาณ 2 เรื่องคือ ไม่ใช่แค่ว่าซีโรไทป์มีหลากหลายมากเท่านั้น แต่ในช่วงเวลา 5-6 ปีนี้ยังไม่ได้จำกัดอยู่แค่ซีโรไทป์หนึ่ง สอง หรือสามประเภทด้วย ซีโรไทป์ซาลโมเนลลาที่ FSIS ระบุได้มีจำนวนมากพอสมควร บางตัวก็มีในระดับต่ำมาก บางตัวก็มีความชุกชุมมากขึ้นและความชุกสูงขึ้น

 

                              ในกลุ่มหลัก สิ่งที่เราสนใจคือในระหว่างช่วงปี 2016 ถึง 2021 มีความเปลี่ยนแปลงในเรื่องของความชุกและความชุกชุมของซีโรไทป์ ตัวอย่างเช่น ซาลโมเนลลา เอ็นเทอริทิดิส (Salmonella enteritidis) และซาลโมเนลลา ไทฟิมูเรียม (Salmonella typhimurium) ในขณะเดียวกัน เราก็พบว่าซาลโมเนลลา อินแฟนติส (Salmonella infantis) ก็เพิ่มสูงขึ้นมากในช่วง 5-6 ปีนั้นเช่นกัน สำหรับผู้ผลิตแล้ว เรื่องนี้ถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง เพราะตอนนี้คุณต้องรับมือไม่ใช่แค่กับซีโรไทป์หลายประเภท ซีโรกรุ๊ปซาลโมเนลลาหลายกลุ่มเท่านั้น แต่ยังมีการเปลี่ยนแปลงแบบชั่วคราวอีกด้วย คือมีการเปลี่ยนแปลงความชุกของซีโรไทป์ ดังนั้น ไม่ว่าจะใช้กลยุทธ์ควบคุมหรือจำกัดความชุกและความชุกชุมของซาลโมเนลลาอย่างไรก็ต้องเป็นแบบสเปกตรัมกว้าง โดยต้องสามารถรับมือกับซีโรไทป์หลากหลายประเภทที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ตามเวลาด้วย

 

ทอม:               เราทำให้สายพันธุ์ดื้อยาเหล่านี้อ่อนไหวต่อยาปฏิชีวนะมากขึ้นได้ด้วยหรือครับ และต่อให้เป็นอย่างนั้น แล้วคนทั่วไปมีการรับรู้หรือเสียงตอบรับต่อยาปฏิชีวนะอย่างไรบ้างครับ

 

ริชาร์ด:           คำถามนี้ก็ดีมากนะครับ เราทำอะไรเรื่องนี้มามากพอสมควรทีเดียว ถ้าจะให้ผมเล่าภาพรวมสิ่งที่เรากำลังศึกษากันอยู่แบบสั้นๆ นะครับ ทอม อย่างแรกเลยคือความสนใจหลักของเราอยู่ที่แนวคิดเรื่องไมโครไบโอมและวิธีใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ประจำถิ่น (microflora) ในลำไส้ เพื่อให้เกิดการควบคุมเชื้อโรคโดยธรรมชาติ เพราะถ้าคุณเพิ่มความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายของจุลินทรีย์ประจำถิ่นในลำไส้ ซึ่งจะทำให้ทางเดินอาหารดูแลจัดการตัวเองได้เป็นอย่างดีอยู่แล้ว แบบนั้นคุณจะได้สิ่งที่เรียกว่า “การต่อต้านการเกาะของเชื้อจุลินทรีย์ชนิดใหม่โดยจุลินทรีย์เดิม” คือมีแรงต่อต้านการตั้งถิ่นฐานเชื้อโรคในระบบทางเดินอาหารมากยิ่งขึ้น จากการศึกษาหลายต่อหลายครั้งในหลากหลายสายพันธุ์ เราพบว่าเราสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้นะครับ โดยเราก็ไปเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของสายพันธุ์(และ)ความหลากหลายของจุลินทรีย์ประจำถิ่นในลำไส้ด้วยการใช้พรีไบโอติกส์ที่มีแมนแนน เช่น ส่วนสกัดที่อุดมไปด้วยแมนแนน เป็นต้น

 

                              ในขณะเดียวกัน เราก็ได้รู้ว่าเวลาที่คุณทำให้ความหลากหลายเพิ่มขึ้นและทำให้เกิดการต่อต้านการเกาะของเชื้อจุลินทรีย์ชนิดใหม่โดยจุลินทรีย์เดิมแล้ว ก็มีแนวโน้มที่จะลดหรือจำกัดความชุกของเชื้อโรคในระบบทางเดินอาหารได้ด้วย ดังนั้น แค่หันมาจัดการในระดับโภชนาการ คุณก็เริ่มจำกัดความชุกของอีโคไล (และ) ซาลโมเนลลาได้เลยทันที เราค้นพบกับเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์, ซี ดิฟฟิไซล์ และแม้แต่ลิสเทอเรียว่า ที่จริงแล้วคุณสมบัติโดยธรรมชาติของไมโครไบโอมในลำไส้แสดงให้เห็นว่าคุณสามารถเริ่มยับยั้งเชื้อโรคจำนวนมากที่มีนัยเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารได้ นอกจากนั้น เราได้ทำงานเพิ่มเติมที่เน้นการคัดกรองกลุ่มเชื้ออีโคไลกับซาลโมเนลลาโดยเพิ่มส่วนสกัดที่อุดมไปด้วยแมนแนนเข้าไปในอาหารและสังเกตความชุกของการดื้อยาในบรรดาเชื้ออีโคไลและเอ็นเทอโรคอคไค (enterococci) ด้วย สิ่งที่ค้นพบคือ เมื่อคุณเปลี่ยนแปลงไมโครไบโอมและเปลี่ยนแปลงจำนวนเชื้อแบบที่ผมเพิ่งพูดไป ที่จริงนี่ก็เป็นการจำกัดขอบเขตความดื้อยาปฏิชีวนะในกลุ่มอีโคไลและเอ็นเทอโรคอคไคอย่างแน่นอนแล้วนะครับ ในขณะเดียวกัน เราก็โฟกัสที่คุณสมบัติทางพรีไบโอติกส์ของส่วนสกัดที่มีแมนแนนสูงนั้นด้วย โดยทั่วไปแล้ว เรื่องที่เรากำลังดูกันอยู่ตอนนี้คือว่าเราจะเปลี่ยนแปลงกระบวนการเผาผลาญอาหารของแบคทีเรียในภาพรวมได้อย่างไรบ้าง ซึ่งเราได้ใช้เชื้ออีโคไลเป็นสิ่งมีชีวิตตัวแบบในกรณีนี้ครับ

 

                              สิ่งที่เราค้นพบจากพรีไบโอติกส์ MRF เหล่านี้คือ มันทำให้พฤติกรรมการเผาผลาญอาหารของแบคทีเรียเปลี่ยนแปลงไป แบคทีเรียมีพลังงานมากขึ้น แต่ยิ่งมีพลังงานมากขึ้นก็ยิ่งสร้างผลผลิตที่เป็นพิษ ยิ่งสร้างสารอนุมูลอิสระขึ้นภายในตัวแบคทีเรียเอง คราวนี้แบคทีเรียนี้ก็ต้องรับมือกับสารอนุมูลอิสระที่เพิ่มขึ้นมาจากฟังก์ชันการทำงานพื้นฐานของพฤติกรรมการเผาผลาญอาหารของตัวเอง แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าคุณมียาปฏิชีวนะอยู่ด้วย ยาพวกนี้จะช่วยกระตุ้นให้เกิดสารอนุมูลอิสระอีกแรง ก็จะเจอศึกหนักสองด้านเลยทีนี้ สิ่งที่เราค้นพบได้จากกลุ่มอีโคไลคือ เมื่อมีพรีไบโอติกส์จาก MRF เข้ามา ฟังก์ชันการเผาผลาญจะเปลี่ยนไป และฟังก์ชันการเผาผลาญที่ว่านั้นจะทำให้แบคทีเรียมีความอ่อนไหวต่อยาปฏิชีวนะมากยิ่งขึ้นครับ

 

ทอม:               น่าทึ่งนะครับ

 

ริชาร์ด:           ที่จริงผมกระตือรือร้นและตื่นเต้นอย่างมากเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะนี่อาจจะเป็นครั้งแรกที่มีกลุ่มวิจัยใดๆ มาช่วยอธิบายสิ่งที่คุณเรียกว่าเป็นผลกระทบเสริมต่อฟังก์ชันการทำงานของยาปฏิชีวนะ ตอนนี้เรามีกลไกที่ทำให้ยาปฏิชีวนะมีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้ว ดังนั้นถ้าคุณอยู่ในสถานการณ์ที่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะด้วยเหตุผลด้านสวัสดิภาพสัตว์หรือสวัสดิภาพสัตว์ปีก แต่คุณใช้พรีไบโอติกส์จากแมนแนนพร้อมกันไปด้วย ที่จริงนี่คุณกำลังทำให้ยาปฏิชีวนะพวกนั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอยู่นะครับ หมายความว่าความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาไปสู่ปัญหาอื่นๆ ที่มีการดื้อยาปฏิชีวนะเพิ่มเติมก็จะลดลงประมาณหนึ่งเลยทีเดียว

 

                              ซึ่งสำหรับผมแล้ว ตรงนี้แหละที่เราจะศึกษาให้มากขึ้นอีกมาก แต่ผมคิดว่าเรื่องนี้มีนัยที่สำคัญมากเกี่ยวกับการควบคุมเชื้อโรคในระยะยาว ในหลายๆ แง่ ด้านหลักๆ ที่เราจะโฟกัสมีอยู่ 2 ด้าน อย่างแรกคือเรากำลังทำเรื่องไมโครไบโอม ดังนั้นพรีไบโอติกส์จากแมนแนนจะช่วยเพิ่มความหลากหลายของจุลินทรีย์ประจำถิ่นในลำไส้ ซึ่งจะทำให้ระบบทางเดินอาหารทนต่อการเกาะของเชื้อโรคได้มากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน ตอนนี้เรามียาปรุงสำเร็จเหล่านี้ซึ่งมีศักยภาพโดยธรรมชาติที่ช่วยส่งเสริมระบบเผาผลาญได้จริง เพิ่มการเผาผลาญ ทำให้เชื้อโรคไวต่อยาปฏิชีวนะมากขึ้น ผมว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่ดีมากๆ ในการควบคุมและยับยั้งการดื้อยาปฏิชีวนะครับ

 

ทอม:               MRF แพร่หลายมากขึ้นในอาหารสัตว์หรือเปล่าครับ

 

ริชาร์ด:           มีการนำมาใช้มากขึ้นทั่วโลกเลยครับ MRF มีอยู่สองเรื่องสำคัญที่ควรนำมาคิด ผมขออธิบายว่า MRF เป็นเหมือนพรีไบโอติกส์จากแมนแนนรุ่นที่ 2 คือรุ่นแรกเป็นผลิตภัณฑ์ทั่วไปที่ผลิตขึ้นในปริมาณมาก จึงออกจะเป็นส่วนสกัดที่มีแมนแนนที่ค่อนข้างหยาบ แยกตัวออกมาจากผนังเซลล์ด้านนอกของยีสต์แซกคาโรมัยซีส (Saccharomyces) นักวิจัยใน Alltech ได้พยายามทำความเข้าใจสารหรือส่วนประกอบจากพรีไบโอติกส์ที่ผลิตในปริมาณมากซึ่งจะออกฤทธิ์ได้มากขึ้น จึงนำไปสู่การพัฒนาหรือการแยกส่วนสกัดที่อุดมไปด้วยแมนแนนในรุ่นที่ 2 นี่ล่ะครับ ผมคิดว่าสิ่งที่ทำให้ MRF แตกต่างจากผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจำนวนมากทั่วไป คือสัดส่วนกลุ่มแมนแนนในนั้นที่ค่อนข้างสูง ดังนั้น โพลีแซกคาไรด์ที่เชื่อมโยงกับแมนแนน α-(1,3) และ α-(1,6) จะได้รับการเสริมสมรรถนะยิ่งขึ้นด้วยยาปรุงสำเร็จจาก MRF นี่ล่ะคือกุญแจสู่ความสำเร็จครับทอม

 

ทอม:               พอฟังแล้วผมเลยคิดว่าถ้าเชิญ ดร. เมอร์ฟีมาเข้าครัวระหว่างที่เราทำอาหารอย่างเช่นเมนูไก่ไปพลาง แล้วคุณก็บอกวิธีระวังที่ต้องทำไปพลาง ก็คงน่าสนใจและน่าสนุกดีนะครับ เพราะคุณกำลังจับตาเรื่องนี้อยู่ในฐานะนักวิทยาศาสตร์ที่เข้าใจเรื่องนี้ดี แล้วผู้บริโภคควรต้องพิจารณาระมัดระวังเรื่องใดบ้างครับเวลาที่นำสัตว์ปีกมาทำอาหาร

 

ริชาร์ด:           เอาง่ายๆ เลยนะครับ ก็แค่ทำให้ไก่สุกโดยทั่วกันทุกครั้งครับ ใช้ความร้อนให้พอเหมาะ ปรุงให้สุกทั่วกัน ง่ายๆ เองครับ ทอม ผู้บริโภคจำไปใช้กันได้เลยนะครับ ขอแค่คุณทำให้เนื้อสุกได้อย่างถูกวิธี ทุกอย่างก็จะปลอดภัยครับ

 

ทอม:               คำถามนี้อาจจะแหวกแนวไปหน่อยนะครับ แต่ผมสงสัยขึ้นมาว่าถ้าเราเอาเนื้อไก่ไปแช่น้ำเกลือแล้วจะมีผลอะไรต่อเชื้อโรคบ้างไหมครับ

 

ริชาร์ด:           ก็มีผลอยู่นะครับ แต่ขึ้นอยู่กับระดับและวิธีของการแช่น้ำเกลือด้วย ยังไงคุณก็ต้องทำเนื้อแช่น้ำเกลือนั้นให้สุกทั่วถึงกันอยู่ดี การแช่น้ำเกลือก็ถือเป็นวิธีควบคุมเชื้อโรคยอดนิยมครับ เพราะเกลือมีผลต่อเชื้อโรคอย่างชัดเจน แต่คุณต้องทำให้เนื้อสุกทั่วกันด้วยนะครับ

 

ทอม:               เมื่อคุณกลับไปทำงาน จะมีอะไรรออยู่ครับ ตอนนี้สถานการณ์ทั่วโลกเป็นอย่างไรบ้าง

 

ริชาร์ด:           ที่จริงตอนนี้เรากำลังเตรียมต้นฉบับและงานวิจัยอยู่หลายฉบับเลยครับ เรามีสายการวิจัยที่สำคัญอีกสายหนึ่งในด้านนี้ที่ไซต์งานวิจัย AMR คือเรากำลังวางแผนจะดูข้อมูลการศึกษาสัตว์ปีกที่ครอบคลุมระยะเวลานานขึ้น มีรอบวงจรมากขึ้น เพื่อที่จะพยายามทำความเข้าใจในข้อดีที่เรามีในแง่ของการลดการมีอยู่และความชุกของสิ่งมีชีวิตดื้อยาในศูนย์ด้วยระยะเวลา สำหรับผม เรื่องนี้ก็น่าตื่นเต้นอยู่นะ เราได้ทำงานเบื้องต้นไปบ้างแล้วกับการศึกษาหลายรอบวงจร และก็พบว่าเกิดผลกระทบอย่างต่อเนื่องไม่ใช่แค่กับความหลากหลายของไมโครไบโอมเท่านั้น แต่ความสม่ำเสมอของไมโครไบโอมยังเพิ่มขึ้นอีกด้วย

 

                              ด้านนี้เป็นเรื่องน่าสนใจที่รอการค้นหาจากเรา เพราะถ้าเราเพิ่มความสม่ำเสมอของไมโครไบโอมในลำไส้ได้ เรื่องนี้ต้องเป็นประโยชน์ต่อการผลิตแน่ อาจทำให้กระบวนการผลิตมีมาตรฐานยิ่งขึ้น ก็เป็นเรื่องที่เรากำลังศึกษาอยู่ครับ แต่แน่นอนว่า ในส่วนของ AMR แล้ว เรากำลังพยายามทำความเข้าใจประโยชน์ระยะยาวจากการลดความชุกของ AMR ด้วยการใช้พรีไบโอติกส์จาก MRF ในระบบการผลิตอย่างต่อเนื่องครับ

 

ทอม:               ครับ และนี่คือ ดร. ริชาร์ด เมอร์ฟี ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยศูนย์ชีววิทยาของ Alltech ประจำภูมิภาคยุโรป จากเมือง Dunboyne ไอร์แลนด์ครับ ขอบคุณที่มาร่วมพูดคุยกับเรานะครับ

 

ริชาร์ด:           ขอบคุณมากครับ ทอม สวัสดีครับ

 

Loading...